ขณะที่การประท้วงต่อต้านรัฐบาลโดยการกำหนดให้มีการปิดกรุงเทพฯ หรือ Bangkok Shut Down ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา  ส่งผลให้แรงกดดดันที่มีต่อสื่อมวลชนก็มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ  ไม่ว่าจะเป็นสถานีโทรทัศน์หลายสถานีและหนังสือพิมพ์หลายฉบับถูกกดดันจากทั้งฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลและฝ่ายต่อต้านรัฐบาลถึงเรื่องความเป็นกลางในการนำเสนอข้อมูล      สื่อจึงตกเป็นเป้าหมายของการถูกควบคุมจากทั้งสองขั้ว นายธีระ กนกกาญจนรัตน์ นักวิเคราะห์อาวุโสจาก บริษัทฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิองค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก  ให้ความเห็นว่า  สิ่งที่เราได้เห็นในปีที่ผ่านมาคือ สื่อสังคมออนไลน์ได้รับความนิยมอย่างสูง  ทั้งเฟสบุ๊ค หรือไลน์ ที่ได้เติบโตและทวีความสำคัญในฐานะแพลตฟอร์มสำหรับการสื่อสารที่ครบครัน ไม่ว่าจะเป็นบริการโทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ตและเพิ่มพื้นที่สำหรับแชร์ข้อมูลโพสต์ข้อความบน Timeline “ในวันนี้จำนวนผู้ใช้เฟสบุ๊คในประเทศไทยนั้นมีอยู่ประมาณ 18.5 ล้านคน  เป็นจำนวนที่สูงมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตในประเทศรวม 25 ล้านคน  ขณะเดียวกันไลน์ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็มียอดผู้ใช้ไล่ตามเฟสบุ๊คมาติดๆที่ 18 ล้านคน  ประชาชนเริ่มมีความกังวลเรื่องการปิดกั้นและจำกัดสิทธิของสื่อระหว่างการประท้วงมากขึ้นนั้น   จึงเริ่มหันมาพึ่งพาข้อมูลข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์เป็นช่องทางหลักแทนสื่อโทรทัศน์หรือหนังสือพิมพ์” นอกจากนี้  ในช่วงวันปีใหม่ข้อมูลจากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือแสดงให้เห็นถึงการใช้งานข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นสูงจากปกติถึง 300% โดยเฉพาะการส่งข้อความอวยพรผ่านแชทแอพพลิเคชั่น เช่น ไลน์ เป็นต้น  ผลการสำรวจพบว่า คนไทยใช้งานรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเฉลี่ยวันละ 15 เม็กกะไบต์ แต่เป็นที่คาดการณ์ได้ว่า ตัวปริมาณการใช้งานจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่านั้นระหว่างการประท้วง เพราะคนจำนวนมากใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเข้าถึงข่าวสาร โพสต์ รูปภาพ ดูคลิปวีดีโอ รวมถึงใช้งานอินเตอร์เน็ตทีวีอย่างต่อเนื่อง การเตรียมระบบเครือข่ายและสารสนเทศที่มีอยู่ให้พร้อมเพื่อรองรับปริมาณการใช้งานที่สูงขึ้น จะเป็นความท้าทายที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเผชิญ ทั้งหน่วยงานในภาครัฐและผู้ให้บริการในภาคเอกชน” อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการสื่อสารผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์จะทำได้สะดวก แต่ผู้ใช้งานก็ต้องเพิ่มความระมัดระวังใช้วิจารณญาณมากขึ้นในการวิเคราะห์ที่มาและความถูกต้องของข่าวสารที่ได้รับ “สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ทรงพลังและเข้าถึงได้ง่าย    แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งอันตรายถ้าหากถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง   ซึ่งผู้ใช้งานมักเชื่อและให้ความสำคัญกับข้อมูลข่าวสารที่ถูกส่งต่อโดยเพื่อนหรือคนรู้จักบนอินเตอร์เน็ต ดังนั้นทุกคนควรใช้วิจารณญาณในการรับฟังและวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ ทั้งในส่วนของเนื้อหา ที่มา และผลกระทบในด้านต่างๆก่อนที่จะเชื่อหรือส่งต่อไปยังบุคคลอื่นบนสังคมออนไลน์”   นักวิเคราะห์กล่าว สำหรับผลกระทบในภาคธุรกิจ นาย อิง ล็อก โกะ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัทฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน ได้ให้ความเห็นว่า  การประท้วงปิดกรุงเทพฯครั้งนี้จะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในระดับนานาชาติอย่างแน่นอน โดยกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวจะเสียโอกาสจากนักท่องเที่ยวจากหลากหลายประเทศในภูมิภาคเอเซีย เช่น สิงคโปร์ จีน เกาหลี ฮ่องกง ใต้หวัน ญี่ปุ่น ซึ่งโดยปกติจะใช้เวลาช่วงตรุษจีนและวันหยุดโกลเด้นวีคมาเที่ยวประเทศไทย ภาพลักษณ์ในทางลบที่เกิดจากการประท้วงจะส่งให้นักท่องเที่ยวเหล่านี้เปลี่ยนใจเลือกใช้วันหยุดในประเทศอื่น” “ถ้าหากวิกฤติการณ์ทางการเมืองนี้ดำเนินต่อไป จะเกิดผลกระทบเชิงลบต่อปริมาณการลงทุนจากต่างประเทศ ในขณะนี้นักลงทุนจำนวนมากจากทั้งในและต่างประเทศเริ่มชะลอการลงทุนจนกว่าจะได้บทสรุปของการประท้วงในครั้งนี้ ซึ่งในช่วงต้นปีเป็นช่วงเวลาที่หน่วยงานจำนวนมากเริ่มกำหนดแผนธุรกิจของปีนั้นๆ สำหรับปีนี้ผู้ประกอบการมีความจำเป็นที่จะต้องคิดถึงแผนรองรับในกรณีที่สถานการณ์มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น”  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : นักวิเคราะห์ชี้ชัดช่วงชุมนุมคนไทยพึ่งข้อมูลโลกออนไลน์แทนสื่อหลัก

Posts related