วันนี้(13 ตค.57)ที่โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพ ฯมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดแถลงข่าวการประกาศผลรางวัลเทคโนโลยีดีเด่น และ นักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี2557 โดยรศ.ดร.ศักรินทร์ภูมิรัตน ประธานกรรมการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นเปิดเผยว่า รางวัลดังกล่าว มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์ฯ จัดขึ้น เพื่อให้คนในสังคมไทยตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์และสร้างแรงกระตุ้นให้นักวิจัยไทยมีกำลังใจในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ของประเทศ ซึ่งการจะก้าวกระโดดขึ้นเป็นผู้นำในแวดวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือการนำยุทธศาสตร์และองค์ความรู้ของนักวิจัย ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดโลกมาต่อยอดใช้งานเชิงพาณิชย์ให้ได้มากที่สุดซึ่งจะต้องส่งเสริมเอสเอ็มอีไทยให้แข่งขันได้ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของเศรษฐกิจไทยและการดีดตัวหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางได้สำเร็จสำหรับปีนี้ คณะกรรมการ ฯได้มีมติมอบรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นประเภทกลุ่ม ให้กับ ดร.วารินทร์ ธนาสมหวัง ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการประมง และคณะวิจัยจากกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งประสบความสำเร็จในการพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งที่ช่วยเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำได้ประมาณ 5 % ส่วนรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประเภทบุคคล คือ รศ.ดร.เจษฎาวรรณสินธุ์ ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(มอ.) ซึ่งคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีการหล่อโลหะแบบสเลอร์รี่เพื่อลดข้อจำกัดและขั้นตอนการโลหะแบบเดิม และช่วยลดต้นทุนให้กับโรงงานอุตสาหกรรมได้ไม่ต่ำกว่า10 %ดร.วารินทร์ ธนาสมหวัง กล่าวว่า ปัจจุบันปริมาณสัตว์น้ำทะเลลดลงอย่างต่อเนื่องขณะที่ผู้บริโภคมีจำนวนมากขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการนำเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเข้ามาช่วยเพื่อสร้างความมั่งคงและความปลอดภัยทางด้านอาหาร โดยงานวิจัยหลัก ๆ ที่ทำอยู่มีทั้งการพัฒนาการผลิตพันธุ์กลุ่มปลากะรังซึ่งเป็นปลาเศรษฐกิจราคาแพงและเพาะเลี้ยงได้ยากมีการจัดทำต้นแบบและเทคนิคการเพาะเลี้ยงจนทำให้สามารถผลิตลูกพันธุ์ที่มีอัตราการรอดตายสูงขึ้นช่วยลดการนำเข้าลูกพันธุ์จากต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีการวิจัยเทคโนโลยีผลิตลูกพันธุ์ปูม้า ที่ฟักจากไข่บนตับปิ้งของแม่ปู่ซึ่งอยู่นอกกระดองและเป็นของเหลือทิ้งในโรงงานต้มปูการพัฒนาการตรวจสอบสารเคมีอันตรายเพื่อลดการปนเปื้อนในสินค้าประมง และการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆในการเพาะพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่งซึ่งอนาคตจะพัฒนาให้สามารถเพาะเลี้ยงในเขตทะเลที่ไกลออกไปจากชายฝั่งได้มากขึ้นซึ่งจากงานวิจัยเหล่านี้คาดว่าจะช่วยทำให้มีผลผลิตสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงเพิ่มขึ้นประมาณ5 %ด้านรศ.ดร.เจษฎา วรรณสินธุ์ กล่าวว่างานวิจัยที่ทำเน้นตอบตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสหากรรม โดยนำเทคโนโลยีการหล่อโลหะแบบสเลอร์รี่ซึ่งเป็นกระบวนการหล่อโลหะ รูปแบบใหม่ ที่ช่วยลดปัญหาเรื่องอายุแม่พิมพ์และเวลาที่ใช้ในการผลิตน้อยลงขณะเดียวกันงานที่ได้ก็มีคุณภาพที่ดีขึ้นลดการเกิดโพรงอากาศในชิ้นงาน ทำให้โรงงานผลิตสามารถลดต้นทุนได้ไม่ต่ำกว่า 10% ปัจจุบันมีการนำไปผลิตเพื่อจำหน่ายแล้วทั้งในและต่างประเทศนอกจากนี้ยังมีการนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ โดยร่วมกับคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พัฒนาและผลิตเป็นขาเทียมใต้เข่าที่มีน้ำหนักเบาซึ่งได้มีการผลิตและบริจาคให้กับผู้พิการได้ใช้งานจริงแล้วเป็นจำนวนมากนอกจากนี้ ยังมีการประกาศรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ประจำปี 2557 ให้กับ ดร.ปราการเกียรติยังคง จากสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จากผลงานวิจัยเรื่อง SensibleTABหุ่นยนต์ฟื้นฟูการเคลื่อนไหวแขน และ ดร.บรรพท ศิริเดชาดิลก จากหน่วยเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จากผลงานวิจัยเรื่อง วิธีการสร้างไวรัสจำพวกpositive-sense RNA ที่ง่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ทางพันธุกรรม

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : นักวิจัยกรมประมง –นักเทคโนโลยีหล่อโลหะมอ.คว้านักเทคโนโลยีดีเด่น 2557

Posts related