นายมนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยขณะนี้ ภาครัฐต้องทำหน้าที่กระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณค้างท่อปี 57 โดยเฉพาะในส่วนของงบลงทุน และงบประมาณปี 58 ส่วนแรก ซึ่งรวมกันกว่า 400,000 ล้านบาท ส่วนมาตรการภาษีนั้น แม้จะตอบโจทย์เรื่องความเป็นธรรม แต่เป็นมาตรการที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินงานในระยะสั้น รัฐบาลต้องสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน ด้วยการปลดล็อคใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) ซึ่งขณะนี้มีโรงงานที่สร้างแล้วเสร็จ รอเปิดกว่า 800 แห่ง ที่จะช่วยสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการลงทุน ตลอดจนดำเนินการต่อเนื่องไปถึงในส่วนของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งอาจจัดให้เป็นมาตรการระยะกลาง ที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจนอกจากนี้ ต้องใช้โอกาสช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (ไฮซีซั่น) เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยอำนวยความสะดวก สร้างความมั่นใจให้นักท่องเที่ยว เน้นเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เนื่องจากบริษัทประกันไม่คุ้มครองให้นักท่องเที่ยว ที่เข้ามาเที่ยวในประเทศที่มีการประกาศกฎอัยการศึก ดังนั้นหากรัฐบาลเร่งรัดปลดล็อคแก้ไขในส่วนนี้ได้อย่างเร่งด่วน จะช่วยสนับสนุนภาคการท่องเที่ยว ที่ก่อเกิดรายได้ให้ประเทศได้มากขึ้น"การที่จะบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจได้นั้น จำเป็นต้องใช้การดำเนินงานร่วมกัน ระหว่างกระทรวง เพื่อขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันนั้น ซึ่งนับเป็นอีกประเด็นที่รัฐบาลต้องใส่ใจ และต้องเร่งดำเนินมาตรการที่มุ่งแก้ปัญหาปากท้องประชาชน และปัญหาทางเศรษฐกิจ ทั้งระยะสั้น กลาง ยาว”ที่สำคัญ ต้องให้ตอบโจทย์เป้าหมายทางเศรษฐกิจ 3 เรื่องหลัก คือ เศรษฐกิจเติบโตในอัตราสูง ซึ่งจะก่อเกิดการจ้างงาน ประชาชนมีรายได้ ,กระจายรายได้เท่าเทียม นั่นคือประชาชนทุกคนได้ประโยชน์ และสุดท้าย คือรักษาเสถียรภาพระดับราคาและค่าเงิน ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ ที่พึ่งพาภาคต่างประเทศ 72% และพึ่งพาภายในประเทศ 28% โดยต้องให้เกิดความผันผวนของค่าเงินน้อยที่สุด ในระดับที่ผู้ประกอบการรับได้ และเป็นประโยชน์ต่อผู้ส่งออก และธุรกิจภาคการท่องเที่ยว ส่วนเงินเฟ้อนั้น ควรกำกับให้อยู่ในกรอบทั้งนี้ ตามกรอบเป้าหมายทางเศรษฐกิจนั้น บางเรื่องสามารถดำเนินการได้ในระยะสั้น บางเรื่องต้องใช้เวลานาน ถึงจะสัมฤทธิ์ผล เช่น ในส่วนของเป้าหมายการกระจายรายได้เท่าเทียมนั้น ต้องใช้เวลานานในการดำเนินการ ซึ่งภาครัฐจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุผล อาทิ การแก้ปัญหาในภาคเกษตรกร ควรจะดำเนินมาตรการเพื่อการเพิ่มผลผลิตในภาคการเกษตร เพราะนอกจากจะเป็นการลดต้นทุนแล้ว ยังเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลก่อเกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน และยังตอบโจทย์เป้าหมายการกระจายรายได้ไปพร้อมกันด้วย
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : นิด้าแนะรัฐเร่งเบิกจ่ายหนุนเอกชน
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs