รายงานข่าวจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้จำนวนรถยนต์ติดตั้งก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(เอ็นจีวี) ในปี 57 ลดลงถึง 60% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้มีรถเอ็นจีวีจากโรงงานจำนวนเหลือค้างจำนวนมาก โดยเฉลี่ยมียอดติดตั้งเอ็นจีวีเพียงวันละ89 คัน จากปีก่อนอยู่ที่วันละ218 คันส่วนใหญ่เป็นรถติดตั้งเอ็นจีวีจากโรงงานรถยนต์ ซึ่งรถยนต์ส่วนหนึ่งหันไปติดตั้งก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี)แทน เพราะเห็นว่ามีราคาถูกกว่าและมีจำนวนปั๊มที่มาก ซึ่งต้องการทุกคนเข้าใจว่า ก๊าซเอ็นจีวีเป็นพลังงานทางเลือก แต่ควรจะปล่อยให้ราคาเป็นไปตามกลไกตลาด เพราะจะทำให้ธุรกิจอยู่ได้อย่างยั่งยืน"ทิศทางธุรกิจก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(เอ็นจีวี)นั้น ปตท.ได้กำหนดแนวทางที่สำคัญ คือ การปรับราคาขายปลีกเอ็นจีวีให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงเป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งนโยบายการปรับโครงสร้างราคาพลังงานของรัฐบาล หากมีแผนให้ทยอยปรับขึ้นราคาเอ็นจีวีได้บ้างจะช่วยลดภาระให้กับปตท.เพื่อที่จะมีเงินไปลงทุนในการขยายสถานีหลักและปั๊มเอ็นจีวี"ทั้งนี้เนื่องจากที่ผ่านมาปตท.มีผลขาดทุนสะสมจากการเข้าไปอุดหนุนราคาเอ็นจีวีตั้งแต่ปี46 จนถึงปัจจุบัน รวมแล้ว 95,283 ล้านบาท โดยเฉพาะการออกบัตรเครดิตพลังงาน 77,000 ใบเมื่อปี 53 ให้กลุ่มรถโดยสารสาธารณะสามารถใช้สิทธิ์ซื้อเอ็นจีวีในราคาเดิม 8.50บาทต่อก.ก.จากราคาจริง 10.50 บาทต่อก.ก. มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เดือนละ140 ล้านบาท ขณะที่มีหนี้เสียจากการรูดบัตรเครดิตพลังงานเติมเอ็นจีวีค้างอยู่20 ล้านบาท“ก่อนหน้านี้ทางสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษาโครงสร้างต้นทุนราคาเอ็นจีวีพบว่า ในปี 56 ต้นทุนเนื้อก๊าซฯมีราคาอยู่ที่11.19 บาทต่อก.ก. เมื่อรวมกับต้นทุนการลงทุน ค่าบริหารจัดการเอ็นจีวีและภาษีมูลค่าเพิ่ม อีก 4.81 บาท ราคาเอ็นจีวีที่สะท้อนต้นทุนจริงอยู่ที่ 16 บาทต่อก.ก. ในขณะที่ราคาเอ็นจีวีที่ขายอยู่ในปัจจุบันอยู่ที่10.50 บาทต่อก.ก.”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ยอดติดตั้งเอ็นจีวีลดลง 60%

Posts related