ที่วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 26 ก.พ. นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์นายก วสท. เปิดเผยถึงกรณีที่ปูนขนาดใหญ่ถล่มลงมาทับคนงานก่อสร้างอาคารสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ว่า หลังจากที่วสท.ได้นำผู้เชี่ยวชาญไปตรวจสอบโครงสร้างแล้ว พบว่าปล่องลิฟท์หรือสลิปฟอร์มนั้น หักหล่นกระแทก แผ่นทางเดินเชื่อมระหว่างอาคาร 1 และอาคาร 2เนื่องจากปล่องลิฟท์นั้น ก่อสร้างลักษณะที่สูงขึ้นไปจากพื้นถึง 26 เมตร เป็นลักษณะคล้ายไม้บรรทัด 2 อัน ยื่นขึ้นไปตามแนวสูงรวมทั้งค่อนข้างบาง และการใช้เหล็กค้ำยันที่อาจจะห่างจนเกินไปไม่มีลักษณะของการไขว้เพื่อความแน่นหนา ประกอบกับอยู่ในพื้นที่ริมทะเลซึ่งมีลมพัดแรงตลอดเวลา อาจมีผลกระทบทำให้ข้อต่อของเหล็กค้ำยันไม่มั่นคงจนหักกลางลงมาทันทีทั้งนี้ ในส่วนของวสท. มีข้อเสนอแนะเบื้องต้นให้แก่ผู้บริหารโครงการไปแล้วว่าต้องเร่งหาสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าว เพื่อเป็นองค์ความรู้ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นอีกในอนาคต และหากมีการก่อสร้างงานในลักษณะนี้อีกจะต้องทำให้รัดกุมกว่านี้ เช่น การใช้เหล็กค้ำยันในลักษณะไขว้กันเพื่อเพิ่มความแข็งแรง เป็นต้น พร้อมกันนี้จะนำกรณีนี้เป็นกรณีศึกษาเพื่อเร่งจัดทำมาตรฐานในการก่อสร้างอาคารสำหรับวงการต่อไป โดยจะให้ความสำคัญทั้งมาตรฐานด้านการออกแบบที่ดี การใช้วัสดุที่ดี การก่อสร้างที่ดีและการบำรุงรักษาที่ดี ซึ่งปัจจุบันยังมีเพียงมาตรฐานด้านการออกแบบที่ดีเท่านั้นด้านนายสิริวัฒน์ ไชยชนะเลขาธิการ วสท. กล่าวว่า จากการสำรวจโดยรอบ เบื้องต้นพบว่าการก่อสร้างแผ่นปูนทางเชื่อมระหว่างอาคารนั้นมั่นคงแข็งแรงแต่สาเหตุที่ทำให้ถล่มลงมานั้น เนื่องจากได้รับแรงกระแทกจากปล่องลิฟท์ หรือสลิปฟอร์ม ซึ่งสูงจากพื้น 25-30 เมตร หักลงมากระแทกใส่จนแผ่นปูนดังกล่าวถล่มทับคนงานที่นั่งพักอยู่ในชั้นล่างได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตรวมถึงคนงานที่ทำงานอยู่ด้านบนของสลิปฟอร์มดังกล่าวด้วยทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบแท่งปูน ที่ทำเป็นปล่องลิฟท์ พบว่ามีการหักโค่นช่วงกลางของแผ่นปูนซึ่งอาจเกิดความไม่สมดุลระหว่างการก่อสร้างหรืออาจมีสิ่งใดไปกระแทกด้านบนของปล่องลิฟท์ดังกล่าว จนทำให้หักโค่นลงมา โดยจะนำแท่นปูนดังกล่าวไปตรวจสอบแรงอัดของคอนกรีตในห้องปฏิบัติการด้วยว่าเป็นการเร่งก่อสร้าง โดยที่คอนกรีตยังไม่แข็งแรงเพียงพอหรือไม่รวมถึงตรวจสอบวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง เช่น ปูน เหล็กว่าใช้ของที่มีคุณภาพตามที่กำหนดหรือไม่ เป็นต้น คาดว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ จึงจะได้ข้อสรุปของตัวแปรต่าง ๆ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : วสท.แจงเหตุลิฟท์รพ.รามาฯ ถล่ม

Posts related