เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทุกครั้ง…ที่เกิดวิกฤติการเมือง ย่อมส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศต้องหยุดชะงักงันตามไปด้วย และเช่นเดียวกันกับเวลานี้ที่ปัญหาการเมืองกำลังบั่นทอนความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ “เดลินิวส์”จึงขอย้อนอดีตให้เห็นถึงวิกฤติการเมืองในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและทำให้ประชาชนคนไทยต้องได้รับกรรมตามไปด้วย อานิสงส์เศรษฐกิจโลก เริ่มจากปี 2547 ที่กลุ่มประชาชนเริ่มเรียกร้องให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากนายกรัฐมนตรี ในประเด็นความโปร่งใสของการบริหารประเทศ โดยเหตุการณ์ได้เริ่มลุกลามไปจนเกิดเหตุการณ์ใหญ่ในปี 49 ภายใต้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) จนต้องยุบสภาเดือน ก.พ. และประกาศให้เลือกตั้งใหม่เดือน เม.ย. แต่ความวุ่นวายไม่จบสิ้น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญไม่รับรองผลเลือกตั้ง ทำให้เกิดความอึมครึมในบ้านเมืองจนเกิดรัฐประหารในเดือน ก.ย. พร้อมจัดตั้ง “รัฐบาลทหาร” โดยมีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี แม้เกิดการปฏิวัติแต่เศรษฐกิจปี 49 ยังขยายตัวได้ 5% เพราะได้อานิสงส์จากเศรษฐกิจโลกทำให้การส่งออกเติบโต 9% แต่หากลงลึกเริ่มพบสัญญาณถดถอยลงทุกไตรมาส อีกทั้งการเกิดสุญญากาศทางการเมืองเป็นเวลานาน ทำให้ขาดงบประมาณในการบริหารประเทศ เช่นเดียวกับภาคท่องเที่ยวที่ชะลอตัวลงจากปี 48 “ขิงแก่”ถูกวิจารณ์หนัก ปี 2550 ภายใต้การบริหารของรัฐบาลขิงแก่…สุรยุทธ์ ได้กำเนิดกลุ่มมวลชน แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เพื่อต่อต้านการรัฐประหาร และเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่ในระหว่างนั้นได้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร และผ่านประชามติด้วยคะแนน 57.81% จนถึงปลายปีจึงให้มีการเลือกตั้งใหม่ ทำให้รัฐบาลขิงแก่ต้องสิ้นสุดการบริหาร ผลงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลขิงแก่ถูกโจมตีอย่างหนัก เพราะถูกมองแต่พยายามไล่เช็กบิลทางการเมือง มากกว่ามุ่งบริหารบ้านเมือง จนถูกใช้คำ “รัฐบาลเกียร์ว่าง” ส่งผลให้จีดีพีปี 2550 ลดเหลือโต 4.8% โดยมีการส่งออกเป็นตัวชูโรง แต่การบริโภคและลงทุนเอกชนยังชะลอตัว ชาวบ้านทำมาค้าขายยากขึ้น ปี 2551 พรรคพลังประชาชน ตัวแทนของไทยรักไทยชนะการเลือกตั้ง “สมัคร สุนทรเวช” ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ส่งผลให้กลุ่ม พธม. กลับมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลอีกครั้ง มีมูลเหตุจากการพยายามแก้กฎหมายนิรโทษกรรมให้อดีตนายกฯ ทักษิณ และยังส่อบริหารบ้านเมืองไม่โปร่งใส โดยปักหลักชุมนุมยืดเยื้อ ตั้งแต่เดือน พ.ค. และดาวกระจายปิดสถานที่สำคัญ เช่น ทำเนียบรัฐบาล จนต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน ต่อมาเดือน ก.ย. นายสมัคร ถูกศาลตัดสินให้พ้นการเป็นนายกฯ “สมชาย วงศ์สวัสดิ์” ขึ้นเป็นนายกฯ แทน แต่กลุ่ม พธม.จึงยกระดับการชุมนุม ถึงขั้นปิดสนามบินสุวรรณภูมิ ดอน เมือง และสลายการชุมนุมในเดือน ธ.ค. หลังศาลสั่งตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน “พันธมิตร”ฉุดจีดีพีเหลือ 2.6% เศรษฐกิจไทยก้าวสู่ภาวะชะลอตัว เหลือการขยายตัวแค่ 2.6% ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 5-6% หลังจากการส่งออกหดตัว จากพิษแฮมเบอร์เกอร์ไครซิส ประกอบกับกลุ่มผู้ชุมนุมมีการปิดสนามบิน ทำให้ในไตรมาส 4 การส่งออกลดลง 9.4% และนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง 700,000 คน สูญเสียรายได้ไป 25,000 ล้านบาท ขณะที่การลงทุนเอกชน และการบริโภคยังมีสัญญาณชะลอ ปี 2552 เกิดเหตุพลิกขั้วทางการเมือง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ลงมติเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี และพรรคประชาธิปัตย์ ได้จัดตั้งรัฐบาลผสม ขณะที่อีกฟากได้ตั้งพรรคเพื่อไทย แทนพลังประชาชนที่ถูกยุบไป ระหว่างนั้นเกิดการชุมนุมของ นปช. ตั้งแต่เดือน มี.ค. เกิดเหตุรุนแรงขึ้นหลายจุด ทั้งการชุมนุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่พัทยา เกิดการปะทะและสลายการชุมนุม จนมีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และสลายการชุมนุมหลังแกนนำ นปช.มอบตัว เปลี่ยนขั้วก็ยังไม่ฟื้น เป็นอีกปีที่เศรษฐกิจไทยเผชิญภาวะถดถอยรุนแรงติดลบถึง 2.3% แย่กว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ลบ 1% แม้รัฐบาลอภิสิทธิ์จะพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยงบกว่าแสนล้าน แต่ไม่กระตุ้นเศรษฐกิจนัก เพราะปัญหาเศรษฐกิจโลกยังทำให้ส่งออกชะลอตัว ประกอบความวุ่นวายทางการเมืองภายในทำให้การใช้จ่าย การลงทุนซึมตัว ปี 2553 ศาลฎีกาพิพากษาคดียึดทรัพย์อดีตนายกฯ ทักษิณ 46,000 ล้านบาทช่วงเดือน ก.พ. ถัดไปอีกเดือน กลุ่ม นปช.เริ่มเคลื่อนไหวอีกครั้ง เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาและจัดเลือกตั้งใหม่ เหตุการณ์ตึงเครียดขึ้นต่อเนื่องมีการยึดสถานที่สำคัญ จนรัฐบาลต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน และเกิดการสลายการชุมนุมมีผู้บาดเจ็บและล้มตายจำนวนมาก รวมถึงนักข่าวชาวต่างชาติ อีกทั้งยังเกิดจลาจลทั่วเมืองหลวง การวางเพลิงศูนย์การค้าและอาคาร ความวุ่นวายยุติหลังแกนนำยอมมอบตัว เศรษฐกิจโลกช่วยดึงจีดีพี แม้จะเกิดความวุ่นวายอย่างรุนแรงแต่เศรษฐกิจปีนี้กลับมาขยายตัวได้ร้อนแรง 7.8% สูงกว่าเป้าหมาย 3.5–4.5% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้การลงทุนเอกชน การบริโภคภาคครัวเรือนฟื้นตัว โดยเฉพาะการส่งออกที่โตถึง 28.5% แต่ท่ามกลางการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ชาวบ้านก็เผชิญปัญหาค่าครองชีพที่สูงและเกิดเหตุ “สวาปาล์ม” น้ำมันปาล์มพุ่งขวดลิตรละ 80 บาท แถมขาดแคลนอย่างหนัก ปี 2554 รัฐบาลอภิสิทธิ์ ประกาศยุบสภาเดือน พ.ย. และมีจัดเลือกตั้งใหม่เดือน ก.ค. พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง และเป็นผู้จัดรัฐบาลผสมอีกครั้ง โดยมี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกฯ และเป็นปีที่สงบเงียบ ปราศจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มม็อบ เพราะหลังการเลือกตั้ง ประเทศไทยต้องเผชิญมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ เริ่มตั้งแต่ปลายเดือน ก.ค. 54 –ม.ค. 55 หายไปกับน้ำท่วมใหญ่ เศรษฐกิจไทยปี 54 ขยายตัวเพียง 0.1% แย่ว่าที่คาดไว้ 3.5-4.5% แม้ภาพรวมทิศทางในครึ่งปีแรกจะสดใส และปราศจากความวุ่นวาย แต่การเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่กินเวลากว่า 5-6 เดือน ส่งผลกระทบโดยรวมต่อระบบเศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง โดยธนาคารโลกประเมินความเสียหายไว้ 1.44 ล้านล้านบาท ปี 2555 เป็นปีแห่งการฟื้นฟูประเทศและเศรษฐกิจไทยหลังเหตุน้ำท่วม แต่ในเดือน มิ.ย. ก็เกิดกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม ขึ้นเพื่อขับไล่รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีความพยายามเคลื่อนไหวต่อเนื่อง และนัดชุมนุมใหญ่เดือน พ.ย. แต่หลังจากเคลื่อนไหวไม่นาน แกนนำก็ประกาศยุติบทบาทการชุมนุม โดยไม่มีการเสียเลือดเสียเนื้อ เร่งฟื้นฟูช่วยคนไทย แต่ในภาคเศรษฐกิจถือว่าเติบโตได้ 6.4% อยู่ในกรอบเป้าหมายที่ตั้งไว้ 5.5-6.5% โดยเป็นปีแห่งการฟื้นฟู และอัดฉีดงบกระตุ้นเศรษฐกิจตามแผนประชานิยม แต่นโยบายส่วนใหญ่ถูกท้วงติงจากหลายฝ่าย ทั้งการจำนำข้าวที่กระทบต่อการส่งออก รถยนต์คันแรกที่เพิ่มภาระหนี้ภาคประชาชน และที่สำคัญยังเกิดภาวะข้าวยากหมากแพง โดยรัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ปี 2556 รัฐบาลพยายามผลักดันการแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญ รวมถึงผลักดันการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และรัฐบาลชนะผ่านการโหวตในสภา แต่ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงรายละเอียดให้ครอบ คลุมถึงแกนนำ หรือเรียก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม สุดซอย ขณะเดียว กันศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของวุฒิสภาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ส่งผลเกิดการคัดค้านจากภาคประชาชน การเมือง นักศึกษา และภาคธุรกิจทั่วประเทศจนมีการยกระดับชุมนุมด้วยการยึดสถานที่ราชการ ศาลากลางจังหวัด และเรียกร้องให้ข้าราชการหยุดงานประท้วง เดิมปีนี้คาดหมายเศรษฐกิจเติบโต 4.5-5.5% แต่ในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมา เติบโต 3.7% มาจากการส่งออกย่ำแย่หนักจากพิษเศรษฐกิจโลก การบริโภคครัวเรือนชะลอหลังหมดโปรโมชั่นกระตุ้น เศรษฐกิจ การลงทุนของภาครัฐทำไม่ได้ตามแผน โดยรัฐบาลมุ่งเน้นผลทางการเมือง ส่งผลให้การเมืองเดินเข้าสู่วิกฤติอีกครั้ง แม้จะกล่าวไม่ได้ทั้งหมดว่า… ความเสียหายที่เกิดขึ้น มาจากปัจจัยการเมืองอย่างเดียว แต่การเมืองนับเป็นปัจจัยสำคัญที่บั่นทอนประเทศ ความเป็นอยู่ของประชาชน และทำให้ไทยเสียโอกาสก้าวหน้า ที่สำคัญตลอด 8 ปีที่เกิดการขัดแย้ง ผลลัพธ์ที่ออกมาไม่แตกต่างกัน คือ ประชาชนต้องเดือดร้อน เศรษฐกิจชาติย่ำแย่ และเป็นเสมือนเกมแก่งแย่งอำนาจกันของ 2 ฝ่าย โดยมีประชาชนเป็นบันไดก้าวสู่ความสำเร็จอย่างชอบธรรมเท่านั้น!. ทีมเศรษฐกิจ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ย้อนรอย 8 ปีวิกฤติการเมืองปัจจัยเสี่ยงฉุดเศรษฐกิจไทย
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs