กลายเป็นประเด็นคัดค้านกันอย่างใหญ่โตกับการตัดสินใจของกระทรวงพลังงานในการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่21 จนถึงขนาดมีการยื่นจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.ให้ปลด รมว.พลังงาน ปลัดกระทรวง และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงานบางคนออก หนึ่งในข้อคัดค้านคือ ทำไมกระทรวงพลังงานจึงเร่งรีบเปิดสัมปทานรอบที่ 21 โดยไม่รอให้มีการนำเข้าไปพุดคุยกันในสภาปฏิรูปฯ เสียก่อนเพราะยังมีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องของการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรลียมของชาติว่า จะเป็นแบบใดดีระหว่างระบบแบ่งปันผลผลิต หรือระบบสัมปทาน ต้องยอมรับว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นด้านพลังงานที่มีข้อถกเถียงกันมาอย่างยาวนานและยากที่จะหาข้อสรุปได้ระยะเวลาอันสั้นเพราะระบบทั้งสองนั้นมีทั้งข้อดีและข้อด้อย ถึงแม้จะนำเข้าไปถกกันในสภาปฏิรูปฯ ก็คงต้องใช้เวลายืดยาวเป็นปีกว่าจะหาข้อสรุปได้ และสมมุติว่าตกลงกันได้ว่าจะใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต ก็ใช่ว่ากระทรวงพลังงานจะรับไปเปิดประมูลได้ทันทีนะครับ แต่จะต้องดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียมให้เปลี่ยนจากระบบสัมปทานมาเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตซึ่งขั้นตอนการแก้กฎหมายนี้ยังไม่รู้จะใช้อีกกี่ปี ขณะเดียวกันทางด้านการบริหารจัดการกระทรวงพลังงานจะต้องไปออกกฎหมายจัดตั้งองค์กรใหม่ขึ้นเพื่อมาทำหน้าที่บริหารจัดการและเจรจากับผู้ประกอบการในการดูแล และควบคุมการดำเนินงานของผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิด เพราะระบบนี้จะต้องมีการเจรจาแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างรัฐกับผู้ประกอบการเป็นรายแปลงสำรวจเลยทีเดียว ไม่เหมือนกับระบบสัมปทานที่มีระเบียบและเงื่อนไขกำหนดเอาไว้ ง่ายต่อการตรวจสอบและกำกับดูแล ยิ่งผู้คัดค้านเรียกร้องให้มีการออกพ.ร.บ.สภาการพลังงานแห่งชาติและบรรษัทน้ำมันแห่งชาติที่รัฐบาลถือหุ้น 100% มาเป็นผู้ผูกขาดบริหารจัดการเรื่องสิทธิการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมแบบเดียวกับบริษัท ปิโตรนาสของมาเลเซียด้วยแล้วก็เชื่อได้เลยว่าเรื่องนี้ไม่จบภายในสองปีนี้แน่นอน เรื่องการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 นั้น ไม่ใช่มาเร่งรัดขอเปิดกันในตอนนี้อย่างที่มีผู้กล่าวหากันแต่ความจริงคือการเปิดสัมปทานได้ล่าช้ามาเป็นเวลาถึงสองปีแล้วจากการคัดค้านของคนกลุ่มหนึ่งมาโดยตลอด ความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องรีบเปิดสัมปทานรอบที่ 21 ก็คือ เจ็ดปีแล้วที่เราไม่ได้พบแหล่งปิโตรเลียมใหม่ ๆ ในไทยเลยมีการค้นพบแหล่งก๊าซเล็ก ๆ เพียงหนึ่งแห่งมีปริมาณสำรองเพียง 0.5 ล้าน ลบ.ฟุต น้อยมาก ในขณะที่ปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่เรามีอยู่ในปัจจุบันก็มีแต่จะหมดไปน้ำมันใช้ไปได้อีก 4 ปี ก๊าซอีก 7 ปี ดังนั้นการเปิดสัมปทานรอบที่ 21 จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนเกี่ยวกับความมั่นคงด้านพลัง งานของชาติ การเปิดสัมปทานรอบนี้ทางกระทรวงพลังงานก็ได้มีการปรับปรุงเงื่อนไขการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้กับรัฐมากขึ้นจากระบบเดิมคือระบบ Thailand 3 เป็นระบบ Thailand 3 Plus โดยมีทั้งเงินให้เปล่าตอนเซ็นสัญญา (Signature Bonus) และค่าตอบแทนการผลิตตามปริมาณ (Production Bonus) ซึ่งทำให้รัฐได้ส่วนแบ่งผลปะโยชน์สูงขึ้นจากเดิมที่เคยได้ในระดับ 60% โดยสัมปทานใหม่นี้รัฐอาจได้สูงถึง 65-70% ด้วยซ้ำไป ผมจึงไม่เห็นเหตุผลว่าเราจะต้องรอให้มันช้าไปอีกเพื่ออะไร !!!.
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ทำไมไม่รอสภาปฏิรูป? – พลังงานรอบทิศ
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs