นางศรีรัตน์  รัษฐปานะปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนด 8 ยุทธศาสตร์ในการเตรียมความพร้อมของไทยเพื่อเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)ในปี 58  ประกอบด้วยยทธศาสตร์ที่ 1 คือขับเคลื่อนการเจรจาในเวทีเศรษฐกิจของอาเซียนและเวทีเศรษฐกิจการค้าอื่น  ,ยุทธศาสตร์ที่ 2  คือการพัฒนาฐานองค์ความรู้เกี่ยวกับเออีซี โดยกระทรวงพาณิชย์จะจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  ณกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการนำเสนอข้อมูลอย่างครบวงจร  ยุทธศาสตร์ที่3คือ การยกระดับการให้บริการของกระทรวงพาณิชย์แก่ภาคเอกชน เพื่ออำนวย     ความสะดวกทางการค้า โดยการพัฒนาระบบการให้บริการของกระทรวงอย่างครบวงจรและสร้างระบบ       การให้บริการอิเล็กทรอนิกส์แบบช่องทางเดียวตลอดจนให้บริการข้อมูลและคำปรึกษาแก่ธุรกิจผ่านศูนย์พัฒนาการค้าและธุรกิจไทยในเออีซี รวมทั้งสิ้น  87 ศูนย์ทั้งในกระทรวงพาณิชย์ส่วนกลางสำนักงานพาณิชย์ทุกจังหวัด และสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ(ในอาเซียนและจีนตอนใต้)  ยุทธศาสตร์ที่ 4 คือการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของไทย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานรองรับเศรษฐกิจการค้ายุคใหม่ เช่นยกระดับมาตรฐานและคุณภาพสินค้าและบริการของไทย การพัฒนาธุรกิจอี คอมเมิร์ช   ยุทธศาสตร์ที่ 5 คือการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคและการค้าชายแดนรองรับเออีซีโดยกระทรวงพาณิชย์มุ่งเตรียมความพร้อมให้แก่จังหวัดต่างๆในทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อใช้โอกาสทางธุรกิจการค้าและการ, ยุทธศาสตร์ที่ 6 คือการพัฒนาและขยายเพิ่มสัดส่วนการตลาดของไทยในเออีซี โดยกระตุ้นให้ภาคเอกชนไทยปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์มาให้ความสำคัญอย่างจริงจังแก่ตลาดอาเซียนและตระหนักว่า อาเซียน 10 ประเทศเป็นตลาดที่เชื่อมโยงเป็นผืนเดียวกันเสมือนกับเป็นตลาดภายในของไทย     ยุทธศาสตร์ที่ 7  คือการพัฒนากฎหมายด้านเศรษฐกิจการค้าให้ทันสมัย และสอดคล้องกับข้อผูกพันภายใต้เออีซี โดยกระทรวงพาณิชย์มีกฎหมายภายใต้การกำกับดูแล จำนวน 31 ฉบับและยุทธศาสตร์ที่ 8  คือการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในภาครัฐและภาคเอกชน โดยการยกระดับสถาบันกรมพระจันทบุรีนฤนาถของกระทรวงพาณิชย์เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการดำเนินการพัฒนาบุคลากรภาครัฐและเอกชนสู่ความเป็นสากล “ในการดำเนินการตามภารกิจสำคัญดังกล่าวนี้กระทรวงพาณิชย์ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์และจัดทำพิมพ์เขียวในการดำเนินการเพื่อรองรับการเข้าสู่เออีซีโดยมีเป้าหมายและแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนร่วมกันระหว่างหน่วยงานของกระทรวงพาณิชย์ทั้งในส่วนกลางภูมิภาค 76 จังหวัด และในต่างประเทศ 66 แห่งใน 44 ประเทศรวมทั้งบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในลักษณะที่สร้างความเป็นพันธมิตรร่วมกัน”   

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : พาณิชย์ดัน 8 ยุทธศาสตร์รับเออีซี

Posts related