นายกิดดิวงศ์ สมบุญธรรม เลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ขณะนี้การบริโภคเนื้อสุกรลดลง 10% เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น รวมถึงผลจากการชุมนุมทางการเมือง ทำให้ผู้บริโภคมีความเครียด แต่ทั้งนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวยังไม่มีผลกระทบต่อราคาสุกร เพราะผลผลิตสุกรลดลงจากภาวะอากาศผันผวน และโรคระบาดในหมู ส่งผลให้ราคาทรงตัวต่อเนื่อง 6-7 สัปดาห์ที่ผ่านมา “ได้หารือกับในกลุ่มผู้เลี้ยง ว่าจะยังตรึงราคาสุกรไปเรื่อย ๆ แม้บางพื้นที่เตรียมขยับราคาในช่วงเดือนธ.ค.นี้ เพื่อรองรับเทศกาลปีใหม่ แต่จากสำรวจการบริโภคปลายทาง พบว่ากำลังซื้อลดลง ดังนั้นการปรับขึ้นราคาอาจเป็นผลเสียต่อผู้เลี้ยงมากกว่า โดยเฉพาะพ่อค้าคนกลาง หากขยับราคาเนื้อหมูชำแหละ ยิ่งเป็นผลเสียมากกว่าผลดี เนื่องจากประชาชนจะลดการบริโภคลง หรือหันไปบริโภคสินค้าโปรตีนอื่นแทน เพราะสินค้าโปรตีนอื่น ๆ ยังไม่ขยับราคา” ขณะเดียวกันสมาคมฯ เตรียมสัมมนา เพื่อให้ความรู้กับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ในการปรับตัวลดต้นทุนการเลี้ยง เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เพราะต้นทุนเลี้ยงของไทยยังสูงกว่าเพื่อนบ้าน และการจะใช้การขยับราคาต่อเนื่องคงทำได้ยากขึ้นในอนาคต นายสมชาติ สร้อยทอง อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า กรมฯ ได้ประกาศราคาแนะนำเนื้อหมูทั้งระบบ ซึ่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 18-24 พ.ย.นี้ โดยราคาหมูมีชีวิตหน้าฟาร์ม พื้นที่กทม. ภาคกลาง และภาคตะวันตก ไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 66 บาท ภาคตะวันออก ไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 68 บาท ภาคใต้ไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 72 บาท และภาคเหนือไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 72 บาท ทั้งนี้ ส่งผลให้ราคาจำหน่ายส่งหมูชำแหละ(หมูซีก) กทม. ภาคกลาง และภาคตะวันตก ไม่สูงกว่ากิโลกรัมละ 79 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่สูงกว่ากิโลกรัมละ 79 บาท ภาคตะวันออก ไม่สูงกว่ากิโลกรัมละ 81 บาท ภาคใต้ ไม่สูงกว่ากิโลกรัมละ 85 บาท และภาคเหนือ ไม่สูงกว่ากิโลกรัมละ 85 บาท ส่วนราคาจำหน่ายส่งชิ้นส่วนหมูเนื้อแดง(เนื้อสะโพก เนื้อไหล่) กทม. ภาคกลาง และ ภาคตะวันตก ไม่สูงกว่ากิโลกรัมละ 109 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่สูงกว่ากิโลกรัมละ 109 บาท ภาคตะวันออก ไม่สูงกว่ากิโลกรัมละ 112 บาท ภาคใต้ ไม่สูงกว่ากิโลกรัมละ 117 บาท และภาคเหนือ ไม่สูงกว่ากิโลกรัมละ 117 บาท สำหรับ ราคาจำหน่ายปลีกหมูเนื้อแดงไม่ตัดแต่ง (เนื้อสะโพก เนื้อไหล่) กทม.ภาคกลาง และภาคตะวันตก ไม่สูงกว่ากิโลกรัมละ 124 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่สูงกว่ากิโลกรัมละ 124 บาท ภาคตะวันออก ไม่สูงกว่ากิโลกรัมละ 127 บาท ภาคใต้ ไม่สูงกว่ากิโลกรัมละ 132 บาท และภาคเหนือไม่สูงกว่ากิโลกรัมละ 132 บาท ขณะที่ ราคาจำหน่ายปลีกหมูเนื้อแดงตัดแต่ง (เนื้อสะโพก เนื้อไหล่) กทม. ภาคกลาง และ ภาคตะวันตก ไม่สูงกว่ากิโลกรัมละ 134 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่สูงกว่ากิโลกรัมละ 134 บาท ภาคตะวันออก ไม่สูงกว่ากิโลกรัมละ 137 บาท ภาคใต้ ไม่สูงกว่ากิโลกรัมละ 143 บาท และภาคเหนือ ไม่สูงกว่ากิโลกรัมละ 143 บาท “กรมจะติดตามสถานการณ์และราคาหมูอย่างใกล้ชิด และขอให้ผู้จำหน่ายปลีกปิดป้ายแสดงราคาจำหน่ายให้ผู้บริโภคเห็นอย่างชัดเจน ถ้าหากไม่ปิดป้ายแสดงราคาสินค้ามีโทษปรับไม่เกิน 10,000 นบาท ประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมแจ้งที่สายด่วน 1569 หรือสำนักงานการค้าภายในจังหวัดทั่วประเทศ”
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ยอดขายหมูหด 10%
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs