วันนี้(1ตุลาคม 2557) ที่อาคารสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช. ) จัดงานแถลงข่าว “ความสำเร็จในการนำผลงานประดิษฐ์คิดค้นของนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยเข้าร่วมประกวดในงาน The 10th Taipei International Invention Show& Technomart” (INST 2014)  ที่กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน  เมี่อวันที่ 18 – 21 กันยายนที่ผ่านมา ศาสตราจารย์นายแพทย์สุทธิพร  จิตต์มิตรภาพ  เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)เปิดเผยว่า  วช.ได้นำผลงานประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมของคนไทย เข้าร่วมแสดงนิทรรศการและประกวดในงานINST 2014  เป็นปีที่ 2  โดยงานนี้ถือเป็นเวทีการประกวดผลงานประดิษฐ์คิดค้นในระดับนานาชาติมีผู้ร่วมแสดงผลงานจาก 20 ประเทศกว่า 900 ผลงาน   ซึ่งปีนี้ วช.ได้นำผลงานไปประกวดจำนวน 20 ผลงานจาก 8  หน่วยงาน จากผลการประกวด ปรากฏว่า ผลงานการประดิษฐ์ของคนไทยได้รับรางวัลเป็นจำนวนมาก โดยได้รางวัลเหรียญทอง จำนวน 5 ผลงาน   เหรียญเงิน3 ผลงาน รางวัลเหรียญทองแดง  6 ผลงาน รางวัลชมเชย 6 ผลงานนอกจากนี้ ยังได้รับรางวัล SpecialPrize จากองค์กร 10องค์กรของประเทศต่าง ๆ อีก  37 รางวัล                  ทั้งนี้จากการประกวดซึ่งผู้ได้รับรางวัลส่วนใหญ่เป็นนักวิจัยหรือนักประดิษฐ์มืออาชีพจากนานาชาติ    ปรากฏว่าปีนี้ มีผลงานประดิษฐ์  “ เตาประหยัดพลังงาน”   จากเยาวชนไทย ได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงานจำนวนมาก และสามารถกวาดมาถึง 5 รางวัลเทียบรุ่นนักวิจัยระดับโลกได้อีกด้วย สำหรับ เตาประหยัดพลังงาน  เป็นผลงานการประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้น ม.6โรงเรียนร่มเกล้ากาญจนบุรี  ได้รับรางวัลเหรียญเงิน  รางวัล Special Award จากประเทศไต้หวัน  รางวัล SpecialAward จากประเทศเกาหลีใต้ และ รางวัล Leading InnovationAward จากเครือข่ายทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ (IntellectualProperty Network Forum – IIPNF) ด้าน นายปัณณวิชญ์  ชาไข ครูชำนาญการ  โรงเรียนร่มเกล้า ฯเปิดเผยว่า ทีมนักเรียน ได้ พัฒนาสิ่งประดิษฐ์นี้ขึ้น โดยเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ Move World Together : เคลื่อนโลกไปด้วยกัน   ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   สิ่งประดิษฐ์นี้คิดค้นขึ้นเพื่อช่วยประหยัดพลังงานในชุมชนที่ยังนิยมให้เตาอั้งโล่แบบโบราณ  “เตาที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่นี้เหมาะสำหรับตุ๋น โดยใช้ถ่านไม้เป็นเชื้อเพลิง  สามารถให้ความร้อนได้อย่างรวดเร็ว  ตัวเตาหุ้มด้วยอลูมิเนียมเพื่อเก็บกักความร้อน  มีช่องใส่ถ่าน  ฝาปิด-เปิด   ส่วนด้านในฉาบด้วยดินเหนียวผสมปูนซีเมนต์และแกลบเผา เพื่อเป็นชนวนกันความร้อนมีการทำให้เกิดการหมุนเวียนความร้อนภายใน ส่วนหม้อหรืออุปกรณ์ที่ใช้หุงต้มสามารถดัดแปลงใช้กับหม้อชนิดใดก็ได้จุดเด่นของเตานี้ช่วยประหยัดการใช้ถ่านไม้หรือถ่านอัดแท่ง ได้ถึง 300%  โดยถ่านอัดแท่งขนาด 100 กรัม สามารถใช้ได้นานถึง4-6 ชั่วโมง”นายปัณณวิชญ์    กล่าว นายปัณณวิชญ์  กล่าวอีกว่าสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างประเทศจำนวนมากทั้งไต้หวันเกาหลีและญี่ปุ่น  ต่างต้องการซื้อเทคโนโลยีที่คิดขึ้นเพื่อไปจำหน่ายในประเทศของตนเอง อย่างไรก็ดีปัจจุบันสิ่งประดิษฐ์นี้อยู่ระหว่างการยื่นขอจดสิทธิบัตรและจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถนำไปใช้งานเชิงพาณิชย์ได้ต่อไป                 รางวัลเหรียญทองที่นักประดิษฐ์ไทยได้รับ จำนวน 5 ผลงาน ประกอบด้วย  ผลงานระบบหลังคาสระน้ำตกสำหรับอาคารพักอาศัยในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น  และเครื่องวัดความเร็วแบบบอลลูนฮีเลียม ของทีมวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์    ผลงานโมโนโคลนอลแอนติบอดีมนุษย์สำหรับรักษาโรคไข้เลือดออก จากนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล    ยางธรรมชาติที่มีกลิ่นหอมยาวนาน ผลงานวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)  และเครื่องตัดก้นและแยกเนื้อหอยขมออกจากเปลือกของวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี          

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ฝีมือนักเรียนไทยเตาประหยัดพลังงานคว้ารางวัลจากไต้หวัน

Posts related