ปฏิบัติการลดราคาน้ำมันในกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอล์ครั้งใหญ่เมื่อวันศุกร์ที่ 29 ส.ค.ที่ผ่านมาของ คสช.ได้ก่อให้เกิดความปีติยินดีในหมู่ผู้ใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ร่วม 27 ล้านคันทั่วประเทศอย่างมากมาย แต่ในขณะเดียวกันก็ได้เกิดคำถามขึ้นมากมายเช่นเดียวกันว่าทำไมจึงมีการลดราคาลงมาอย่างมากมายเช่นนี้ ทำไมรัฐบาลก่อนหน้านี้จึงทำไม่ได้ ลดแล้วจะยั่งยืนไหม ดังนั้นเพื่อความเข้าใจผมอยากจะเรียนว่าการลดราคาน้ำมันในครั้งนี้ไม่เหมือนกับการลดราคาในสมัยของรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์เพราะตอนนั้นเป็นการลดราคาเพื่อสนองตอบการหาเสียงทางการเมือง ที่เคยหาเสียงเอาไว้ ซึ่งมีผลให้ราคาน้ำมันเบนซินถูกลงทันทีลิตรละ 7 บาท ในที่สุดรัฐบาลก็ต้องกลับมาเก็บเงินเข้ากองทุนฯ เหมือนเดิมและเก็บในอัตราที่สูงขึ้นเสียด้วยซ้ำไป แต่ในครั้งนี้การลดราคาเป็นส่วนหนึ่งหรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นก้าวแรกของการปรับโครงสร้างราคาพลังงานที่แท้จริงเพราะมีการปรับทั้งอัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนฯ และอัตราภาษีสรรพสามิตควบคู่กันไปจึงทำให้ลดราคาน้ำมันในกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอล์ลงได้มากและเกลี่ยเงินบางส่วนที่เก็บเข้ากองทุนฯ ในส่วนของน้ำมันดีเซลมาเป็นภาษีสรรพสามิตรวมทั้งขึ้นราคาดีเซลลิตรละ 14 สต. จึงทำให้รัฐไม่สูญเสียรายได้จากการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันในกลุ่มเบนซินแก๊สโซฮอล์แต่อย่างใดแถมกลับมีรายได้เพิ่มจากภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลอีกด้วย (หักกลบลบหนี้กันแล้ว กระทรวงการคลังมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละเกือบ 5,000 ล้านบาท)ดังนั้นจึงตอบคำถามได้ว่า การลดราคาเที่ยวนี้ยั่งยืนแน่นอน ส่วนคำถามที่ว่าทำไมถึงลดแต่กลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอล์ก็เป็นเพราะว่ากลุ่มผู้ใช้กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ได้รับความไม่เป็นธรรมจากโครงสร้างราคาที่บิดเบือนมากที่สุดเพราะจ่ายภาษีสรรพสามิตและเงินเก็บเข้ากองทุนในอัตราสูงที่สุด โดยผู้ใช้เบนซิน 95 จ่ายทั้งภาษีและกองทุนฯ รวมทั้งสิ้น 23 บาท/ลิตร คิดเป็น 47% ของราคาขายปลีก ผู้ใช้แก๊สโซฮอล์ก็จ่าย 12-14 บาท/ลิตร คิดเป็น 33-37% ของราคาขายปลีก ซึ่งเงินที่เก็บเข้ากองทุนฯ ก็เอาไปอุดหนุนผู้ใช้ก๊าซแอลพีจีให้ได้ใช้ก๊าซในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนนั่นเอง ส่วนการขึ้นราคาน้ำมันดีเซลลิตรละ 14 สต.นั้น ผมไม่อยากเรียกว่าเป็นการขึ้นราคาเพราะเป็นการปรับขึ้นไปสู่เพดานราคาที่ไม่เกินลิตรละ 30 บาท (29.99 บาท) ซึ่งเราใช้กันมาเป็นเวลา 3 ปี 4 เดือน ส่วนคำถามที่ว่าทำไม คสช.ทำได้ก่อนหน้านี้ทำไมทำไม่ได้ ผลประโยชน์ไปตกอยู่กับใครท่านคงเห็นแล้วนะครับว่าเป็นเรื่องของนโยบายและการตัดสินใจผลประโยชน์ไม่มีหรอกครับเพราะเป็นการลดภาษีและเงินเก็บเข้ากองทุนฯ และต้องบอกว่าที่ทำได้เพราะสถานการณ์พลังงานโลกเอื้ออำนวยด้วยนะครับ เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกเป็นขาลงทำให้ก่อนหน้านี้มีการเก็บเงินจากผู้ใช้เบนซิน/แก๊สโซฮอล์เข้ากองทุนเพิ่มไปแล้วถึง 1.55-1.85 บาท/ลิตร ทั้งหมดนั้นคือเหตุผลและที่มาที่ไปของการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมนะครับ.
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ลดราคาน้ำมัน:ขั้นตอนแรก ของการปรับโครงสร้างราคา – พลังงานรอบทิศ
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs


