ของเล่นŽ เป็นสิ่งของประเภทหนึ่งมีหลากหลายรูปทรงและหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเด็กจะมีวิธีการเล่นในแบบของตัวเอง การเล่นถือเป็นการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัส การมอง การได้ยิน และสร้างสรรค์ กระบวนการเล่นยังสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้เด็กฝึก การแก้ไขปัญหา การใช้เหตุผล การตอบสนองต่อจินตนาการในวัยเด็ก การเล่นที่กระตุ้นการเรียนรู้ ค้นคว้า ท้าทายนี้จะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับเด็ก เพื่อกระตุ้นให้เด็กมีพฤติกรรมรักการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตลอดชีวิต และทำให้เด็กผ่อนคลาย ลดความเครียด สามารถระบายความ เครียดที่อยู่ใต้จิตสำนึกและตอบสนองอารมณ์ได้ดี จากการสำรวจของศูนย์วิจัยเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามา  ธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ประเทศไทยมีของเล่นที่ไม่ปลอดภัยเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ของเล่นที่มีชิ้นส่วนขนาดเล็ก มีโอกาสเสี่ยงที่เด็กจะกลืนเข้าไปและอาจสำลักอุดตันระบบทางเดินหายใจได้ ของเล่นที่มีสีสันสดใส หากมีการใช้สีที่ไม่ได้มาตรฐาน ด้านความปลอดภัยอาจทำให้เด็กได้รับสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก ของเล่นที่ใช้ถ่านแบตเตอรี่ขนาดเล็ก หากเด็กกลืนเข้าไปสารประเภท กรด ด่าง จะทำอันตรายต่อกระเพาะอาหาร และลำไส้ได้ ของเล่นที่มีการจำลองเลียนแบบอาวุธปืนจริง เช่น ปืนอัดลม ปืนลูกดอก ที่ลูกกระสุน มีความแรงกว่า 0.8 จูล หากมีการเล็งยิงเข้าหากันอาจส่งผลให้ลูกนัยน์ตาได้รับบาดเจ็บและถึงขั้นตาบอดได้ ของเล่นที่มีลักษณะแหลมคม เช่น ลูกข่าง รถเด็กเล่นที่มีท้ายแหลม หรือโลหะที่มีทรงแหลมคมอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ของเล่นที่มีเสียงดังเกินค่าความปลอดภัยของเด็ก (เกินกว่า 110 เดซิเบล ดังครั้งเดียวไม่เกิน 1 วินาที หือไม่เกิน 80 เดซิเบล เมื่อมีการดังต่อเนื่อง) เช่น ปืนกล ปืนเลเซอร์กดมีเสียง รถไฟมีเสียง และของเล่นประเภทที่เคลื่อนได้ เช่น โรล์เลอร์เบรด รองเท้าสเกตเสี่ยงต่อการลื่นไถล รถจักรยานมีล้อเล็กช่วยประคอง ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุบริเวณข้อเท้าหลุดติดกับล้อรถ ดังนั้น การป้องกันอันตรายจากการใช้ของเล่นประเภทดังกล่าว ผู้ปกครองต้องระมัดระวังในการเลือกซื้อของเล่นที่สุ่มเสี่ยงให้เกิดอันตรายและไม่ควรซื้อของเล่นที่มีลักษณะแหลมคมหรือเป็นวัสดุที่แตกหักง่าย หากของเล่นมีการเคลือบสีต้องใช้สีที่มีความปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายของเล่นประเภทที่มีถ่านแบตเตอรี่ขนาดเล็ก เป็นส่วนประกอบต้องมีฝาครอบป้องกันถ่านหลุดร่วงจากของเล่นด้วย รวมถึงการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย เช่น สนับมือ สนับเข่า สนับศอก และ หมวกนิรภัยทุกครั้งที่มีการเล่นของเล่นประเภทเคลื่อนที่ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นของเล่นดังกล่าว.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : อันตรายที่แฝง มากับของเล่น – ไขปัญหาผู้บริโภค

Posts related