วันนี้( 6 พค.57)ผศ.ดร.ปัญญา จารุศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว จากคณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ทีมวิจัยได้วิเคราะห์ร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี โดยให้ความสำคัญของการเกิดแผ่นดินไหวในครั้งนี้ว่าอาจจะมาจากกลุ่มรอยเลื่อนพะเยา ตอนเหนือซึ่งเป็นกลุ่มรอยเลื่อนขนาดกลางที่นักธรณีหรือนักแผ่นดินไหวไม่ได้ให้ความสำคัญมากเท่ากับรอยเลื่อนแม่จันที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากกลุ่มรอยเลื่อนดังกล่าวมีรอยเลื่อนขนาดเล็กเป็นแขนงจำนวนมากซึ่งจากการประเมินการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้พบว่าเกิดขึ้นหลายจุดทำให้วิเคราะห์ลำบากว่าเป็นการเกิดอาฟเตอร์ชอคหรือเกิดแผ่นดินไหวแบบโดมิโนที่รอยเลื่อนเล็ก ๆ เกิดขึ้นตามกันมาเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นแล้วในประเทศญี่ปุ่นผศ.ดร.ปัญญา กล่าวว่าการเกิดแผ่นดินไหวที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ อ.พาน จ.เชียงราย ในระดับ 6.3ริกเตอร์ นั้นเป็นการเกิดแผ่นดินไหวขนาดปานกลางค่อนข้างสูง แต่ถือได้ว่าเป็นการเกิดแผ่นดินไหวในภาคเหนือของไทยที่รุนแรงที่สุดในรอบหนึ่งพันปีและค่อนข้างอันตราย เนื่องจากเป็นแผ่นดินไหวบนพื้นดินระดับตื้นโดยเกิดขึ้นใต้พื้นดินประมาณ7.5 กิโลเมตรเท่านั้น ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของแผ่นดินตามมามากและหากเกิดอาฟเตอร์ชอคตามมาใกล้กับพื้นที่ชุมชนจะยิ่งอันตรายกว่านี้ ดังนั้นในช่วง 3-4 วันนี้ จึงควรเฝ้าระวังและหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้สิ่งปลูกสร้างเก่าๆ ที่อาจพังลงมาได้“ การเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้เรียกว่าเป็นการเกิดแผ่นดินไหวที่เหนือความคาดหมายและทำให้นักธรณีวิทยาต้องหันมาสนใจรอยเลื่อนขนาดเล็กที่มีอยู่เป็นจำนวนมากขึ้น อย่างเช่นในกลุ่มรอยเลื่อนพะเยา ซึ่งเป็น 1ใน 14รอยเลื่อนที่มีพลังในไทย โดยพาดผ่านอำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอเมือง จังหวัดพะเยาในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในกลุ่มนี้มีรอยเลื่อนที่น่าสนใจคือรอยเลื่อนน้ำแม่ลาวที่อดีตนักธรณี ฯเคยคิดว่าเป็นรอยเลื่อนเก่าแต่ปัจจุบันคาดว่าเป็นรอยเลื่อนที่เกิดขึ้นใหม่เนื่องจากรอยแยกมีลักษณะเป็นเส้นตรงมากนอกจากนี้ยังถือเป็นการเตือนให้ต้องเฝ้าระวังรอยเลื่อนขนาดใหญ่อย่างรอยเลื่อนแม่จันที่กำลังสะสมพลังอยู่มากขึ้นด้วยเพราะหากมีแผ่นดินไหวหรืออาฟเตอร์ชอคที่รอยเลื่อนแม่จัน โอกาสในการเกิดดินถล่มตามถนนสายหลักของเชียงรายเชียงใหม่มีสูง“ผศ.ดร.ปัญญา กล่าวด้านรศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าโครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวในประเทศไทยคณะวิศวกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(เอไอที) กล่าวว่า อยากให้ข้อสังเกตการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ว่าอาจจะไม่ได้เกิดจากแนวรอยเลื่อนแผ่นดินไหวที่ปรากฏอยู่ในแผนที่โดยตรงแต่อาจจะเกิดจากรอยแตก รอยร้าว ที่ซ่อนตัวอยู่ในแผ่นเปลือกโลกซึ่งพบว่ากระจายตัวอยู่เกือบทุกพื้นที่ของภาคเหนือ โดยเฉพาะ ใน จ.เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน และ จ.ตาก ก็ได้ ซึ่งจะมีอันตรายพอๆ กัน เพียงแต่การเกิดครั้งนี้เกิดบนพื้นที่ที่ไม่ใช่เมือง ไม่มีสิ่งก่อสร้างใหญ่ๆ หากเกิดในเมือง ที่มีตึกสูง และสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่อาจจะเกิดความเสียหายมากกว่านี้รศ.ดร.เป็นหนึ่ง กล่าวอีกว่าพื้นที่ภาคเหนือทั้งหมด มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวซึ่งมีตัวอย่างเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต เช่น ปี 2550 แผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ประเทศลาว ความแรง 6.3 ริกเตอร์ ห่างจากพรมแดน ไทย บริเวณ จ.เชียงราย ประมาณ 50กิโลเมตร ทำให้ จ.เชียงราย และพื้นที่ใกล้เคียงได้รับผลกระทบ ต่อมาปี 2554 แผ่นดินไหว 6.8 ริกเตอร์ที่ประเทศพม่า ห่างจาก อ.แม่สาย จ.เชียงราย 50 กิโลเมตร จ.เชียงรายก็ได้รับผลกระทบและครั้งล่าสุด มีจุดศูนย์กลาง ที่ จ.เชียงรายเลย 6.3 ริกเตอร์ แต่โชคดีที่ไม่ได้เกิดในเมือง ทั้งหมดบอกให้รู้ว่า โอกาสการเกิดแผ่นดินไหวไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกแล้ว และในอนาคตอาจจะเกิดขึ้นอีกในตำแหน่งอื่นๆที่จะเป็นอันตรายมากกว่านี้ได้“วันนี้เราต้องมาเตรียมพร้อมเพื่อที่จะรับมือกับภัยพิบัติด้านนี้อย่างจริงๆเสียที ที่ผ่านมาเรายังไม่ค่อยจริงจังกับการรับมือในเรื่องนี้มากนัก สิ่งที่ต้องตระหนัก คือสิ่งก่อสร้างที่จะมีขึ้น ในพื้นที่ภาคเหนือต้องสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับแผ่นดินไหวที่จริงจัง โดยเฉพาะ สิ่งก่อสร้างใหม่ๆส่วนสิ่งก่อสร้างเก่าๆต้องเสริมกำลังให้มีความแข็งแรงมั่นคงมากขึ้น” รศ.ดร.เป็นหนึ่ง กล่าว

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : นักวิชาการชี้แผ่นดินไหวเชียงรายแรงสุดในรอบพันปี

Posts related