ทีมคิว-โบ้ (Q-BO) จากชุมนุมอินโนเวทีฟ โรบอทิกา คลับ (InnovativeRobotica Club) ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 จากการแข่งขันหุ่นยนต์สร้างบ้าน (Home Builder Robot Contest 2013)
การแข่งขันหุ่นยนต์สร้างบ้าน จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านเป็นผู้จัดการแข่งขัน และได้รับการสนับ สนุนจากบริษัท เอสซีจี ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด และมหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ จัดขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านความคิดสร้าง สรรค์เทคโนโลยีใหม่ ๆ ของเยาวชนไทยในการพัฒนาหุ่นยนต์ทำงานอัตโนมัติ เพื่อประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจ
โดยมีกติกาการแข่งขันคือ พัฒนาหุ่นยนต์ 1 ตัว ขนาดความยาวไม่เกิน 1 เมตร กว้าง 1 เมตร และสูง 1.5 เมตร ทำงานอัตโนมัติได้คือ ออกจากโซนเริ่มต้น (start) เดินไปตามเส้นทางสีขาว (line) ไปหยิบถุงปูน ถังใส่ทราย ถังใส่หิน ไปวางไว้ที่โซนสิ้นสุด (Finish) โดยวางถุงปูนตั้งขึ้นและพิงกำแพง และวางถังใส่ทราย ถังใส่หินภายในโซนดังกล่าวให้ได้มากสุดภายในเวลา 10 นาที
ทั้งนี้จากการแข่งขันปรากฏว่า ทีมคิว-โบ้ (Q-BO) จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำคะแนนได้เป็นอันดับที่ 3 ได้รับทุนการศึกษา 50,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
ตัวแทนทีม คิว-โบ้ เปิดเผยที่มาของการสร้างหุ่นยนต์ครั้งนี้ว่า ได้มีการศึกษากติกาและส่งทีมย่อยสำรวจข้อมูลสถานที่ก่อสร้างจริง เพื่อเก็บข้อมูลการออกแบบ ทำให้ทราบว่า หุ่นยนต์ต้องแข็งแรง ทนต่อฝุ่น ความชื้น และควบคุมง่าย จากนั้นประชุมร่วมกัน แบ่งเป็นสองทีม ทีมแรกรับผิดชอบออกแบบโครงสร้างกลไกหุ่นยนต์ ทีมที่สองออกแบบระบบควบคุมหุ่นยนต์ตัวนี้ใช้ต้นกำลังไฮดรอลิก(Hydraulic) โครงสร้างใช้อะลูมิเนียมอัลลอย แข็งแรง ไม่เป็นสนิม ระบบควบคุมเป็นพีแอลซี (Programmable Logic Controller) มีตู้ติดตั้งกันฝุ่นและความชื้น
ส่วนการแก้ปัญหาเรื่องงบประ มาณเกิน ได้ดำเนินการเป็นสองแนวทาง คือ หางบสนับสนุนเพิ่ม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน และลดต้นทุนด้วยการนำอุปกรณ์มือสองมาใช้ ซึ่งต้องมีการซ่อมบำรุง ทดสอบก่อนนำไปใช้ หลังจากนั้นจึงออกแบบขั้นสุดท้ายก่อนดำเนินการสร้างหุ่นยนต์
หุ่นยนต์ทีมคิว-โบ้ ประสบปัญหาเรื่องน้ำหนัก ซึ่งกติกากำหนดว่าหากน้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัม จะถูกตัดแต้มและใช้น้ำหนักเป็นตัวหาร แต่หุ่นยนต์ทีมคิว-โบ้ ก็ทำงานได้ดีตลอดการแข่งขัน ทำคะแนนดิบได้สูงสุดก่อนหารด้วยน้ำหนัก
และเป็นทีมเดียวที่ตัดปากถุงปูนได้ต่อเนื่องด้วยมอเตอร์ใบตัดแบบไฮดรอลิก ส่วนสถาบันอื่นเน้นลดน้ำหนัก ทำให้ความแข็งแรงของหุ่นด้อยลง ต้นกำลังยกถุงปูนหลายทีมเลือกใช้มอเตอร์ไฟฟ้า รวมถึงไม่มีการป้องกันฝุ่น ระหว่างแข่งขันจึงต้องซ่อมบำรุงตลอดการแข่งขัน
สำหรับการแข่งขันครั้งนี้ สมาชิกทีม คิว-โบ้ บอกว่าได้นำความรู้ทางวิศวกรรมในห้องเรียนมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ใช้แก้ปัญหาจนเชี่ยวชาญ ฝึกการทำงานเป็นทีม ซึ่งต้องอาศัยความอดทน และยังได้เพื่อนต่างสถาบันอีกด้วย.
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ทีมมก.คว้ารองชนะเลิศหุ่นยนต์สร้างบ้าน
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs