ฝนที่ฉํ่าช่วงวันที่ 5–7 พ.ค. ไม่ได้แปลว่า เข้าหน้าฝนแล้ว หรือ เป็นฝนหลงฤดูมาจากไหน แต่เป็นปกติที่จะมีความกดอากาศสูงลงมากระทบกับความร้อนแล้วเกิดพายุ กรมอุตุนิยมวิทยา อธิบายว่า ความกดอากาศสูงก้อนนี้ มาจากประเทศจีน แผ่ลงปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในขณะเดียวกัน ก็มีคลื่นกระแสลมตะวันออก เคลื่อนจากทะเลจีนใต้ เข้าปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ เจอเข้าไป 2 เด้งแบบนี้ ความชื้นทางตะวันออกก็ชุก ส่งผลให้มีฝนเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ พอถึงวันที่ 8-11 พ.ค. ความกดอากาศสูงมีกำลังอ่อนลง ฝนจะลดลง อุณหภูมิสูงขึ้น อากาศร้อนยังอยู่คู่ฟ้าเมืองไทย ก็ใช่ว่าฝนจะเหือดหายไปในทันทีทางภาคเหนือ นอกจากเจออากาศร้อนตอนกลางวัน ก็ยังมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มากกว่าหน่อย จะมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมกระโชกแรงก็มีได้เป็นบางแห่ง กรุงเทพฯ ก็ไม่แคล้ว โอกาสเจอฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง มีถึงร้อยละ 20-30 กรมอุตุนิยมวิทยาบอกว่า ต้นเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากร้อนเป็นฝน อากาศจะแปรปรวน ร้อนอบอ้าวทั่วไป มีฝนฟ้าคะนองเป็นบางวัน คาดว่า ฤดูฝนปีนี้ จะเริ่มช้ากว่าปกติ ประมาณสัปดาห์ที่ 3–4 ของเดือนพฤษภาคม ปริมาณฝนรวม จะน้อยกว่าค่าปกติและน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยเฉพาะช่วงต้นฤดู แต่ช่วงปลายฤดูฝน ประเทศไทยตอนบน จะมีฝนใกล้เคียงค่าปกติ ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความ ปัญหาความแห้งแล้ง จะพลิกกลับมาเป็นความชุ่มฉํ่าฉับพลัน แม้กรมชลประทาน จะถือว่า วันที่ 30 เม.ย. เป็นวันสิ้นสุดแผนการบริหารจัดการ นํ้าพืชฤดูแล้งไปแล้วก็ตามเพราะฤดูแล้งปีนี้ ลุ่มนํ้าเจ้าพระยาใช้นํ้าไปถึง 7,224 ล้าน ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) จากที่กำหนดไว้ 5,300 ล้าน ลบ.ม. หรือใช้เกินไปมากกว่า 1,900 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 136 เปอร์เซ็นต์ การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ก็มีมากถึง 9.72 ล้านไร่ เกินเข้าไป 191 เปอร์เซ็นต์ของแผนฯที่วางไว้ กรมชลประทานจะเริ่มส่งนํ้าเข้าในพื้นที่ต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นเดือน พ.ค. เป็นต้นไป แต่ก็ต้องบริหารจัดการให้สอดคล้องกับสภาวะฝนที่ตกลงมาด้วย เพื่อไม่ให้เกิดภาวะนํ้าท่วมขัง และระบายได้สะดวก เห็นฝนตั้งเค้ามา ไม่ได้หมายความจะใช้กันฟุ่มเฟือยได้นะ. หยาดน้ำฟ้า

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : พ้นแล้งแต่ฝนล่า – รู้หลบ

Posts related