นายอำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สคบ.ได้ประสานกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อขอข้อมูลบริษัทนำเที่ยวทั้งหมด ที่จดทะเบียนกับกรมฯ โดย เฉพาะบริษัทที่ขอจดทะเบียนใหม่ เพราะเกรงว่า บางบริษัทอาจเป็นบริษัทเก่าที่ขอยุบไป เพื่อหนีปัญหาถูกร้องเรียนจากผู้บริโภค เช่น หลอกลวงนักท่องเที่ยวให้เข้ามาทำสัญญา แล้วไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ ซึ่งส่งผลเสียหายต่อภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของไทยมาก และที่ผ่านมาสคบ.ได้รับการร้องเรียนถึงปัญหาดังกล่าวจำนวนมากทั้งนี้การขอข้อมูลดังกล่าว จะต้องพิจารณาข้อมูลของบริษัทนำเที่ยว ตั้งแต่โครงสร้างผู้บริหาร ข้อมูลบริษัท ประวัติการดำเนินธุรกิจ และข้อมูลการให้บริการนำเที่ยว เพื่อนำมาตรวจสอบ และอาจขึ้นทะเบียนเป็นบริษัทนำเที่ยว ที่ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค หากพบว่า ไม่มีข้อมูลที่เคยเอาเปรียบผู้บริโภคมาก่อน ซึ่งไม่ใช่การเข้าไปก้าวก่ายการทำงานของเอกชน แต่สคบ.จะขอตรวจสอบ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคว่า เมื่อเข้าไปใช้บริการบริษัทเหล่านี้แล้ว จะไม่เกิดปัญหาตามมาอย่างแน่นอน“ที่ผ่านมาพบปัญหาร้องเรียนมาที่สคบ. เป็นจำนวนมาก ถึงการให้บริการของบริษัททัวร์ ซึ่งถ้าปล่อยไว้ คงไม่มีผลดี เพราะไทยพึงพาการท่องเที่ยวเป็นหัวใจหลัก ในการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นภาพการเอาเปรียบต่าง ๆ จะต้องไม่มีเกิดขึ้น ยิ่งตอนนี้กำลังใกล้เข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว (ไฮซีซั่น) แล้ว ยิ่งมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาจำนวนมาก และก็มีปัญหา บริษัททัวร์เบี้ยวนักท่องเที่ยว ทิ้งนักท่องเที่ยว ดังนั้นเพื่อจะควบคุมให้เบ็ดเสร็จก็อาจจะขอเข้าไปช่วยจัดระเบียบบริษัททัวร์ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย”ในส่วนของการหาแนวทางแก้ไขเยียวยาผู้บริโภค กรณีได้รับผลกระทบจากการให้บริการที่ไม่เป็นธรรม จากสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์ แอร์ไลน์) ที่มีเส้นทางบินภายในประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาสคบ. ได้เชิญผู้บริหารสายการบินเข้ามาหารือแล้ว โดยได้ให้ผู้ประกอบการสายการบินทุกราย กลับไปจัดทำรายละเอียดต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมด ก่อนมาเสนอให้สคบ.เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของการกำหนดราคาค่าโดยสาร และค่าธรรมเนียมที่ผู้ประกอบการเรียกเก็บจากผู้บริโภค ว่าเหมาะสม หรือราคาสูงเกินจริง หรือไม่ ล่าสุดมีผู้ประกอบการเพียงสายการบินเดียว ที่ให้ความร่วมมือส่งข้อมูลมาให้สคบ.แล้ว ส่วนสายการบินอื่น สคบ.จะรอการชี้แจงรายละเอียดมาภายในเดือนก.ย.นี้ จากนั้นจึงมาหาแนวทางการควบคุมอีกครั้งเบื้องต้นอาจขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการปรับลดราคาค่าธรรมเนียมต่าง ๆ โดยเฉพาะการคิดค่าเปลี่ยนชื่อผู้โดยสาร หรือค่าเปลี่ยนเที่ยวบิน ที่เรียกเก็บเงินตั้งแต่500-800บาท ซึ่งถือว่า มีราคาสูงเกินไป ขณะเดียวกันยังให้ผู้ประกอบการได้แสดงรายการราคาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตั้งแต่ราคาจองที่นั่งในแต่ละที่มีสูง-ต่ำแตกต่างกันอย่างไร ราคาค่าโดยสารในช่วงเวลาใดถูกสุด และราคาในแต่ละช่วงฤดูกาลมีราคาอย่างไร ซึ่งรายละเอียดทั้งหมด ผู้ประกอบการต้องนำมาเปิดเผยให้ผู้บริโภครับทราบ เพื่อเป็นข้อมูลก่อนตัดสินใจเลือกใช้บริการ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สคบ.ไล่เช็คบิลบริษัททัวร์ตุ๋นนักท่องเที่ยว
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs