ทิม คุก ซีอีโอใหม่ของแอปเปิล ที่ขึ้นมาแทนสตีฟ จ็อบส์นั้น ถูกเพื่อนวิพากษ์วิจารณ์ว่า ไม่เหมือนสตีฟ จ็อบส์และไม่มีอะไรใหม่ให้เห็น นอแลนด์ บุชเนล ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอะตาริ  (Atari) และเขาก็เป็นคนเจอสตีฟ จ็อบส์ครั้งแรก และก็จ้างสตีฟ จ็อบส์ในปี ค.ศ. 1974 ในบริษัทอะตาริด้วยค่าจ้าง 150 บาทต่อชั่วโมงในสมัยนั้น บุชเนลได้วิพากษ์วิจารณ์ทิม คุก ซีอีโอใหม่ของแอปเปิล ว่า ถ้าหากจะหาใครสักคนหนึ่งที่จะเข้าดูแลโรงงานและกระบวนการผลิตแบบนานาชาติและก็คอยใส่ลูกล้อให้เข้ากับรถบัสละก็ ทิม คุกก็เหมาะสมดีเช่นเดียวกับคนอื่นที่เราหาได้Ž นอแลนด์ บุชเนลได้แต่งหนังสือเล่มใหม่ชื่อ ค้นหาสตีฟ จ็อบส์ คนใหม่Ž จะหาได้อย่างไรและรักษาและจะสร้างความสามารถพิเศษได้อย่างไร เขาได้เล่าถึงมรดกตกทอด เกี่ยวกับการจ้างลูกน้องมาเล่าให้สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ซึ่งอยู่ในช่วงสตีฟ จ็อบส์ เสียชีวิตครบ 2 ปีเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ปี ค.ศ. 2011 ซึ่งทางคุณบุชเนลก็พยายามมองหาวิสัยทัศน์ของนักเทคโนโลยียุคใหม่โดยมีสตีฟ จ็อบส์ เป็นต้นแบบ ปัจจุบันแอปเปิลผลประกอบการ 2 ปีที่ผ่านมาก็ไม่ได้ดีขึ้นเลยเท่าใดนัก แม้ว่าแอปเปิลจะขายไอโฟน 5S ได้มากกว่า 9 ล้านเครื่องแต่ก็ยังเป็นนวัตกรรมเดิมที่เกิดจากสตีฟ จ็อบส์ นอแลนด์ บุชเนลก็ยังได้กล่าวอีกว่า ผมเองก็มีความรู้สึกว่าบางทีก็น่าขำเหมือนกันว่า บางคนคิดว่า ทิม คุกเป็นผู้สร้างนวัตกรรมต่อจากสตีฟ จ็อบส์แต่ผมกลับว่าตรงนั้นเป็นเพียงวิวัฒนาการจิ๋ว ๆ เปลี่ยนเล็กน้อย ซึ่งไม่เรียกว่า นวัตกรรมทางเทคโนโลยีŽ
 กรณีทิม คุกก็ได้ทำให้ไอโฟนรุ่นใหม่มีราคาถูกลง ซึ่งเขาทำได้อยู่แล้ว แต่กรณีของแอปเปิลนั้นความสำเร็จยิ่งใหญ่มาจากนวัตกรรม หรือการคิดประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งจะเป็นที่ถูกใจของลูกค้า เพราะว่าผลิตภัณฑ์ใหม่นั้นจะมีช่วงอายุที่ขายผลิตภัณฑ์ได้เพียง 3 ถึง 5 ปีเท่านั้น ผู้บริโภคก็จะเบื่อ แล้วก็มองหาผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ที่สะดวกกว่าและคุ้มค่ากว่าŽ สำหรับนอแลนด์ บุชเนลนั้นจะประทับใจกับแนวทางกูเกิลมากกว่า ซึ่งจะมุ่งสู่การทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และก็ทดสอบติดตามเทคโนโลยีใหม่ตลอด แม้ว่าบางผลิตภัณฑ์จะไม่ประสบผลสำเร็จก็ตาม บางครั้งผลิตภัณฑ์อาจจะหรูหราราคาสูงไปเลยก็ได้ หรือบางกรณีก็อาจจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำให้รถยนต์ที่ขับไปสถานที่ต่าง ๆ ได้เองโดยไม่ต้องใช้คนขับรถหรือแว่นกูเกิลหรือกูเกิลแกลสซึ่งใช้ร่วมกับหูฟังซึ่งอาจจะขายไม่ดีนัก แต่ก็จะเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ได้ในอนาคต ผมใช้ผลิตภัณฑ์แอปเปิลและผมชอบมาก แต่ระยะหลังผมใช้เวลามากกับอะไร ๆ ที่เป็นกูเกิลมีมากกว่าแอปเปิลŽ หลังจากวิพากษ์วิจารณ์แอปเปิลและก็ทิม คุก ก็เริ่มมีการเล่าเรื่องเกี่ยวกับสตีฟ จ็อบส์ ซึ่งเริ่มตั้งแต่แรกนอแลนด์ บุชเนลพบสตีฟ จ็อบส์ เมื่อเขาอายุเพียง 19 ปี และสตีฟ จ็อบส์ เขาสวมรองเท้าแตะมาของานทำที่อะตาริ และอยากจะได้ขอโอกาสสัมภาษณ์เพื่อสมัครงาน และนอแลนด์ บุชเนล ก็เลยจะเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของผู้นำทางด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีของโลกอนาคต ซึ่งผมจะนำมาเขียนต่อในพฤหัสบดีหน้าในตอนที่ 2 ต่อไป. รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล
อธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
boonmark@stamford.edu

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ทิม คุกไม่ใช่สตีฟจ็อบส์ – โลกาภิวัตน์

Posts related