รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ 4 ปี 56 ว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4 ขยายตัวเพียง 0.6% ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ขยายตัวสูงถึง 19.1% หลังจากอุปสงค์ภายในประเทศชะลอตัวลงทุกสาขา โดยเฉพาะการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่ลดลง 4.5% เนื่องจากประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมืองมากขึ้น เช่นเดียวกับการลงทุนรวมลดลงถึง 11.3% ทั้ง การลงทุนภาครัฐ และเอกชน ขณะที่การส่งออกก็ลดลง 1% ทำให้ทั้งปีเศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียง 2.9% ต่ำกว่าประมาณการเดิมที่ตั้งไว้ 3% ส่วนแนวโน้มปี 57 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวประมาณ 3-4% ลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 4-5%สำหรับเศรษฐกิจไทยทั้งปี 56 ที่ขยายตัว 2.9% ถือว่า ชะลอตัวค่อนข้างมากจากปีก่อนที่ขยายตัว 6.5% เนื่องจากมีฐานที่สูงกว่าปกติ เป็นผลจากมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรก ส่งผลให้ยอดจำหน่ายรถยนต์สูงถึง 211,474 คันในไตรมาส 4 ปีก่อน ส่วนช่วงปลายปีความเชื่อมั่นของประชาชนลดลงการใช้จ่ายครัวเรือนขยายตัวเพียง 0.2% การลงทุนภาคเอกชนหดตัว 2.8% และการใช้จ่ายรัฐบาลและการลงทุนภาครัฐก็ชะลอตัวลง ขณะที่การส่งออกยังชะลอตัว โดยทั้งปีมีมูลค่าการส่งออกสินค้าอยู่ที่ 225,397 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 0.2% ส่งผลให้การผลิตทุกสาขาชะลอลง แม้ว่าภาคการท่องเที่ยว จะมีประมาณนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมกว่า 26.7 ล้านคน เพิ่มขึ้น 19.6% ก็ตามส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 57 คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นกว่าปี 56 โดยมีปัจจัยสนับสนุน ทั้งการขยายตัวจากภาคการส่งออก มีโอกาสขยายตัวได้ถึง 5 – 7% ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะขยายตัว 3.6% รวมทั้งภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มขึ้นเพียง 3% ขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาของภาครัฐยังมีโครงการที่ได้ผูกพันไว้แล้ว รวมทั้งการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัว โดยเฉพาะโครงการลงทุนที่ขอรับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนไว้แล้ว สมารถเข้าสู่ขั้นตอนการอนุมัติในช่วงครึ่งหลังของปีได้ โดยคาดว่าการปรับปรุงนโยบายการส่งเสริมการลงทุนจะมีความชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี“เศรษฐกิจโดยรวมในปี 57 คาดว่า ข้อจำกัดของอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังอ่อนตัวจะทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจต่ำ กว่า 4–5% ที่เคยประมาณการไว้เดิม เนื่องจากความล่าช้าของการดำเนินการตามแผนการลงทุนของภาครัฐ และการบริโภคภายในประเทศที่ยังคงอ่อนตัวต่อเนื่อง ส่วนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คาดว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มที่จะอยู่ในช่วง 1.9 – 2.9% ประกอบกับราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นไม่มาก การว่างงานยังไม่เกิน 1% ดุลบัญชีเดินสะพัด คาดว่าจะขดดุล 0.2% ต่อจีดีพี ลดลงจากปี 56 ที่ขาดดุล 0.6% ต่อจีดีพี”ทั้งนี้ ในแนวทางการบริหารเศรษฐกิจในปี 57 นั้น รัฐบาลควรเร่งรัดการส่งออกให้ขยายตัวได้เต็มศักยภาพเพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มรายได้จากตลาดหลัก และตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ สนับสนุนการปรับตัวของภาคการผลิต รวมทั้งการส่งเสริมการค้าชายแดนและการค้าในภูมิภาค โดยอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการขนส่งผ่านชายแดน รวมทั้งส่งเสริมผู้ประกอบการไปเจาะตลาดประเทศเพื่อนบ้าน
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สคช.ชี้จีดีพีปี 56 ร่วงเหลือ 2.9%
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs