นางสาวนพพร ลิ้นทอง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ทำการศึกษา วิจัยและพัฒนาการประกอบธุรกิจร้านค้าถูกใจว่าจะพัฒนาอย่างไร เพื่อให้การทำธุรกิจยั่งยืนและอยู่รอดได้หลังเปิดตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 58โดยจะคัดเลือกร้านถูกใจ 50 ร้านค้า จากจำนวน 6,000 ร้านค้า เป็นต้นแบบการพัฒนา(โมเดล) เพื่อให้เป็นร้านค้าที่ยั่งยืน ซึ่งจะเริ่มโครงการพัฒนาตั้งแต่เดือนม.ค. 57 และภายในเดือนส.ค. 57 จะสามารถผลักดันให้ร้านถูกใจทั้ง 6,000 ร้าน ได้รับการพัฒนาจนแข่งขันได้ “การดูแลร้านถูกใจ จะไม่มีงบสนับสนุน แต่จะอบรมพัฒนาให้ความรู้ว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้ร้านค้าทั่วไปเลี้ยงตัวเองและอยู่รอด เพื่อรองรับการแข่งขันค้าปลีกที่จะรุนแรงขึ้นหลังเปิดเออีซี ซึ่งจะใช้งบประมาณที่เหลือประมาณ 100 ล้านบาทในการพัฒนาร้านถูกใจที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ ส่วนการเพิ่มปริมาณร้านถูกใจนั้น คงไม่ใช่เป้าหมายหลักแล้ว” แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ส่วนความคืบหน้าจัดทำข้าวถุงรวมใจนั้น ขณะนี้องค์การคลังสินค้า (อคส.) อยู่ระหว่างคัดเลือกผู้ปรับปรุงและบรรจุหีบห่อ และตรวจสอบคุณสมบัติผู้กระจายข้าวถุงรวมใจ ซึ่งอาจไม่ทันกำหนดเดิมที่จะกระจายข้าวถุงรวมใจออกสู่ท้องตลาดในวันที่ 28 ต.ค.นี้ ส่วนกรณีที่กระทรวงการคลังมีแนวคิดจัด ทำร้านค้าอาหารจานด่วนราคา 15 บาท กระทรวงพาณิชย์ได้มีการจัดส่งรายชื่อร้านอาหารในเครือข่ายธงฟ้าเพื่อให้เจ้า ของโครงการได้ต่อยอดว่าจะเจรจาอย่างไรให้ร้านค้าเหล่านั้นเพิ่มเมนูราคา ประหยัด หรือลดราคาลงจากที่ขายอยู่ 30-35 บาท แต่ยอมรับว่าอาจทำได้ยากในบางพื้นที่ เพราะมีต้นทุนสถานที่สูง

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ศึกษายกเครื่องร้านถูกใจให้อยู่รอดและยั่งยืน

Posts related