สวทช. จับมือม.มหิดล นำนวัตกรรมจุลินทรีย์กำจัดลูกน้ำยุงรำคาญ ถ่ายทอดสู่ภาคเอกชนเพื่อผลิตในระดับอุตสาหกรรมดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า สวทช. ได้สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลิตและทดสอบเชื้อจุลินทรีย์บีเอส ( Bs :Bacillus sphaericus ) สูตรน้ำ สำหรับกำจัดลูกน้ำยุงรำคาญ ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการ และภาคสนามในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมและพื้นที่ที่เป็นชุมชนแออัดมาตั้งแต่ปี  2554   ทั้งนี้จากการทดสอบใช้งานกว่า 2 ปี พบว่าจุลินทรีย์ดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการกำจัดลูกน้ำ โดยภายในพื้นที่น้ำขังไม่เกิน 10 ตารางเมตร เมื่อผสมจุลินทรีย์บีเอส ร่วมกับ จุลินทรีย์บีทีไอ (Bti:  Bacillus thuringiensis isaraelesis) ที่มีฤทธิ์กำจัดลูกน้ำยุงลาย ในอัตราส่วนที่เท่ากันปริมาณ 1 ลิตร จะช่วยกำจัดลูกน้ำยุงได้ทั้งหมดภายใน 2 วัน และมีประสิทธิภาพในการควบคุมจำนวนลูกน้ำอยู่ได้มากกว่า  2 สัปดาห์สำหรับเชื้อจุลินทรีย์บีเอส สามารถกำจัดลูกน้ำได้โดยเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่สร้างสารพิษไปทำลายกระเพาะของลูกน้ำยุงรำคาญและยุงก้นปล่อง  แต่จะไม่เป็นอันตรายต่อคน สัตว์และสิ่งแวดล้อม โดยองค์การอนามัยโลกให้การรับรองความปลอดภัยว่าสามารถใช้ได้จริง  ล่าสุด สวทช.และม.มหิดล เห็นชอบร่วมกันที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวให้ บริษัท ทีเอฟไอกรีน ไบโอเทค ที่มีเทคโนโลยีการผลิตเชื้อจุลินทรีย์บีทีไออยู่เดิม โดยได้รับการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับควบคุมลูกน้ำยุงรำคาญ  ภายในระยะเวลา 5 ปี โดย สวทช. และ ม.มหิดล จะสนับสนุนข้อมูลทางด้านเทคนิคและความช่วยเหลือในด้านวิชาการที่เกี่ยวข้อง สำหรับการขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป .

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สวทช.-ม.มหิดล หนุนภาคเอกชน ผลิตจุลินทรีย์กำจัดลูกน้ำยุงรำคาญ

Posts related