นายเกรียงไกรเธียรนุกูลรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)เปิดเผยว่าในระยะ 3– 5 ปีนี้ควรผลักดันสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอ ไอ ได้ เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมักประสบปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนช่องทางนี้จะสร้างความพร้อมให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแข่งขันให้ได้ในระดับสากลโดยเฉพาะการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี)ในปี58 และเป็นแนวทางการส่งเสริมธุรกิจเอสเอ็มอีเป็นวาระแห่งชาติตามนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) “ปัจจุบันเอสเอ็มอีไทยมีปัญหาเรื่องแหล่งที่มาของเงินทุนเนื่องจากสถาบันการเงินมีเงื่อนไขการกู้ที่เข้มงวดตามสภาพธุรกิจซึ่งตามแผนที่จะผลักดันให้เอสเอ็มอีเป็นวาระแห่งชาติจะมีขั้นตอนในการสร้างศักยภาพให้เอสเอ็มอีมีความเข้มแข็งในทุกๆ ด้านรวมถึงหน่วยงานต่างๆก็จะมีศักยภาพขึ้นซึ่งล่าสุดทางคสช.เองก็ได้มีการแยกสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(สสว.)สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีก็จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพขึ้นและระหว่างนี้ทุกฝ่ายควรช่วยกันส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีความพร้อมในการสร้างความแข็งแกร่งก่อนที่จะระดมทุนในตลาดเอ็มเอไอ” สำหรับข้อเสนอของส.อ.ท.ในการพัฒนาเอสเอ็มอีตามแผนดังกล่าว แบ่งเป็นระยะสั้น6เดือน-1ปีได้เสนอให้กำหนดกรอบงบประมาณในการพัฒนาออกจากกระทรวงอุตสาหกรรมกระทรวงพาณิชย์ และอื่นให้ชัดเจนเนื่องจากที่ผ่านมางบประมาณดังกล่าวมีการแอบแฝงอยู่แต่ละที่ทำให้การใช้เงินไม่เกิดประสิทธิภาพต่อการพัฒนาผู้ประกอบการอย่างแท้จริง เร่งรัดให้ทุกหน่วยงานทำงานแบบบูรณาการไปในทางเดียวโดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้รายได้ของเอสเอ็มอีมีสัดส่วน42%ของผลิตภัณฑ์มวลรวม(จีดีพี)จากปัจจุบันอยู่ที่37% “ยอมรับว่าช่วงที่ผ่านมาวิกฤตเศรษฐกิจและการเมืองไทยได้ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเอสเอ็มอีให้ล้มหายตายจากไปมากพอสมควรแต่ขณะนี้ที่เหลือถือว่ามีความเข้มแข็งไปอีกระดับหนึ่งแล้วระยะสั้นเราก็จะต้องเร่งให้เขาเหล่านี้ที่ฟื้นตัวไม่กลับไปย่ำแย่อีกและก็มั่นใจว่าช่วงครึ่งปีจากนี้ทุกอย่างจะดีขึ้น” ส่วนระยะที่2 ภายใน2-3 ปีให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเอสเอ็มอี จัดทำดัชนีชี้วัดผลสำเร็จ(เคพีไอ)ให้ชัดเจนโดยให้รายงานผลการดำเนินงานเป็นไตรมาสต่อคณะกรรมการบริหารสสว.หรือบอร์ดสสว.ที่มีพล.อ.ประยุทธ์จัทร์โอชา หัวหน้าคสช.เป็นประธานเป็นต้น ขณะที่ระยะที่3 ภายใน3-5ปี ให้จัดทำเรทติ้งรวมถึงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเอสเอ็มอีนิคมอุตสาหกรรมเอสเอ็มอี กองทุนส่งเสริมการไปลงทุนยังต่างประเทศเป็นต้นซึ่งเป้าหมายสูงสุดในระยะยาวนี้จะผลักดันให้เอสเอ็มอีมีสัดส่วนเป็น50%ของจีดีพีประเทศ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ปั้นเอสเอ็มอีระดมทุนในตลาดเอ็มเอไอ
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs