นายยู เจียรยืนยงพงศ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สหพันธ์ฯ ได้ทำหนังสือถึงขอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาทบทวนและแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อผ่อนปรนเรื่องการกำหนดน้ำหนักบรรทุกสินค้าของกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท ที่จะเริ่มประกาศใช้มาตรการตรวจจับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน 50.5 ตัน ในวันที่ 1 ก.ค.นี้ เนื่องจากสถานการณ์ขนส่งสินค้าช่วงนี้อยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั้งนี้ยังขอให้ คสช.พิจารณาเรื่องการจัดตั้งสภาการขนส่งทางถนน เพื่อให้สภาฯ นี้เป็นเวทีที่สามารถส่งตัวแทนไปต่อรองหรือเจรจาเรื่องต่าง ๆ ได้ต่อมา คือ ขอแก้ไขกฎหมาย เช่น พ.ร.บ.ทางหลวง โดยเฉพาะกรณีมีการบรรทุกน้ำหนักเกินกว่ากำหนด พนักงานขับรถจะต้องโดนข้อหาในคดีอาญา และต้องติดคุก ซึ่งสหพันธ์ขอแก้ไขโดยปรับใหม่ เป็นพนักงานขับรถไม่ต้องติดคุก และให้คิดค่าปรับเป็นอัตราล่วงหน้า ค่าปรับคูณน้ำหนักสินค้าที่เกินคูณระยะทาง เช่นหากบรรทุกเกิน100 กม.แรก คิดค่าปรับ 1 บาท หากบรรทุกเกิน 101 กม. คิดกม.ต่อไป 2 บาท เป็นต้นนอกจากนี้ ขอให้คสช.เข้าไปดูกฎหมายเกี่ยวกับพ.ร.บ.ส่งเสริมการให้บริการโลจิสติกส์ ของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งก่อนหน้านี้ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวรอเข้าที่ประชุมรัฐสภา แต่ไม่สามารถพิจารณาได้ทัน จึงตกไป ซึ่งสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมการให้บริการโลจิสติกส์ เป็นการป้องกันนอมินีเข้ามาจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการในไทย"การคิดค่าปรับแทนการจับพนักงานขับรถบรรทุกเกินนั้น เป็นการป้องปรามการเก็บส่วยได้ส่วนหนึ่ง รัฐจะได้นำเงินค่าปรับมาใช้ซ่อมบำรุงถนน หากเป็นไปได้ผู้ว่าจ้างที่ให้บรรทุกน้ำหนักเกิน จะต้องมีส่วนรับผิดชอบในเรื่องนี้ร่วมกับผู้ประกอบการขนส่งด้วย และอนาคตเมื่อเปิดประชาคมอาเซียน ไทยควรมีกฎหมายปกป้องผู้ประกอบการขนส่งสินค้าด้วย"นายชัชวาลย์ บุญเจริญกิจ อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่าวันที่ 1ก.ค.นี้ กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท จะมีมาตรการตรวจจับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน 50.5 ตันอย่างจริงจัง เพราะก่อนหน้านี้ ผู้ประกอบการขนส่งได้ขอผ่อนผันมา 2 ครั้งแล้วประกอบกับผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวรระบุว่าหากไทยเปลี่ยนจากการบรรทุกน้ำหนัก 50.5 ตันเป็น 58 ตันจะทำให้หน่วยงานต้องเพิ่มค่าบำรุงรักษาถนนตลอด 15 ปีเป็นเงินมูลค่ากว่า 1.6 แสนล้านบาท"กรมทางหลวง จะไม่ผ่อนปรนอีกแล้ว เพราะที่ผ่านมาผู้ประกอบการได้ขอให้คนกลางเข้ามาศึกษาการบรรทุกสินค้า ว่าควรมีน้ำหนักบรรทุกเท่าไร และไม่ให้หน่วยงานราชการทำ ซึ่งกรมทางหลวงก็ยินยอม ดังนั้นเมื่อผลออกมาเป็นอย่างไรผู้ ประกอบการก็ควรปฏิบัติตาม อีกทั้งหากเปรียบเทียบไทยกับกลุ่มอาเซียน จะพบว่าพิกัดน้ำหนักรถบรรทุกเขาน้อยกว่าเรามาก ผู้ประกอบการไทยควรคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วย"
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สิงห์รถบรรทุกขอผ่อนผันน้ำหนักใหม่
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs