ขึ้นชื่อว่า “การท่องเที่ยว” แล้ว ไทยไม่ได้เป็นรองชาติใดแน่นอน… ยิ่งในเรื่องของการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับการประชุมสัมมนาหรือจัดนิทรรศการ ที่เรียกกันว่า “ไมซ์” ในเวลานี้ถือเป็นตลาดที่กำลังเติบโตอย่างมากในไทย แต่ละปีสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศอย่างมหาศาล ด้วยเพราะว่านักท่องเที่ยวในตลาดนี้เป็นนักท่องเที่ยวคุณภาพที่มีกำลังซื้อมาก ยิ่งในช่วงการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ความเนื้อหอมในภูมิภาคนี้ยิ่งดึงดูดใจให้ต่างชาติเดินทางเข้ามาทำธุรกิจไมซ์กันสูง “เสาวลักษณ์ สุดประเสริฐ” หัวหน้าสาขาวิชานวัตกรรมการจัดการประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ คณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย บอกในรายการ “เศรษฐกิจติดจอ” ทาง เดลินิวส์ทีวี เมื่อวันที่ 28 ก.พ. ว่า หลายคนคงได้ยินคำว่าอุตสาหกรรมไมซ์กันอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งอุตสาหกรรมนี้ถือเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่ง ในลักษณะของการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ ที่ประกอบด้วย การจัดประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล การจัดประชุมนานาชาติ และการจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ และเวลานี้ธุรกิจนี้กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย นักท่องเที่ยวประเภท ’ไมซ์“ ส่วนใหญ่มักเป็นนักธุรกิจที่เข้ามาทำงานและพักผ่อน จึงช่วยสร้างรายได้เข้าประเทศได้ค่อนข้างสูง ซึ่งสัดส่วนรายได้จากอุตสาหกรรมไมซ์เมื่อเทียบกับรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมด ถือว่ามีสูงถึง 10% โดยล่าสุดในปี 56 ไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวไมซ์ มากถึง 70,000-80,000 ล้านบาท แม้ว่าจะมีสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ แต่เชื่อว่าถ้าสถานการณ์เป็นปกติไม่มีสิ่งใดเข้ามากระทบ รายได้ของธุรกิจนี้จะเฟื่องฟูยิ่งขึ้นไปอีก อ.เสาวลักษณ์ เล่าให้ฟังว่า ถ้าพิจารณาถึงการเติบโตในการท่องเที่ยวไมซ์ จะเห็นได้ชัดเจนว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมไมซ์ได้มามีบทบาทในเอเชียมากขึ้น เพราะมีส่วนแบ่งทางการตลาดทั่วโลกถึง 70% จากเดิมที่ส่วนแบ่งเหล่านี้มักอยู่ที่ยุโรปและสหรัฐอเมริกา เป็นส่วนใหญ่ โดยเหตุผลหลักที่เอเชียได้รับความนิยม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการส่งเสริมของรัฐบาลแต่ละประเทศที่ต้องการดึงธุรกิจเหล่านี้เข้ามา เนื่องจากรายได้ของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จะสูงกว่านักท่องเที่ยวปกติถึง 3-4 เท่าตัว เช่น ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวธรรมดา จะใช้จ่ายประมาณ 10,000 บาทต่อวัน แต่กลุ่มนี้ใช้มากถึง 30,000-40,000 บาทต่อวัน โดยการใช้เงินจำนวนมากนั้นเพราะมีเงินสนับสนุนจากบริษัทที่พามาเที่ยว ทำให้ใช้จ่ายเต็มที่ ส่วนในภูมิภาคอาเซียนนี้ แม้ว่าไทยเป็นอันดับที่ 3 ในด้านอุตสาหกรรมไมซ์ รองจากสิงคโปร์ และมาเลเซีย แต่ปัจจุบันมีแนวโน้มขยายตัวดี โดยมีตลาดที่สำคัญคือ การจัดประชุมสัมมนานานาชาติ ซึ่งไทยได้รับความนิยมจากต่างชาติมาก ด้วยองค์ประกอบหลายอย่างของไทย ขณะที่กำลังซื้อของคนเอเชียมีอยู่สูง ส่วนแหล่งท่องเที่ยวมีอยู่อย่างหลากหลาย รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างใหม่ยังถูกใจนักท่องเที่ยว และดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเที่ยวในเมืองไทยเป็นจำนวนมาก ไม่เพียงเท่านี้ ไทยยังมีจุดแข็งที่ว่า…หากสนใจเข้ามาจัดงาน จะมีค่าใช้จ่ายจัดงานไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค รวมทั้งสภาพภูมิอากาศเหมาะสม เรื่องความเสี่ยงจากภัยพิบัติมีน้อยกว่าหลายประเทศ และที่สำคัญทำเลที่ตั้งของไทยที่ตั้งอยู่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ยังสร้างความสะดวกเกี่ยวกับการเดินทาง เช่น เส้นทางการบินสามารถเชื่อมโยงไปยังประเทศอื่นได้สะดวก สามารถติดต่อธุรกิจได้ง่าย ขณะที่ภาพลักษณ์ของไทยมีความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวเมื่อรวมกับวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย ยังสร้างความพิเศษและความน่าสนใจในการจัดงาน โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองที่นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกต้องการเดินทางเข้ามาเที่ยว แต่ใช่ว่าเมื่อมีด้านดีแล้วจะไม่มีจุดอ่อน เพราะที่เห็นได้อย่างชัดเจนกับผลกระทบที่เกิดขึ้น หากไม่เร่งแก้ไขคือ เรื่องของสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ยังมีการชุมนุมในพื้นที่กรุงเทพฯ ทำให้การจัดงานทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ระดับนานาชาติ ได้เลื่อนออกไป แม้ว่านักท่องเที่ยวกลุ่มนี้อาจรู้สึกว่าสถานการณ์อาจไม่รุนแรง แต่รู้สึกว่าไม่สะดวก แต่เชื่อว่าหากสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ คงทำให้อุตสาหกรรมไมซ์ของไทยได้รับความนิยมและเติบโตอย่างมาก เพราะไม่ว่าอย่างไร ไทยเป็นจุดมุ่งหมายที่หลายคนนิยมเดินทางเข้ามาเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว ส่วนเรื่องที่ต้องเร่งแก้ไขเร่งด่วนอีกอย่าง คือ ต้องเร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคขึ้นมารองรับการเติบโตในอนาคต เพราะเรื่องนี้มีความสำคัญหากไทยจะก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้นำในประชาคมอาเซียน เนื่องจากสังคมจะใหญ่ขึ้น ขณะที่กลุ่มไมซ์ขยายตัวขึ้นตาม ดังนั้นสถานที่จัดงานประชุม ที่พักโรงแรม และระบบการเดินทางขนส่ง จะมีความต้องการใช้งานมากขึ้น สุดท้ายอ.เสาวลักษณ์ ได้บอกไว้ด้วยว่า… หากไทยยังไม่เร่งพัฒนาในเรื่องของระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอย่างจริงจัง การขับเคลื่อนธุรกิจนี้อาจสะดุด แต่ถ้ามีการเตรียมพร้อมที่ดี ก็เชื่อว่าไทยจะสามารถก้าวเข้าสู่การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมไมซ์ในอาเซียนได้แน่นอน… วสวัตติ์ โอดทวี
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ธุรกิจ ‘ไมซ์’ กับเออีซี – เออีซีกับ ม.หอการค้าไทย
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs