ที่วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 6 พ.ค. นาย สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกวสท.เปิดเผยว่า วสท.แนะนำให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคารสิ่งปลูกสร้าง บ้านเรือนต่าง ๆ ให้ทุกอาคารใน จ.เชียงรายและ จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่ควบคุมและเข้าไปตรวจสอบทุกแห่ง พร้อมทั้งปรับแก้ไข เพื่อให้ตัวอาคารรองรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวรุนแรงระดับ7 ริคเตอร์ได้จากนี้ไป ทุกอาคารใน 2 จังหวัดนั้น ควรต้องตรวจสอบโครงสร้างทั้งหมด และปรับแต่งใหม่เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้รองรับแผ่นดินไหวได้อีก แม้ว่าจะต้องมีต้นทุนการก่อสร้างเพิ่มขึ้นก็ตามเพราะเห็นได้ชัดเจนว่า ตั้งแต่เกิดเหตุการ์สึนามิ ที่จ.ภูเก็ต จนมาถึงปัจจุบันเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดบ่อยครั้งขึ้นเรื่อย ๆ และแผ่นดินไหวก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปแล้วทุกคนจะต้องรู้หลักในการรับมือ ทั้งอาคาร สิ่งปลูกสร้าง และการปฏิบัติตน ถึงเวลาที่หน่วยงานภาครัฐจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้มากขึ้น“เหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 6.3ริกเตอร์ ที่ อ.พาน จ.เชียงราย และยังเกิดอาฟเตอร์ช็อคตามมากว่า 100 ครั้งเมื่อวันที่ 5 พ.ค. ที่ผ่านมานั้น เกิดจากรอยเลื่อนพะเยาที่ยังมีพลังอยู่อีกทั้งมีจุดศูนย์กลางตื้นเพียง 7 กิโลเมตรลงไปจากพื้นที่ จึงทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงสูงและถือเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มีจุดศูนย์กลางในประเทศไทยขนาดสูงที่สุดเท่าที่เคยวัดได้ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่ออาคารสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่รัศมี 30 กิโลเมตรโดยในวันที่ 7 พ.ค.นี้ วสท.จะส่งตัวแทนลงพื้นที่ จ.เชียงราย เพื่อตรวจสอบ วิเคราะห์ โครงสร้างอาคารและให้คำแนะนำกับประชาชนในการรับมือกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวต่อไป”อย่างไรก็ตาม เบื้องต้น วสทได้ขอเตือนให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและประชาชนเฝ้าระวังสถานการณ์ต่ออีก 72 ชั่วโมง โดยให้ตรวจสอบเบื้องต้นด้วยตัวเองได้ว่าอาคาร สิ่งปลูกสร้างที่อยู่อาศัยนั้น ผิดรูปไปจากเดิมหรือไม่ มีรอยร้าวหรือไม่ โดยเฉพาะที่เสาและคาน หากมีรอยร้าว ให้แจ้งเจ้าหน้าที่รัฐ และไม่ควรกลับเข้าไปอยู่อาศัยอีกแต่ถ้าไม่มี ก็ไม่ต้องกังวล ที่สำคัญ ให้เฝ้าระวังอาคารสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่รัศมีไม่เกิน 50 กม. จากจุดศูนย์กลางฯ ซึ่งไม่ได้ก่อสร้างตามหลักทางวิศวกรรมฯ ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะพังทลายลงมาได้อีกหากเกิดอาฟเตอร์ช็อคขึ้นบ่อยครั้ง โดยเฉพาะพื้นที่จ.เชียงราย พะเยา และลำปางพร้อมทั้ง ตรวจสอบสิ่งปลูกสร้างบริเวณไหล่เขาที่อาจเกิดดินถล่ม หลังแผ่นดินไหวได้ หากในพื้นที่นั้นมีรอยแตก รอยร้าวอยู่เมื่อเจอฝนตก ในช่วง 5-7 พ.ค.นี้ที่กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า จะมีฝนตก แม้ว่าจะไม่มากแต่อาจมีนัยสำคัญต่อรอยแยกเหล่านั้นได้ รวมถึงปรากฏการณ์ทรายเหลวซึ่งทำให้หน้าดินสไลด์ ถนนพัง แต่ทั้งนี้ต้องดูในเชิงลึกอีกครั้งว่าสาเหตุที่ถนนพังนั้น เป็นเพราะดินสไลด์ รับน้ำหนักถนนไม่ได้ เมื่อดินถูกเขย่ารุนแรงหรือว่า การก่อสร้างไม่ดีพอ จึงทำให้ถนนทรุดขณะเดียวกันให้เฝ้าระวังเขื่อนและอ่างเก็บน้ำในรัศมี 200 กม. ด้วย ที่อาจมีรอยแตก รอยแยก ต้องให้หน่วยงานที่ดูแลเขื่อนต่าง ๆ ทุกแห่งทุกขนาด กว่า 5,000 แห่ง ทั้งที่อยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตรวจสอบทุก 6ชั่วโมงว่ามีน้ำรั่วซึมหรือไม่ จนกว่าจะครบ 72ชั่วโมง จึงจะถือว่าปลอดภัย แต่หากพบรอยแตกร้าว ให้เร่งระบายน้ำออกและซ่อมแซมโดยเร็ว ส่วนเขื่อนขนาดใหญ่ในระยะ 200 กม.ที่น่าห่วงมีเพียงแห่งเดียวคือ เขื่อนแม่จาง ระยะ 155 กม.ส่วนเขื่อนภูมิพลนั้นอยู่ห่างออกไป 280 กม.และเขื่อนสิริกิติ์ 230 กม. จึงไม่น่ากังวล ส่วนอาคารต่าง ๆ ภายในกรุงเทพมหานคร ที่สูงเกินกว่า 10 ชั้น และสร้างหลังปี50 นั้น ไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับผลกระทบทางโครงสร้างใด ๆจากแผ่นดินไหวของรอยเลื่อนพะเยา เพราะส่วนใหญ่ต้องออกแบบและก่อสร้างตามกฎหมายที่มีระบบป้องกันแผ่นดินไหวไว้แล้วหรือกฎกระทรวงของกรมโยธาธิการและผังเมือง ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานประกอบการออกแบบอาคารรับแรงแผ่นดินไหวและรายละเอียดโครงสร้างที่ มยผ. 1301 -52 ที่เทียบเคียงได้กับมาตรฐานนานาชาติ อีกทั้งโครงสร้างอาคารเป็นเหล็กกล้าสามารถรับแรงสั่นสะเทือนได้ถึง 7 ริกเตอร์แต่ทั้งนี้ ยอมรับว่าเป็นห่วงอาคารเก่าอาคารที่สูงไม่เกิน 10 ชั้น และที่ก่อสร้างก่อนปี50 ซึ่งโครงสร้างยังเป็นคอนกรีต ต้องเข้าไปตรวจสอบว่าโครงสร้างเสียหายหรือไม่หากจะกังวลถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวอาคารในกทม. ให้จับตาการเกิดแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนกาญจนบุรีจ.กาญจนบุรีเป็นหลัก ที่จะส่งผลกระทบถึงอาคารในกทม.ทั้งหมดส่วนโครงสร้างของรถไฟฟ้าทั้งบีทีเอสและเอ็มอาร์ทีนั้น ถือว่าแข็งแรงมาก ถูกสร้างมาเพื่อรองรับแผ่นดินไหวแล้ว ปลอดภัยแน่นอนแม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนกาญจนบุรีที่จะเป็นอันตรายต่ออาคารสิ่งปลูกสร้างในกทม.ก็ตามทั้งนี้ วสท.และกรมโยธาธิการจะเร่งหามาตรการร่วมกันในการเสริมความแข็งแรงของตัวอาคาร เบื้องต้นแนะนำให้ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเร่งปรับปรุงหรือปรับแต่งอาคารเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้รองรับแผ่นดินไหวได้ ด้วยการเสริมเหล็กไขว้หรือกำแพงผนังเฉียงอีกชั้นหนึ่ง โดยเฉพาะอาคารสาธารณะต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล วัดสถานบริการต่าง ๆ เป็นอันดับแรกก่อนรวมทั้งจะทำแนวทางปฏิบัติตัวเบื้องต้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวให้แก่ประชาชนในพื้นที่ด้วยเนื่องจากแผ่นดินไหวเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถพยากรณ์ได้ ว่าจะเกิดขึ้นตอนไหนและเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ประชาชนไม่ทราบว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เช่นต้องไปกลับเข้าไปในอาคารที่มีรอยร้าว เป็นต้น

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : วสท.แนะรัฐคุมทุกอาคารในจ.เชียงราย-เชียงใหม่

Posts related