นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภาวะสังคมไทยไตรมาสที่ 4 ทั้งปี 56 และแนวโน้มปี 57 ว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 56 ครัวเรือนมีหนี้สินมากถึง 159,492 บาทต่อครัวเรือน หรือเพิ่มขึ้น 8.7% แบ่งเป็น หนี้เพื่อใช้ซื้อหรือเช่าชื้อบ้านและที่ดินเพิ่มขึ้น 17% ต่อปี หนี้เพื่ออุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น 7.8% ต่อปี ซึ่งรวมการซื้อรถยนต์คันแรก และการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคชดเชยความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วม และหนี้เพื่อใช้ในการเกษตรเพิ่มขึ้น 3.4%ต่อปี โดยส่วนหนึ่งมาจากแรงจูงใจของโครงการรับจำนำข้าวทำให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นขณะที่ ครึ่งปีหลัง แม้ว่าการใช้จ่าย และหนี้สินครัวเรือ นเริ่มชะลอลง แต่ยังมีการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้น โดย ณ ไตรมาสที่ 4 ยอดคงค้างของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล เพิ่มขึ้น 26.6% สินเชื่อภายใต้กำกับผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือน เพิ่มสูงถึง 45.8% คิดเป็นมูลค่า 10,920 ล้านบาท ขณะที่ยอดค้างชำระบัตรเครดิต 3 เดือน เพิ่มขึ้น 31.3% ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวยังเป็นสัดส่วนน้อยในภาพรวมของสินเชื่อ แต่เป็นเครื่องชี้ว่าความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนเริ่มลดลง ส่วนแนวโน้มในปี 57 ต้องติดตามการก่อหนี้เพิ่มเติมและความสามารถชำระหนี้เดิม ซึ่งขึ้นอยู่กับแนวโน้มเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของเงินเดือนและค่าจ้างของแรงงานส่วนทั้งปี 56 การจ้างงานลดลง 0.05% จากปีก่อน โดยภาคเกษตรจ้างงานลดลง 0.12% และภาคนอกเกษตรจ้างงานลดลง 0.01% โดยในช่วงครึ่งแรกของปีมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการของรัฐบาลที่ต่อเนื่อง เช่น รถยนต์คันแรก โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ส่งผลให้การจ้างงานเพิ่มขึ้น แต่ช่วงครึ่งหลังของปีการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองส่งผลให้การจ้างงานลดลง ผู้ว่างงานเฉลี่ย 284,011 คน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 0.72% เพิ่มขึ้นจากอัตรา 0.66% ในปีก่อนนอกจากนี้ แนวโน้มการจ้างงานในปี 57 ตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ 3-4% แม้ว่าจะต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ 4-5% แต่ก็แสดงถึงแนวโน้มการจ้างงานที่อาจเพิ่มขึ้น ขณะที่ปัจจัยบวกที่คาดว่าอาจจะมีผลต่อภาวการณ์มีงานทำ และรายได้ของประชาชน คือการส่งออกสินค้าที่คาดว่าจะขยายตัวได้ดีกว่าปีก่อน ส่วนปัจจัยที่จะส่งผลลบต่อการจ้างงาน คือ ความล่าช้าของการดำเนินโครงการลงทุนภาครัฐ ความเชื่อมั่นของธุรกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง รวมทั้งปัญหาภัยแล้งด้วย
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สศช.เผยชาวบ้านหนี้พุ่งเกือบ 1.6 แสนบาท
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs