เศรษฐกิจในโลกปัจจุบันมีการขับเคลื่อนตลอดเวลาในแต่ละยุคสมัย ซึ่งก็มีนวัตกรรมทั้ง 3 ประเภทคือ นวัตกรรมเพื่อประสิทธิภาพ นวัตกรรมที่ทำให้ธุรกิจคงอยู่ได้ และนวัตกรรมใหญ่ที่เสริมสร้างงานและเศรษฐกิจ  บทความที่แล้วเราได้ทราบว่า นวัตกรรมที่เสริมสร้างเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกานั้นสร้างให้ประชาชนมีงานทำจำนวนมาก ประชาชนสามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นมหาศาล และบริษัทเหล่านี้ต้องการคนจำนวนมากสำหรับการสร้างหรือผลิตสินค้า ส่งสินค้าออกจำหน่ายตามช่องทางต่าง ๆและการขายไปสู่ผู้บริโภคและการสนับสนุนผลิตภัณฑ์หรือสินค้าหลังการขาย ซึ่งปรากฏการณ์ของนวัตกรรมข้างต้นทำให้เกิด “ผลคูณ” ในแง่เศรษฐกิจจริงคือ ความเจริญเติบโตของการจ้างงานหรือคนมีงานทำจำนวนมากและเกิดผลพวงเศรษฐกิจที่ดีต่อทั้งสายโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของบริษัท และผู้ร่วมหุ้นเพื่อทำธุรกิจและเสริมต่อนวัตกรรมให้กับธุรกิจนั้น ๆ เช่นวิธีการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า วิธีการขายที่หลากหลายที่ทำให้ทั้งผู้ขายและผู้บริโภคได้รับประโยชน์ และคุณค่าของสินค้านั้นอย่างเต็มที่และสมดุล วิธีการทบทวนและปรับปรุงและพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์หลังการขายทำให้ความสะดวกสบายและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างที่คนอเมริกันชื่นชอบก็คือ เรื่องอุตสาหกรรมกลุ่มเหล็ก ซึ่งได้ถูกคิดค้นวิธีการผลิตเหล็กโดยใช้เตาหลอมที่เรียกว่า เบสเซม เมอร์ (Bessemer Converter) ที่ถูกคิดค้นและจดลิขสิทธิ์ไว้ในปี ค.ศ. 1856 ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการผลิตเหล็กที่ถูกมากในสมัยนั้นเป็นครั้งแรก ต่อมาแอนดรู คาร์เนกี้ คนอเมริกา อพยพมาจากสกอตแลนด์ ได้ซื้อเทคโนโลยีนี้มาพร้อมด้วยปรับปรุงขบวนการผลิตอีกเพื่อให้สามารถลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อตั้งโรงงานผลิตคุณภาพดีราคาถูกจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็ได้ทำให้เกิดบริษัททำรางรถไฟฟ้าที่ใช้เหล็กกล้าในราคาถูกลง เพื่อทำเส้นทางลำเลียงของรถไฟไปยังทั่วสหรัฐอเมริกา และก็สามารถทำให้เกิดอุตสาหกรรรมใหม่เรื่องการขนส่งในประเทศ เฉพาะอุตสาหกรรมเหล็กในสมัยนั้นตอนปลายศตวรรษ ปี  ค.ศ.1990 หรือประมาณปี ค.ศ.1885-1900 นั้นสามารถจ้างคนทำงานได้ถึง 180,000 คน และคนที่ทำงานด้านรางรถไฟมีถึง 1.8 ล้านคนในสองทศวรรษต่อมา การผสมผสานด้านเทคโนโลยีซึ่งทำให้ต้นทุนต่ำลง เพื่อสร้างลูกค้าใหม่อย่างถอนรากถอนโคน ทำให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมและสร้างความร่ำรวยทางเศรษฐกิจและในระหว่างนั้นก็มีนวัตกรรมและสร้างความร่ำรวยทางเศรษฐกิจมหาศาล ก็เกิดจากเทคโนโลยีที่มาก่อนหน้าคือ เตาหลอมเหล็กแบบเบสเซมเมอร์ ที่ได้เกิดขึ้นในปี ค.ศ  1855 และก็มีการสะสมเชิงนวัตกรรมด้านนี้มาก่อนในการถลุงเหล็กในลักษณะการผลิตแบบมวล หรือผลิตครั้งละจำนวนมาก ๆ การทำให้เกิดนวัตกรรมเช่นเดียวกับแอนดรู คาร์เนกี้ทำได้นั้นจะต้องใช้ทุนมหาศาล แต่ก็สามารถสร้างงานได้จำนวนมากทำให้เกิดเศรษฐกิจที่ดีต่อประชาชน และก่อให้เกิดความผาสุกตามมาและกรณีนี้นวัตกรรมที่เกิดประสิทธิภาพก็ตามมาในทุกภาคอุตสาหกรรม ซึ่งก็จะมีการทำงานแทบจะตลอดเวลา  7 วัน 24 ชั่วโมง ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการที่เกิดขึ้น ประชาชนผู้บริโภคเข้าถึงได้สามารถจ่ายได้ในราคาไม่แพงและสามารถสร้างงานได้ เพราะฉะนั้นนวัตกรรมอีก 2 แบบที่ตามมาจากกรณีนวัตกรรมขนาดใหญ่หรือนวัตกรรมเชิงเสริมสร้างนวัตกรรมย่อยในแบบแรกนั้น จะส่งเสริมซึ่งกันและกันและเกิดผลพวงทางเศรษฐกิจมหาศาล ประเภท “ผลคูณ” ที่ตามมาและช่วยสร้างเศรษฐกิจและสร้างชาติ  แต่ก็ยังมีคำถามอีกว่านวัตกรรมขนาดใหญ่แบบแรกที่เรียกว่า Disruptive Innovation ปัจจุบันนี้ยังไม่เกิด ผู้บริหารหรือผู้ลงทุนทั้งหลายทำไมไม่สามารถทำโอกาสเหล่านี้ให้เกิดเพื่อทำให้เศรษฐกิจเข้มแข็งอย่างจริงจัง  ติดตามฉบับหน้า. รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด boonmark@stamford.edu

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (5) – โลกาภิวัตน์

Posts related