กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างแพร่หลาย เมื่อกระทรวงการคลังได้นำเรื่องของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และภาษีมรดก มาปัดฝุ่นใหม่อีกครั้ง!! หลังจากถูกทิ้งขว้างมานานหลายสิบปี โดยกระทรวงการคลังได้คาดหวังให้กฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้ สามารถคลอดออกมาเป็นรูปธรรมได้เสียที ในเวลานี้ต้องถือเป็นห้วงเวลาที่เหมาะสมยิ่งนัก…เพราะภายใต้การบริหารบ้านเมืองที่อยู่ในช่วงภาวะพิเศษ รวมทั้งมีผู้นำที่ชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของไทย น่าจะใช้จังหวะนี้เร่งผลักดันกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ที่ค้างคาราคาซังมานานให้เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ในเรื่องการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องด้วยกัน 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ที่ใช้เก็บค่าเช่าที่เจ้าของทรัพย์สินได้รับในแต่ละปี หรือ “ค่ารายปี” และอีกฉบับเป็น พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ที่จัดเก็บภาษีด้วยการนำราคาปานกลางของที่ดินปี 2521-2524 มาประเมินเป็นภาษีบำรุงท้องที่ แต่การใช้กฎหมายภาษีทั้ง 2 ฉบับในช่วงที่ผ่านมา ยังมีช่องโหว่ในการจัดเก็บภาษีที่แตกต่างกัน ส่งผลให้รัฐบาลขาดรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่ประชาชนครอบครองหรือเป็นเจ้าของอยู่ อีกทั้งยังก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยเฉพาะการกักตุนที่ดินในกลุ่มของคนมีสตางค์ตามมาอีกด้วยสร้างความเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม การจะรื้อโครงสร้างการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกลับไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะที่ผ่านมามีรัฐบาลหลายยุคหลายสมัย พยายามหยิบยกแก้ปัญหานี้ขึ้นมาพิจารณา แต่สุดท้ายก็เป็นบัวแล้งน้ำไม่เคยทำได้สำเร็จสัักครั้ง เนื่องจากเกิดคลื่นใต้น้ำต่อต้านจากนักการเมืองและผู้มีอิทธิพล ซึ่งส่วนใหญ่มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในมืออยู่มาก จึงเกรงว่าจะเสียประโยชน์ หากกฎหมายฉบับนี้ถูกผลักดันให้เกิดขึ้นจริง แต่ในครั้งนี้ภายใต้การบริหารประเทศในยุคทหาร ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้มองว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคมให้เกิดขึ้นจริงจังเสียที อีกทั้งยังเป็นการช่วยให้รัฐบาลมีช่องทางการจัดเก็บภาระภาษีจากส่วนกลาง และภาษีสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) พึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น ซึ่งจะสามารถเพิ่มการจัดเก็บรายได้กว่าปีละ 40,000-50,000 ล้านบาททีเดียว พล.อ.ประยุทธ์ มองว่า “ปัจจุบันมีผู้ถือครองที่ดินจำนวนมากแต่ไม่ใช้ประโยชน์ ดังนั้นน่าจะหาวิธีกระจายการถือครองที่ดิน และการใช้ที่ดินให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น จึงควรเสนอกฎหมายดังกล่าวให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา เพื่อให้เจ้าของที่ดิน ปล่อยที่ดินให้เช่า ซึ่งน่าจะช่วยให้ชาวนาได้ที่ดินมาทำเกษตรกรรมเพิ่มมากขึ้นอีกพอสมควร” เปิดแผนการจัดเก็บ สาระของ พ.ร.บ.ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับโครงสร้างภาษีให้เป็นธรรมในสังคมไทยมากขึ้น เพราะเป็นการเก็บภาษีของผู้ที่มีที่ดินมากและไม่ได้ใช้ประโยชน์เป็นหลัก รวมถึงยังลดการกักตุนที่ดินของนายทุน โดยเฉพาะกรณีถือครองที่ดินแต่ปล่อยรกร้างไม่ได้ทำประโยชน์ สำหรับโครงสร้างภาษีใหม่คาดว่า จะเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทุกแปลง โดยใช้ราคาประเมินของกรมธนารักษ์ แบ่งเป็น 3 อัตรา เริ่มจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเชิงพาณิชย์ เก็บในอัตราไม่เกิน 0.5% ของราคาประเมินที่ดิน ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อที่อยู่อาศัย เก็บในอัตรา 0.1% และสุดท้ายที่ดินเพื่อการเกษตร เก็บในอัตราไม่เกิน 0.05% ส่วนที่ดินว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามสมควรแก่สภาพที่ดิน จะเรียกเก็บในอัตรา 0.05% ของราคาประเมินที่ดิน หากยังไม่ใช้ประโยชน์ติดต่อกัน ให้เพิ่มภาษีอีก 1 เท่าในทุก ๆ 3 ปี แต่จำนวนภาษีที่เสียต้องไม่เกิน 2% ของราคาประเมิน ทั้งนี้ การจัดเก็บภาษีตามโครงสร้างนี้ อาจทำให้เจ้าของ “สิ่งปลูกสร้าง” มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นผู้มีรายได้น้อยหรือมาก ทั้งผู้ที่ถือครองที่ดินและทรัพย์สินมาก ก็จะต้องเสียภาษีมากขึ้น รวมถึงที่ดินเพื่อการเกษตรทีี่แต่ก่อนไม่เคยเสียภาษีเลยก็อาจต้องจ่ายเพิ่ม แต่ที่หนักสุด คือ การถือครองที่ดินแต่ปล่อยรกร้างไม่ได้ทำประโยชน์ จะถูกจ่ายในอัตราเพิ่มมากสุด ผลักดันการปฏิรูป หากร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ถูกผลักดันให้เกิดขึ้นจริง จะทำให้ฐานผู้เสียภาษีกว้างและเป็นธรรม เพราะครอบคลุมถึงอาคารชุดด้วย ส่งผลให้รายได้การจัดเก็บภาษีเข้าสู่ อปท. เพิ่มขึ้นนำไปพัฒนาท้องถิ่นได้เต็มที่ อีกทั้งยังกระตุ้นให้บุคคลไม่อยากปล่อยที่ดินทิ้งร้าง และนำไปใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น สำหรับขั้นตอนร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ล่าสุด ได้ผ่านคณะกรรมการกฤษฎีกาไปแล้วตั้งแต่ปี 54 สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่มาถึงวันนี้ยังหยุดนิ่งอยู่ที่เดิม ทำให้ตอนนี้ได้แต่ลุ้นว่า ผู้มีอำนาจสั่งการทั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ที่กำลังจะขึ้นมาบริหารประเทศเป็นการชั่วคราวนั้น จะผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างภาษีที่ดินให้เกิดขึ้นจริงในสังคมไทยได้หรือไม่ คงต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด เพราะหากไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาที่รัฐบาลมีอำนาจพิเศษเช่นนี้ คงต้องบอกได้คำเดียวว่าเลิกหวังกันได้เลยเดินหน้าเก็บภาษีมรดก ส่วนการจัดเก็บภาษีมรดก ก็เป็นอีกหนึ่งกฎหมายที่ถูกผลักดันมายาวนานเช่นกัน โดยกรมสรรพากรได้ศึกษามานานกว่า 20 ปีแล้ว แต่ไม่สามารถผลักดันให้เป็นกฎหมายได้สำเร็จ เนื่องจากเกิดการโต้แย้งและข้อมูลที่สนับสนุนมาหักล้างกันอยู่ตลอดเวลา ทั้งฝ่ายที่สนับสนุนที่ให้จัดเก็บภาษีมรดก เพราะบุคคลที่ใช้ทรัพยากรภายในประเทศ ควรเสียภาษีให้รัฐบาล มรดกที่ผู้รับได้รับจากผู้ตายก็ควรเสียภาษีให้แก่รัฐบาล แต่ฝ่ายที่คัดค้านมองว่า ก่อนที่ผู้ตายจะเสียชีวิต ทรัพย์สินที่เป็นมรดกทิ้งไว้ให้แก่ลูกหลานได้เสียภาษีให้แก่รัฐบาลไปหมดแล้ว เมื่อผู้รับได้รับมรดกจากผู้ตาย ไม่ควรเสียภาษีอีกแล้ว รวมถึง มองว่าเป็นการจัดเก็บภาษีที่ซ้ำซ้อน อาจลดทอนแรงจูงใจให้คนออมเงิน ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจในอนาคตเสนอเก็บอัตราเดียว ล่าสุด! กรมสรรพากรเสนอการจัดเก็บภาษีมรดกไปยัง คสช.แล้ว และกำลังอยู่ในการพิจารณาของกฤษฎีกาในอัตราเดียวเท่านั้น คือ 10% ซึ่งเก็บจากกองมรดก และมีข้อยกเว้นสำหรับผู้ที่มีมรดกไม่ถึง 50 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี โดยคาดว่าจะสามารถเสนอต่อ ครม.