นายไพโรจน์ คนึงทรัพย์ ผู้อำนวยการกองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้รับมอบนโยบายจากนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เตรียมแผนดูแลผู้บริโภคในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยเฉพาะด้านการเดินทาง เบื้องต้นในสัปดาห์หน้าจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงคมนาคม และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางการดูแล จากนั้นจึงลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณสถานีขนส่ง และอาจพิจารณาตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนบริเวณสถานีขนส่งที่สำคัญ เพื่อให้ผู้บริโภคแจ้งข้อร้องเรียนต่างๆ ด้วย “แม้ว่าเรื่องการดูแลด้านการเดินทางจะอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม แต่สคบ.จะขอเข้าไปดูแลด้วย โดยพร้อมรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค หากได้รับการเอาเปรียบจากผู้ประกอบการ เช่น การจองบัตรโดยสาร การจ่ายเงินที่ไม่ถูกต้อง หรือโดยสารรถไปแล้วไม่ถึงที่หมาย ถูกทอ้งกลางทาง รวมไปถึงร้านขายสินค้าในบริเวณสถานีขนส่ง หากผู้บริโภคถูกเอาเปรียบก็สามารถร้องเรียนได้ทันที โดยสคบ.จะรีบขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่ตำรวจจากปคบ. จับกุมผู้ที่เอาเปรียบในทันที” รายงานข่าวจากสคบ. กล่าวว่า ก่อนหน้านี้สคบ.ได้กำหนดแนวทางดูแลผู้บริโภคในช่วงเทศกาลสำคัญอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเฉพาะการจัดตั้งศูนย์ร้องเรียนการกระทำความผิดจากการให้บริการรถสาธารณะ ซึ่งปีที่ผ่านมาสคบ.ได้ไปตั้งศูนย์บริเวณสถานีขนส่ง 3 แห่ง คือสถานีขนส่งหมอชิต สายใต้ใหม่ และเอกมัย เพื่อรับเรื่องร้องเรียนผู้ที่ถูกเอาเปรียบทุกประเภท ขณะเดียวกันยังรับแจ้งเบาะแสการกระทำความผิด โดยผู้บริโภคสามารถแจ้งข้อร้องเรียนมายังศูนย์ดังกล่าวได้ หรือโทรศัพท์ผ่านสายด่วน สคบ.หมายเลข 1166 อย่างไรก็ตามในขั้นตอนการตรวจสอบ สคบ.ยังประสานเครือข่ายสคบ.ที่มีอยู่ทั่วประเทศ รวมถึงผู้บริโภค ช่วยติดตามและตรวจสอบการให้บริการของผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวด้วย เพราะที่ผ่านมาก็ได้รับการร้องเรียนว่า มีผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่ประกอบธุรกิจให้บริการรถตู้ และรถโดยสารนำเที่ยว รวมทั้งบริษัททัวร์ ไม่ได้แสดงราคาค่าบริการให้ผู้บริโภคได้รับทราบ โดยเฉพาะรถโดยสาร และมีบางรายคิดราคาค่าบริการสูงเกินความจริง ซึ่งถือว่าเป็นการเอาเปรียบอย่างชัดเจน และเบื้องต้นอาจต้องลงพื้นที่ตรวจสอบการให้บริการ เพื่อสร้างความมั่นใจเกี่ยวกับความปลอดภัยให้ผู้บริโภคด้วย นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการจำหน่ายสินค้า และบริการของผู้ประกอบการในช่วงเทศกาลปีใหม่ ที่อาจมีผู้ประกอบการบางรายฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาโดยไม่จำเป็น เช่น โรงแรมและที่พักในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ โดยก่อนหน้านี้ก็ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ว่า ราคาค่าที่พัก ในช่วงเทศกาลสำคัญมักมีราคาสูงจนผิดปรกติ จึงได้สั่งให้เจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบ และสั่งให้ผู้ประกอบการชี้แจงเหตุผลแล้ว แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป ขณะที่ผู้ประกอบการร้านอาหารก็จำเป็นต้องตรวจสอบ ว่าได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างถูกต้อง คือ มีใบอนุญาตถูกต้อง แสดงราคาในรายการอาหารทุกรายการ การประกอบอาหารมีความสะอาดปลอดภัยด้วยหรือไม่
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สคบ.เล็งฟันผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภค
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs