รศ.ดร.อมร พิมานมาศ รองเลขาธิการสภาวิศวกรและอาจารย์ประจำ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะนักวิจัยโครงการ “ศึกษาวิธีการออกแบบและเสริมกำลังอาคารในประเทศเพื่อต้านทานแผ่นดินไหว” โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่สำรวจความเสียหายเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เชียงรายและได้รับคำถามจากชาวบ้านและช่างอบต.ในท้องที่เกี่ยวกับการจัดการความเสียหายของโครงสร้างตนจึงได้เสนอแนวทางการจัดการโครงสร้างไว้ 3 แนวทางคือ 1.ซ่อม 2.ซ่อมและเสริม และ 3.รื้อถอนแล้วสร้างใหม่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความเสียหายที่เกิดขึ้นซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 4 ระดับคือระดับ 1 ถึง 4 การตรวจสอบว่าโครงสร้างเสียหายระดับไหนและควรใช้แนวทางใดในการจัดการโครงสร้างให้พิจารณาตารางสรุปดังนี้ระดับความเสียหาย โครงสร้าง คอนกรีต เหล็กเสริม แนวทางจัดการระดับ 1 เล็กน้อย ไม่ทรุด ไม่เอียง ไม่ดัดงอ กะเทาะหลุดที่ผิว ไม่เห็นเหล็กเสริม ซ่อมระดับ 2 ปานกลาง ไม่ทรุด ไม่เอียง ไม่ดัดงอ คอนกรีตส่วนหุ้มเหล็ก เห็นเหล็กเสริม ซ่อม + เสริมเหล็กปลอก กะเทาะหลุดออก แต่เหล็กเสริมยังไม่คดงอระดับ 3 มาก ทรุด เอียง ดัดงอเล็กน้อย คอนกรีตแตกเป็นชิ้นๆ เหล็กแกนคดงอ ซ่อม + เสริมเหล็กปลอก ถึงเนื้อใน เหล็กปลอกง้างออก + เสริมเหล็กแกน หรือพังถล่มโดยสิ้นเชิง เป็นชิ้นๆหรือขาดเป็นช่วงๆ ขาด บิดเบี้ยว อย่างมากระดับ 4 มากที่สุด ทรุด เอียง ดัดงออย่างชัดเจน โครงสร้างหลุดแยก โครงเหล็กและเหล็กปลอก รื้อทิ้ง + สร้างใหม่สำหรับบ้านที่ทรุดหรือเอียงแล้วนั้นให้สังเกตว่าประตูหน้าต่างจะไม่สามารถปิดเปิดได้สนิทดังเดิมเนื่องจากโครงบ้านบิดเบี้ยวเสียรูปไปแล้วส่วนความเสียหายของคอนกรีตและเหล็กเสริมนั้นมักเกิดขึ้นที่ปลายบนและปลายล่างของเสารวมทั้งเสาใต้ถุนบ้านด้วยสำหรับความเสียหายระดับที่1แนะนำให้ซ่อมโดยใช้ปูนมอร์ตาร์(ปูน+ทราย+น้ำ)ฉาบปิดบริเวณผิวคอนกรีตที่หลุดออกส่วนระดับที่ 2ก่อนฉาบปูนมอร์ตาร์ให้เสริมเหล็กปลอกก่อนความเสียหายระดับที่ 4ซ่อมไม่ได้แล้วต้องทุบทิ้งแล้วสร้างขึ้นใหม่ขณะที่ความเสียหายระดับที่3ชาวบ้านไม่ควรดำเนินการเองเพราะขั้นตอนการซ่อมอันตรายมากและโครงสร้างอาจพังถล่มได้ทุกเมื่อต้องอาศัยวิศวกรและช่างก่อสร้างดำเนินการโดยมีขั้นตอนการซ่อมดังนี้1.ค้ำยันโครงสร้างบริเวณที่ต้องการซ่อม2.สกัดปูนฉาบที่ผิวและคอนกรีตที่แตกร้าวด้านในออกมาให้เหลือเฉพาะเนื้อคอนกรีตส่วนที่แข็งแรง3.เสริมเหล็กแกนเท่ากับหรือมากกว่าจำนวนเหล็กแกนในเสาเดิม4.เสริมเหล็กปลอกขนาด 9 มม. ระยะเรียงไม่เกิน 7.5 ซม. รอบเหล็กแกน5.เทคอนกรีตหุ้มเสาเดิมให้ใหญ่ขึ้น หรือใช้แผ่นเหล็กหุ้มเสาแล้วเทคอนกรีตลงไป6.คงค้ำยันไว้ จนกว่าคอนกรีตจะแข็งตัวดี (ไม่ควรน้อยกว่า 14-21 วัน) จึงถอดค้ำยันออกการซ่อมและเสริมเหล็กด้วยวิธีข้างต้นนั้นสามารถทำเฉพาะบริเวณที่เสียหายหรือหากเสริมเสาทั้งต้นได้ก็ยิ่งดีนอกจากวิธีที่กล่าวมาแล้วยังสามารถใช้วิธีอื่นๆ ได้ เช่น การเสริมค้ำยันทแยงเหล็กหรือไม้การหุ้มด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์เป็นต้น ทั้งนี้การเลือกใช้วิธีใดควรปรึกษาวิศวกรด้วย
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ถอดบทเรียนความเสียหายแผ่นดินไหวเชียงราย(ตอน3)
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs