ภูฏานในจินตนาการของนักท่องเที่ยวทั่วโลกคงหนีไม่พ้นภาพธรรมชาติอันสวยงาม รายล้อมด้วยผู้คนสมถะ รักความสันโดษ และเฝ้าทะนุบำรุงพุทธศาสนา รวมถึงวัฒนธรรมของชนชาติตัวเองอย่างเข้มแข็ง หากใครที่ยังยึดติดกับภาพดังกล่าวคงต้องเปิดใจให้กว้างขึ้น เพราะภูฏานในวันนี้ กำลังจะเปลี่ยนไปเพราะดัชนีมวลรวมความสุขหรือ GNH (Gross National Happiness) ที่เคยใช้เป็นนโยบายหลักมาก่อนนั้นดูจะต้องถอยให้กับการพัฒนาจีดีพี เฉกเช่นประเทศอื่น ๆ การพัฒนาเศรษฐกิจในยุคปัจจุบันคงหนีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไปไม่พ้น งาน Bhutan International IT & Training Event 2014 (BIITTE) จึงถือกำเนิดขึ้น เพื่อตอบปัญหาดังกล่าว โดยงานนี้นับเป็นงานไอทีระดับนานาชาติที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศภูฏานช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลภูฏานกับองค์กรด้านไอทีของประเทศต่าง ๆ ทั้งอินเดีย เนปาล มาเลเซีย สิงคโปร์ บังกลาเทศ และประเทศไทย ที่รวบรวมผู้บริหารและนักวิชาการจากหลากหลายองค์กรผ่านการประสานงานของสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) เป็นหลัก หัวข้อเสวนาที่น่าสนใจ เช่น ไอซีทีสำหรับการพัฒนาผู้ประกอบการ มีคุณไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) ได้เปิดวิสัยทัศน์ของไทย ในการสนับสนุนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โดยเฉพาะโครงการบ่มเพาะสตาร์ตอัพ เป็นตัวอย่างให้ภูฏานได้เห็นการใช้พลังของคนรุ่นใหม่ในการสร้างธุรกิจด้าน ไอซีที ซึ่งพร้อมที่จะเติบโตไปสู่ระดับโลกได้ หากได้รับการส่งเสริมถูกจุดและทันท่วงที รวมไปถึงการประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อหาแหล่งเงินทุนสนับสนุนผ่านโครงการอินคิวเบเตอร์ (Incubator) ตั้งแต่ระดับอุดมศึกษา เพื่อเฟ้นหาดาวเด่นที่พร้อมจะก้าวเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ตั้งแต่ยังอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย คุณไตรรัตน์ ยังทิ้งท้ายถึงเรื่อง โซเชียล เอนเตอร์ไพรซ์ (Social Enterprise) ซึ่งอาจเป็นเรื่องใหม่สำหรับภูฏาน แต่เชื่อได้ว่าจะเป็นพลังสำคัญที่มีแนวทางจากหลาย ๆ ประเทศให้ได้ศึกษา และอาจใช้เป็นก้าวถัดไปในการพัฒนาผู้ประกอบการด้าน ไอซีทีสมัยใหม่ ถัดมาในหัวข้อการพัฒนา ไอซีทีเพื่อการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม คุณสุวิภา วรรณสาธพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)แนะนำการจับใจนักท่องเที่ยวยุคใหม่ที่มีพฤติกรรม “6S” ที่อาศัยสื่อออนไลน์ในการ Search เพื่อหาแหล่งท่องเที่ยวที่ตรงกับใจ Sense จับความรู้สึกผ่านเว็บบอร์ดและเครือข่ายสังคมทุกรูปแบบ Score โหวตให้คะแนน Selection การเลือกสรรโดยบทความหรือรีวิวในโลกออนไลน์เป็นหลัก Self booking นิยมจองที่พักสายการบินด้วยตัวเองผ่านระบบออนไลน์ และ Share เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้อื่น ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้กลไกของสื่อออนไลน์เป็นหลักทั้งหมด อีก 5-6 ปีข้างหน้า ภาพของภูฏานที่เราเห็นคงจะเปลี่ยนแปลงไปจากทุกวันนี้มากมาย ซึ่งสีสันของเทคโนโลยีสมัยใหม่คงเข้าไปเติมเต็มส่วนประกอบต่าง ๆ ให้ภูฏานดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักลงทุนจากทั่วโลกได้โดยที่ยังคงแก่นแท้ คือความสวยงามทางธรรมชาติเอาไว้ได้อย่างครบถ้วน นี่คือสิ่งที่เราหวังเอาไว้ในประเทศเล็ก ๆ แห่งนี้… ปฐม อินทโรดม
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ภูฏานจะทะยานสู่โลกออนไลน์?
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs