นายทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ ผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ร.ฟ.ท.จะกลับไปใช้เงินกู้ 1.76 แสนล้านบาท ที่ ครม.เคยอนุมัติปี 53 ให้นำไปลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ ร.ฟ.ท. แทนการใช้เงินกู้จาก พรบ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เนื่องจาก พ.ร.บ.ดังกล่าวยังรอการพิจาณาจากศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งหากดำเนินการได้ ก็อาจต้องล่าช้า และต้องรอรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาพิจารณาว่าจะเดินหน้าต่อไปหรือไม่ “ร.ฟ.ท.เห็นว่าการกลับไปใช้เงินกู้ 1.76แสนล้านบาท น่าจะดำเนินการได้ เพราะเป็นกรอบวงเงินที่มติของ ครม.เคยอนุมัติไว้อยู่แล้ว แต่ภายหลัง เมื่อรัฐบาลชุดที่ผ่านมามีการผลักดันโครงการใน พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จึงได้ยกก้อน 1.76 แสนรวมเข้าไปด้วย ดังนั้นขณะนี้เมื่อ พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน สะดุด จึงสามารถโยกกลับไปใช้งบเงินกู้เดิมได้” สำหรับโครงการสำคัญ ที่ต้องดำเนินการภายใต้เงินกู้ดังกล่าว จะเป็นการก่อสร้างรถไฟทางคู่ทั่วประเทศตามแผนงานที่กำหนด เนื่องจากเป็นเรื่องจำเป็น ที่ทุกฝ่ายให้ความสำคัญ และมองว่าจะต้องเดินหน้าโครงการต่อไป แม้จะเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ก็ตาม ซึ่งการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการจัดซื้อขบวนรถใหม่มาให้บริการ เพื่อให้ขบวนรถเพียงพอกับความต้องการของประชาชนในทุกเส้นทาง เพราะหากก่อสร้างรถไฟทางคู่ได้แล้วเสร็จ การเดินรถจะสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนเข้าใช้บริการเพิ่มขึ้นด้วย นายทนงศักดิ์ กล่าวว่า จำนวนขบวนรถที่มีอยู่ในปัจจุบัน ถือว่าสามารถให้บริการกับประชาชนได้อย่างเพียงพอในช่วงเวลาปกติ แต่หากเป็นช่วงเทศกาลจะมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก อาจจะไม่เพียงพอ ร.ฟ.ท.จึงอยู่ระหว่างทยอยจัดซื้อมาให้บริการเพิ่มเติมตามแผนงานที่กำหนด แต่หากมีรถไฟทางคู่ครอบคลุมไปในทุกพื้นที่แล้ว ก็ต้องพิจารณาว่าจะทยอยเพิ่มรถเท่าไรถึงเพียงพอ ส่วนการให้บริการขบวนรถไฟฟรี ขณะนี้ยังเพียงพอ โดยขบวนรถที่ให้บริการในภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศมี 164 ขบวนต่อวัน จะวิ่งให้บริการในระยะทางไม่ไกล 100-150 กม.ส่วนขบวนรถเร็ว ซึ่งเป็นรถไฟชั้น 3 ที่ให้บริการในเส้นทางระยะไกล จากกรุงเทพฯ ออกไปยังทุกเส้นทางในต่างจังหวัดมี 8 ขบวนต่อวัน แต่ละขบวนสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 600 คน ทั้งนี้การบริการรถไฟฟรี ไม่ส่งผลกระทบกับรายได้ของ ร.ฟ.ท. เพราะได้รับการชดเชยจากรัฐบาลอยู่แล้ว แต่อาจได้เงินช้าบ้าง จึงไม่สามารถนำเงินมาหมุนเวียนได้ทันทีเหมือนกับการเก็บรายได้จากผู้โดยสารโดยตรง ส่วนการให้บริการต่อไปหรือยกเลิกบริการ เป็นอำนาจของรัฐบาลใหม่เป็นผู้พิจารณา โดยต้องการให้หาวิธีคัดกรองให้ผู้ใช้บริการเป็นผู้มีรายได้น้อยอย่างแท้จริง เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการจัดทำโครงการนี้ขึ้นมาด้วย
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ร.ฟ.ท.สับขาใช้งบ 1.76 แสนล้าน
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs