วันนี้( 5 มิ.ย.)ที่ตึกไอทาวเวอร์ ถนนวิภาวดีรังสิต สมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ร่วมกลุ่มกับ ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลจำนวน 24 ช่องเข้ายื่นหนังสือต่อ คณะกรรรมการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) โดยมีนายภาณุชัย เหตระกูล ศรีนวลนัด รองผู้อำนวยการฝ่ายผลิต นสพ.เดลินิวส์ และกรรมการ บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสท์ จำกัด ในนาม นิวทีวี ช่อง 18 ร่วมเข้ายื่นหนังสือด้วยโดยนางจำนรรค์ ศิริตัน นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เปิดเผยว่า สำหรับการยื่นหนังสือเพื่อเร่งรัดให้ดำเนินการแจกคูปองเงินสดส่วนลดสำหรับแลกซื้ออุปกรณ์ดิจิตอลให้เร็วที่สุดและเร่งรัดการขยายโครงข่ายดิจิตอลให้เป็นไปตามกำหนดเงื่อนไข เนื่องจากขณะนี้มีความล่าช้าส่งผลให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลและผู้บริโภคได้รับความเดือนร้อน เพราะเข้าสู่ช่วงการออกอากาศแล้วแต่ประชาชนบางส่วนยังไม่ได้รับชมเพราะรอรับการแจกคูปองโดยมองว่าคูปองควรจะถึงมือผู้บริโภคได้ประมาณช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.นี้“มองว่าการแจกคูปองเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดเนื่องจากผู้บริโภคสามารถนำเอาไปแลกได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นกล่องเซต ทอปบ็อกซ์ พร้อมเสาอากาศ ทีวีที่รับสัญญาณรับดิจิตอลภายในเครื่อง และการนำไปแลกซื้อกล่องระบบดาวเทียมและเคเบิลทีวี และที่สำคัญผู้บริโภคต้องไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากจนเกิดเป็นภาระต่อผู้บริโภคเอง โดยราคาที่มองว่าเหมาะสมน่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,000-1,200 บาท ในขณะเดียวไม่เห็นด้วยที่จะนำไปเข้าสู่กระบวนการประชาพิจารณ์ ซึ่งจะทำให้เกิดความล่าช้ามากยิ่งขึ้นผู้ประกอบการดิจิตอลจะลำบาก เนื่องจากใช้เงินลงทุนไปจำนวนมาก ดังนั้นการแจกคูปองให้รวดเร็วจะเป็นส่วนสำคัญที่ให้ผู้บริโภคได้รับชมข่าวสารทั่วถึง”นางจำนรรค์ กล่าวด้านนายสุภาพ คลี่กระจาย ประธานชมรมผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล เปิดเผยว่า หากคูปองออกช้าจะกระทบต่อทีวีดิจิตอลทั้ง 24 ช่องแน่นอน เนื่องจากผู้บริโภคภาคพื้นดินไม่สามารถรับชมได้มีเฉพาะแต่ผู้บริโภคที่รับชมผ่านระบบดาวเทียมและเคเบิลตามประกาศกิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป(มัสต์แครี่ )เท่านั้น ส่งผลธุรกิจโฆษณาเกิดรายได้ไม่มาก ดังนั้นการแจกคูปองจะเป็นหัวใจสำคัญในการรับชมทีวีดิจิตอล จึงขอความกรุณาคณะกรรมการกองทุนฯในการพิจารณาเร่งรัดกระบวนการเนื่องจากหากล่าช้าผู้ประกอบการจะยิ่งแย่ลงนายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่และผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์พีพีทีวี กล่าวว่า หากราคากล่องออกมาล่าช้าจะเกิดปัญหาและมีความเสียหายจำนวนมากซึ่งควรแล้วเสร็จในช่วง ก.ค.-ส.ค.เพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุดเมื่อคำนวนความเสียหายแล้วจะพบว่า ในช่องความคมชัดสูง(เอชดี)จะเสียหาย 1,000 ล้านบาทต่อ เดือน ช่องสแตนดาสวาไรตี้(เอสดี) เสียหาย700 ล้านบาทต่อเดือน ช่องข่าว เสียหาย500 ล้านบาทต่อเดือน และช่องเด็ก 300ล้านบาทต่อเดือน รวม 2 4ช่องจะสร้างความเสียหายทั้งหมด 2,500 ล้านบาทต่อเดือนในขณะเดียวกันคณะกรรมการองค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนได้ยื่นหนังสือขอส่งข้อมูลชี้แจ้งเพิ่มเติมราคาคูปองว่าเป็นไปตามที่ได้ศึกษาว่าราคากล่องเซต ทอป บ็อกซ์รุ่น ดีวีบี ที 2 รวมเสาอากาศควรอยู่ที่ราคาไม่เกิน 512 บาท การกำหนดราคาคูปอง 1,000 บาทจะทำให้เกิดปัญหาดึงราคากล่องในตลาดให้สูงขึ้นและเอื้อต่อผู้ผลิตกล่องจะก่อให้เกิดความเสียหายและขอให้ยกเลิกการแจกคูปองสำหรับการแลกซื้อกล่องดาวเทียมและเคเบิลรวมถึงทีวีดิจิตอลที่รับสัญญาณในเครื่องเพราะส่งผลให้เกิดปัญหาขยะอิเลคโทรนิกส์.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ร้อง กทปส.เร่งแจกคูปองทีวีดิจิตอลช้าทำผู้ประกอบการเสียหาย 2,500 ลบ./เดือน

Posts related