ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่ใช่มีเพียงรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นที่มอบให้กับทีมวิจัยรุ่นใหญ่ แต่ยังมีรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ที่มีผลงานที่น่าสนใจและมีศักยภาพในการพัฒนาต่อไปอีกในอนาคตซึ่งปีนี้ มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ประกาศมอบรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ให้กับสองนักวิจัยจากสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)โดย “ดร.ปราการเกียรติ ยังคง” อาจารย์ประจำสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เป็นนักวิจัยที่ประสบความสำเร็จในการนำสหศาสตร์หุ่นยนต์ร่วมกับเทคนิคทางการแพทย์ พัฒนา “SensibleTAB” หุ่นยนต์ช่วยฟื้นฟูการเคลื่อนไหวแขนของผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว เนื่องมาจากความผิดปกติของระบบประสาทดร.ปราการเกียรติ บอกว่า หุ่นยนต์ดังกล่าวเกิดจากโจทย์ความต้องการใช้งานจริงของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ ที่เล็งเห็นความจำเป็นของการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้ามาใช้งานด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู โดยเฉพาะการฟื้นฟูทางสมอง แต่เนื่องจากหุ่นยนต์ดังกล่าวมีราคาแพงและมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการในการฟื้นฟูในระดับสูงที่มีความจำเพาะเจาะจง เช่น การรับรู้ตำแหน่งของข้อต่อต่าง ๆทีมวิจัยจึงร่วมกับทีมแพทย์ ผลิตนวัตกรรมหุ่นยนต์ที่ช่วยการฝึกการเคลื่อนไหวแขนด้วยวิธีการฟื้นฟูแบบใหม่ตามหลักวิชาประสาทสรีระวิทยาสมัยใหม่ขึ้น เน้นการออกแบบที่ไม่ซับซ้อน ใช้งานง่าย และประยุกต์นำความรู้และเทคโนโลยีที่ทีมวิจัยพัฒนาอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดสามารถช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูการรับรู้และสั่งการแขน ลดการพิการทางสมองและลดการนำเข้าหุ่นยนต์ฟื้นฟูประเภทเดียวกันจากต่างประเทศที่มีราคาแพงจาก 10 ล้านบาทเหลือเพียง 4 ล้านบาท ปัจจุบันหุ่นยนต์นี้ถูกนำไปใช้จริงกับผู้ป่วยมากกว่า 1,000 ครั้ง ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีและโรงพยาบาลสำโรงการแพทย์สำหรับ “ดร.บรรพท ศิริเดชาดิลก” นักวิจัยหน่วยเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) นักวิจัยที่ประสบความสำเร็จนำเทคนิค Gibson Assembly ตัดต่อพันธุกรรมไวรัสเด็งกี่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนายา-วัคซีนที่ควบคุมการระบาดโรคไข้เลือดออก พบสามารถสร้างไวรัสจากดีเอ็นเอได้กว่า 10 ชิ้นในครั้งเดียว ช่วยย่นระยะเวลาและขั้นตอนที่ซับซ้อน รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายในงานวิจัยดร.บรรพท บอกว่า เทคโนโลยีการดัดแปลงพันธุกรรม มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาชีววิทยาของไวรัสรวมทั้งการพัฒนาวัคซีนและยาต้านไวรัส โดยการใช้เทคนิคการดัดแปลงพันธุกรรมในการเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมของไวรัสอย่างจำเพาะเจาะจง จะเป็นการศึกษาว่ายีนของไวรัสที่ถูกเปลี่ยนไปมีบทบาทอย่างไรต่อวงจรชีวิตของไวรัสในแง่ต่าง ๆ ทั้งนี้งานวิจัยที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบันเป็นการศึกษาการตัดต่อพันธุกรรมของไวรัสเด็งกี่ ซึ่งเป็นเชื้อต้นเหตุที่ก่อให้เกิดโรคไข้เลือดออกโดยมียุงลายเป็นพาหะสำคัญ แต่เนื่องจากการดัดแปลงพันธุกรรมของไวรัสเด็งกี่ทำได้ยาก ทำให้เป็นอุปสรรคในการนำเทคนิคมาใช้พัฒนาวัคซีนไข้เลือดออก ทางทีมวิจัยจึงนำเทคนิค Gibson Asembly มาทดลองประยุกต์ใช้กับการตัดต่อพันธุกรรมของไวรัสเด็งกี่ จากการทดสอบเบื้องต้นพบว่าเทคนิคดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูง สามารถสร้างไวรัสจากดีเอ็นได้ถึง 11 ชิ้นในขั้นการตัดต่อครั้งเดียว ลดขั้นตอนความซับซ้อนของการตัดต่อพันธุกรรม และย่นระยะเวลาให้ทำได้ภายใน 2 สัปดาห์ จากวิธีการเดิมที่ใช้ระยะเวลานานนับเดือน รวมทั้งสามารถลดค่าใช้จ่ายในงานวิจัย ซึ่งเทคนิคนี้สามารถนำไปต่อยอดในการใช้วิเคราะห์หรือต้องการผลในปริมาณมากได้อย่างมีประสิทธิภาพดร.บรรพท บอกอีกว่า ในอนาคตอยากต่อยอดงานวิจัยในด้านนี้ด้วยการเก็บรวบรวมสร้างเป็น virus libraries หรือห้องสมุดไวรัส เพื่อง่ายต่อการค้นหารหัสพันธุกรรมของไวรัสแต่ละตัว ซึ่งคาดหวังว่าเทคนิคเหล่านี้จะทำให้นักไวรัสวิทยาเข้าใจในธรรมชาติของไวรัสมากขึ้น และสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้เป็นประโยชน์ในการพัฒนายาหรือวัคซีนที่ควบคุมการระบาดของโรคได้ในอนาคต.นาตยา คชินทร
nattayap.k@gmail.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สองนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่จากฟีโบ้และไบโอเทค – ฉลาดคิด

Posts related