ในเร็ว ๆ นี้ และเชื่อว่ามีผลบังคับใช้กฎหมายได้ ช่วงปี 58 เบื้องต้นประเมินว่ารายได้ที่จัดเก็บได้จะมีจำนวนหลายหมื่นล้านบาท แต่กฤษฎีกายังมีความเห็นขัดแย้งกับกรมฯ เสนอไปว่าควรเก็บจากผู้รับ แต่กฤษฎีกาเห็นควรจะเก็บจากกองมรดก ซึ่งต้องหาข้อสรุปอีกครั้งความหมายของภาษี ภาษีมรดก…จัดเป็นภาษีทรัพย์สินประเภทที่เรียกเก็บจากความตายของเจ้าของมรดกเป็นสำคัญ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ที่มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน คือ ภาษีกองมรดก ที่เก็บจากกองทรัพย์สินของผู้ตาย ที่รวบรวมทรัพย์สินของผู้ตายทั้งหมดมาประเมินภาษีและชำระภาษีตามจำนวนที่ประเมินได้ จากนั้นทรัพย์สินที่เหลือจากการชำระภาษีแล้ว จึงจะตกทอดไปยังทายาทของผู้ตาย ที่เป็นอัตราก้าวหน้าตามขนาดของกองมรดก ทำให้รัฐได้จำนวนภาษีมาก เพราะเป็นการเก็บภาษีจากทรัพย์สินรวมทั้งสิ้นก่อนแบ่งให้ทายาท ขณะที่ภาษีการรับมรดก…เป็นภาษีที่เก็บจากบุคคลที่ได้รับมรดก เมื่อเจ้าของทรัพย์สินหรือเจ้าของมรดกถึงแก่ความตายแล้ว ทรัพย์มรดกจะถูกแบ่งให้ผู้รับมรดกหรือทายาทแต่ละคนตามสัดส่วน ดังนั้น ผู้รับมรดกแต่ละคนจะเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี อัตราภาษีรวมทั้งการลดหย่อนต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับมรดกกับผู้ตาย คือผู้รับมรดกที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ตาย แต่ไม่อำนวยรายได้ให้แก่รัฐมากเท่ากับการจัดเก็บภาษีกองมรดก และไม่สะดวกต่อการจัดเก็บภาษีเพราะต้องจัดเก็บเป็นรายบุคคลผู้รับมรดกไม่กระทบคนจน ต้องยอมรับว่าปัจจุบันผู้รับโอนมรดกไม่ได้เสียภาษี ทั้งกรณีการโอนมรดกให้ก่อนเสียชีวิต และการโอนมรดกให้หลังจากเสียชีวิตแล้ว ซึ่งกฎหมายใหม่ที่จะออกใช้นี้ นอกจากกรณีการเสียภาษีมรดกที่โอนให้หลังเสียชีวิตแล้ว ที่ผ่านมายังไม่มีรัฐบาลใดกล้าดำเนินการจัดเก็บภาษีมรดก หากไม่เร่งดำเนินการในช่วงนี้ คงยากที่จะผลักดันอีกครั้ง โดยการเก็บภาษีมรดกตามนโยบายของ คสช. จะไม่กระทบกับคนยากจนและผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับมรดกตกทอด โดยเฉพาะชาวนาได้รับมรดกเป็นที่นาไม่กี่ไร่ ไม่ต้องเสียภาษีมรดกอย่างแน่นอน เพราะการออกกฎหมายเก็บภาษีมรดก ต้องไม่กระทบกับการกระจายรายได้ฐานราก เพื่อให้คนจนหรือรายได้น้อยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สำหรับประเภทมรดกที่เข้าข่ายต้องเสียภาษี เบื้องต้น ได้ตกลงเก็บจากทรัพย์สินที่ลงทะเบียนเอาไว้อย่างชัดเจน เพราะสามารถตีราคาสินทรัพย์ที่เป็นปัจจุบันได้ ทำให้สะดวกคำนวณราคา และคำนวณภาษี เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ เงินฝากในบัญชีของธนาคาร พันธบัตร ตราสาร และหุ้น เป็นต้น ส่วนทรัพย์สินที่ไม่มีการลงทะเบียน เช่น เครื่องประดับ พระเครื่องและโบราณวัตถุ เป็นต้น จะไม่นำมาคำนวณในการเก็บภาษีมรดก อย่างไรก็ตามกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ยังไม่นิ่ง…แม้ว่าในเบื้องต้นได้ประเมินกันว่า สามารถช่วยแบ่งเบาภาระการคลังได้ไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาทก็ตาม จึงต้องจับตาดูกันต่อไปว่ารัฐบาลชุดพิเศษนี้จะสามารถผ่าทางตันทำคลอดได้สำเร็จหรือไม่!. วุฒิชัย มั่งคั่ง
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ลุ้นแผนเก็บภาษีมรดก-ที่ดิน หวังปั๊มรายได้เข้าคลังแสนล้าน
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs