นายอิสรกุล อุณหเกตุ นักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ได้เสนอให้แก้ไขร่างพ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ ที่ผ่านการเห็นชอบจากครม.มาตั้งแต่ปี 55 แต่ยังไม่ได้ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภา โดยให้แก้ไขมาตรา 14 กำหนดให้ครม.ออกพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งศูนย์รับคำขออนุญาต เพื่อช่วยลดต้นทุนปัญหาการขออนุญาตต่าง ๆ ของประชาชน ที่ต้องมาติดต่อกับหน่วยงานหลายแห่งให้เป็นไปในลักษณะคล้ายกับศูนย์บริการออกใบอนุญาตณ จุดเดียวทั้งนี้การจัดตั้งศูนย์ดังกล่าว ควรกำหนดเวลาของการขอรับอนุญาตให้ชัดเจน คู่กับการส่งเสริมให้ประชาชนใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ขออนุญาตจากภาครัฐ รวมทั้งให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เผยแพร่คู่มือสำหรับประชาชน และการยื่นคำขออนุญาตผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เพราะการกำหนดเวลา จะช่วยปิดช่องทางการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ พร้อมให้เจ้าหน้าที่ต้องแจ้งผู้ขออนุญาตทันที หากรายการเอกสาร หรือหลักฐานไม่ถูกต้อง แต่ไม่ให้เรียกเอกสารเพิ่มเติม หรือปฏิเสธคำขอได้ หากรายการเอกสาร หรือหลักฐานถูกต้องแล้ว นอกจากนี้ยังกำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดทางวินัย หรือต้องถูกดำเนินคดี หากตรวจสอบคำขอ และรายการเอกสา รหรือหลักฐานโดยประมาทหรือทุจริต“แม้ว่าการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐ กฎหมายจะเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการควบคุมกิจกรรมทางสังคม และเศรษฐกิจ แต่หากควบคุมโดยใช้กฎหมาย และกฎระเบียบมากเกินไป ก็ย่อมสร้างภาระต้นทุนแก่สังคม และส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะขั้นตอนทางกฎหมาย และกฎระเบียบที่ยุ่งยาก ซับซ้อน และใช้เวลานานเกินความจำเป็น ซึ่งในหลาย ๆ กรณีกระบวนการพิจารณาอนุญาต ทำให้เกิดความล่าช้ากับการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประชาชนในภาคธุรกิจ ขณะเดียวกัน ขั้นตอนพิจารณาอนุญาตเหล่านี้ ยุ่งยาก ซับซ้อน และใช้เวลานาน จึงสร้างต้นทุนมากเกินความจำเป็น และให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ในการใช้ดุลพินิจมาก ก็จะนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชั่นได้”อย่างไรก็ตาม ยังเสนอให้ก.พ.ร.ประเมินต้นทุนการพิจารณาอนุญาตแต่ละแบบ ที่ประชาชนต้องรับภาระ ทั้งต้นทุนที่เป็นตัวเงิน และเวลารวมถึงความถี่ หรือปริมาณการขออนุญาตนั้น ๆ ก่อนเปิดเผยข้อมูลต้นทุนดังกล่าว ให้ประชาชนโดยทั่วไปรับทราบ โดยอาจกำหนดให้ต้องรายงานผลเป็นประจำทุกปี รวมทั้งต้องแก้ไขมาตรา6กำหนดให้ก.พ.ร.ปรับปรุงกฎหมาย เพื่อยกเลิกการอนุญาต หรือให้มีมาตรการอื่นแทนการอนุญาต โดยรับฟังความเห็นจากหน่วยงานผู้อนุญาต และผู้มีส่วนได้เสีย จากนั้นจึงเสนอให้ครม.พิจารณาสำหรับพ.ร.บ.ฉบับนี้ มีเป้าหมายที่ต้องการปรับปรุงการขออนุญาตภาครัฐ ทั้งในส่วนการประกอบธุรกิจ และการขออนุญาตต่าง ๆ ที่ประชาชนต้องขอจากภาครัฐ โดยเน้นปรับปรุงสองส่วนคือลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความโปรงใส เพิ่มความรับผิดชอบ ซึ่งการลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพปัจจุบันการประกอบกิจการ หรือการดำเนินการต่าง ๆ ประชาชนต้องดำเนินการผ่านการอนุมัติการอนุญาต การออกใบอนุญาตการขึ้นทะเบียน โดยภาครัฐ เพราะกฎหมายหลายฉบับไม่ได้กำหนดระยะเวลา และขั้นตอนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ทีดีอาร์ไอแนะตั้งวันสต๊อปเซอร์วิสบริการภาครัฐ
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs