นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ต้องการเสนอให้รัฐบาลปฎิรูปข้าวไทยเร่งด่วน 3 ด้าน เพื่อให้ข้าวไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกในอนาคตได้ ประกอบด้วย การปฏิรูปกระบวนการผลิตทั้งระบบ ทั้งวิธีการเพาะปลูก พื้นที่เพาะปลูก พันธุ์ข้าว แหล่งน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูก, ปฏิรูปโครงสร้างต้นทุนการผลิต โดยลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมี หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์มากขึ้น รวมทั้งรัฐบาลสนับสนุนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับปัจจัยการผลิตให้ชาวนา 20% ของต้นทุนรวม และปฏิรูปห่วงโซ่อุปทาน การบริหารจัดการข้าวของประเทศ โดยให้ ชาวนา โรงสี ผู้ส่งออก รวมตัวกัน เพื่อบริหารจัดการข้าว แทนต่างคน ต่างทำในปัจจุบันสาเหตุที่ต้องให้รัฐบาลเร่งปฎิรูป เพราะว่าเงินเหลือจากการปลูกข้าว ของชาวนาไทย เฉลี่ยลดลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับช่วง 10 ปีก่อน เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่ารายได้ โดยในปี 56 ชาวนามีรายได้ 11,187 บาทต่อตัน มีต้นทุน 10,685 บาทต่อตัน และมีเงินเหลือเพียง 502 บาทต่อตัน ส่วนปี 52 ชาวนามีรายได้10,600 บาทต่อตัน ต้นทุน 8,349.1 บาทต่อตัน และมีเงินเหลือ 2,311 บาทต่อตัน และปี 47 ชาวนามีรายได้ 6,741 บาทต่อตัน มีต้นทุนการผลิต 4,835.4 บาทต่อตัน ทำให้ เงินเหลือเฉลี่ยที่ 1,905.6 บาทต่อตัน“อีกทั้ง ที่ผ่านมาพรรคการเมืองไทย จะเน้นนโยบายการใช้ราคาข้าวเปลือกเป็นที่ตั้งในการหา เสียง ส่งผลให้มีการใช้เงินจำนวนมาก ดังนั้นรัฐบาลต้องปฏิรูปกระบวนการผลิตทั้งระบบ โดยเฉพาะช่วยเหลือเรื่องต้น ทุน และเพิ่มผลผลิต เหมือนกับประเทศอื่นที่ทำกัน ซึ่งการชดเชยปัจจัยการผลิตให้ชาวนา 20%นั้น ยอมรับว่าแม้จะเป็นประชานิยม แต่ประเทศอื่นทั้งเวียดนาม พม่าก็ทำกัน อย่างเวียดนามช่วยเหลือในเรื่องปุ๋ยทั้งหมด”จากผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนการผลิตของไทย จะเป็นปัญหาใหญ่ของชาวนา โดยพบว่าต้นทุนการผลิต ส่วนใหญ่มาจากค่าเช่าที่นา 21% ของต้นทุนทั้งหมด ขณะที่ค่าเมล็ดพันธ์ ค่าปุ๋ยและน้ำมัน รวมกัน 44% ซึ่งหากเทียบกับแล้ว ประเทศเพื่อนบ้านพบว่า ในปี 55 ไทยมีต้นทุนผลิต 9,736.4 บาทต่อตัน มีผลผลิตต่อไร่ 450 กก.ต่อไร่ และมีรายได้ 11,319 บาทต่อไร่ ขณะที่เวียดนามมีต้นทุนผลิต 4,070 บาทต่อตัน, มีผลผลิต 900 กก.ต่อไร่และมีรายได้ 7,251 บาทต่อตัน และพม่า มีต้นทุนผลิต 7,121 บาทต่อตัน ผลผลิต 420 กก.ต่อไร่ และ มีรายได้ 10,605 บาทต่อตันนายอัทธ์ กล่าวว่า หากรัฐบาลปล่อยให้สถานการณ์ข้าวไทยเป็นเหมือนในอดีต และปัจจุบัน เชื่อว่าในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า หรือตั้งแต่ปี 57- 66 มูลค่าการส่งออกข้าวไทยจะสูญหาย 87,500 ล้านบาท โดยตลาดที่ส่งออกสูญเสียไปมากสุดคือ ตลาดเอเชีย ไม่รวมอาเซียนและตะวันออกกลาง สูญเสีย 181,000 ล้านบาท ตลาดยุโรป สูญเสีย 67,000 ล้านบาท ตลาดอาเซียน 27,400 ล้านบาท ส่วนตลาดที่ส่งออกข้าวไทยมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เช่น ตะวันออกกลาง มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น 94,000 ล้านบาท แอฟริกา มูลค่าเพิ่มขึ้น 132,000 ล้านบาท“สาเหตุที่ทำให้ข้าวไทยสูญเสียศักยภาพในการแข่งขัน เป็นเพราะราคาข้าวส่งออกของไทยสูงกว่าคู่แข่ง, คู่แข่งส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเวียดนามและอินเดียรวมถึงพม่าและ กัมพูชา, ศักยภาพการผลิตข้าวไทยถดถอยลง และ ต้นทุนในการเพาะปลูกสูงกว่าคู่แข่ง”
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : หอการค้าเผยชาวนาไทยโครตจน
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs