นายพิฆเนศ ต๊ะปวง ผู้อำนวยการสำนักแผนและการพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่มีพล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิง หัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน วันที่ 1 ก.ค.นี้ ฝ่ายบริหารสคบ.จะเสนอให้จัดตั้งศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ เพื่อรับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคแบบเบ็ดเสร็จ โดยรวมงานของด้านการคุ้มครองของทุกกระทรวงเข้ามาดูแลผู้บริโภคอย่างเร่งด่วน ขณะเดียวกันยังเสนอตั้งกองทุนเยียวยาผู้บริโภคมาช่วยเหลือดูแลค่าใช้จ่ายให้ผู้บริโภคในกรณีที่ฟ้องร้องค่าเสียหาย แต่การพิจารณาคดียังไม่สิ้นสุดด้วย “กองทุนเยียวยาผู้บริโภคที่จะตั้งขึ้นนี้อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ โดยกองทุนนี้จะเสนอของบก้อนแรกมาใช้ตั้งต้นก่อน 20 ล้านบาท จากงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งหน้าที่ของกองทุนจะช่วยดูแลผู้บริโภคในระหว่างที่รอการพิจารณาคดี เช่น ได้รับความเสียหายจากห้องพัก หรือภัยพิบัติ และผู้บริโภคได้เรียกค่าเสียหายจากผู้ประกอบการ แต่ยังไม่ได้รับเงิน ในระหว่างนี้ก็ได้รับเงินเยียวยาจากกองทุนไปก่อน เพื่อเป็นการดูแลความเป็นอยู่ในเบื้องต้น หรือกรณีต้องหาที่อยู่ใหม่ กองทุนนี้จะช่วยเหลือจัดหาที่อยู่อาศัยชั่วคราวให้” สำหรับศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาตินั้น สคบ.จะเสนอให้หัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ เป็นประธาน และมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ โดยหากผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมแล้ว จะเร่งเสนอให้คสช.พิจารณาเห็นชอบ เพื่อให้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายทันที เบื้องต้นขั้นตอนทั้งหมดอาจจะทำได้เสร็จสิ้นอย่างรวดเร็วภายในเดือนก.ค.นี้ จากนั้นเมื่อมีศูนย์เกิดขึ้น เชื่อว่า จะช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการ ทั้งนี้ยังเสนอให้ที่ประชุมเห็นชอบแผนแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งเดิมยังค้างอยู่ในขั้นตอนการขอพิจารณาเห็นชอบจากครม. โดยแผนดังกล่าวจะประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ ยุทธศาสตร์แรกเป็นการพัฒนากลไกนโยบาย มาตรการและกฎหมายที่เป็นเครื่องมือในการคุ้มครองผู้บริโภคยุทธศาสตร์ 2 เป็นการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภค ยุทธศาสตร์3การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการสื่อสารสาธารณะ ยุทธศาสตร์ 4 การสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และยุทธศาสตร์ 5 การส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม ในแผนแม่บทดังกล่าวจะมีงานสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้บริโภคอย่างทั่วถึงโดยนอกจากการจัดตั้งศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ และกองทุนเยียวยาแล้ว ยังมีศูนย์ปฏิบัติการละเมิดสิทธิผู้บริโภคทุกรูปแบบสร้างระบบเตือนภัยให้รู้เท่าทันการถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบการ มีคณะกรรมการตรวจสอบติดตามและเฝ้าระวังธุรกิจที่เอาเปรียบผู้บริโภค
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สคบ.ชงตั้งศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs