นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค. เชื่อว่าเดือนเม.ย.จะเป็นเดือนสุดท้ายที่ได้เห็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย ปี 57 เนื่องจากตั้งแต่ปลายเดือนพ.ค.เป็นต้นไปจะเริ่มเห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจดีขึ้น เพราะมีรัฐบาลได้เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ รวมทั้ง ขณะนี้ เริ่มมีนโยบายเศรษฐกิจที่นำมาใช้ขับเคลื่อนประเทศ ที่แต่ละกระทรวงกำลังรวบรวม เพื่อเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) วันที่ 1 มิ.ย.นี้ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจไทยจะเริ่มกลับมา ทำให้ไตรมาส 2 และไตรมาส 3 เติบโตได้มากกว่า 1% ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยมีโอกาสเติบโตได้ถึง 3% “สศค.ประเมินว่าจีดีพีหลังจากนี้จะฟื้นตัวดีขึ้น เนื่องจากการทำงานของรัฐวิสาหกิจที่เต็มศักยภาพ ภาคเอกชนเริ่มกลับมาลงทุนได้ รวมทั้ง รัฐบาลที่มีอำนาจเต็มมาทำหน้าที่อนุมัติโครงการลงทุนต่างๆ ทั้งภาครัฐ 7,000 ล้านบาท และการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ของภาคเอกชนที่ค้างอยู่กว่า 700,000 ล้านบาท ขณะที่ ปัจจุบันได้กระตุ้นการบริโภคซึ่งมาจากการเร่งจ่ายเงินให้กับชาวนาในโครงการรับจำนำข้าว วงเงิน 92,000 ล้านบาท ถือเป็นการช่วยให้การบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้นและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งเชื่อว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยเริ่มเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์แล้ว” อย่างไรก็ตาม วันที่ 30 พ.ค.นี้ จะประชุมเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 58 ร่วมกันของ 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง, สำนักงบประมาณ, ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) เพื่อพิจารณาถึงงบประมาณรายได้ และงบประมาณรายจ่าย เพื่อให้ทันใช้ในวันที่ 1 ต.ค.นี้ รวมทั้งโครงการลงทุนสำคัญที่จะต้องเร่งดำเนินการก่อน ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟรางคู่, โครงการรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ-ปริมณฑล, โครงการบริหารจัดการน้ำ 350,000 ล้านบาท เฉพาะในส่วนที่มีผลต่อเกษตรกรก่อน ขณะเดียวกัน ในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ จะประชุมสรุปการจัดทำโรดแมปของแต่ละกระทรวง ก่อนนำเสนอต่อให้ คสช.ในสัปดาห์หน้าซึ่งหาก คสช.เห็นด้วยก็จะประกาศออกมาเป็นทิศทางนโยบายเศรษฐกิจ ซึ่งเชื่อว่าจากนี้ไปความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจจะกลับมาแน่นอน โดยสิ่งที่กระทรวงการคลังจะเสนอต่อ คสช.คงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จำเป็นต้องดำเนินการ เช่น การขยายเวลาคงภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต), ภาษีเงินได้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดา, มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรวมทั้งการให้รัฐวิสาหกิจขับเคลื่อนการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างเต็มที่ สำหรับภาวะเศรษฐกิจการคลัง เดือนเม.ย.ยังคงหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ หดตัวที่ร้อยละ -1.2% การลงทุนภาคเอกชนส่งสัญญาณหดตัว สะท้อนจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่ -7.7 ต่อปี การส่งออกสินค้า หดตัวที่ -0.9% ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัว -3.9 นักท่องเที่ยวต่างประเทศ หดตัว -1.7% ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ที่มั่นคง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 2.5% ต่อปี อัตราการว่างงานอยู่ที่ 0.9% ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงที่ 168.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 2.8 เท่า
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สศค.คาดเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs