การมาถึงของอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Every Things) ทำให้ปัญหาการรักษาความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม ยิ่งขนาดของเครือข่าย และจำนวนดีไวซ์จำนวนมหาศาลที่ต่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นเท่าไร อัตราความเสี่ยงของการโจมตีบนไซเบอร์ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น ระบบรักษาความปลอดภัยบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถต่อสู้กับอาชญากรไซเบอร์ หรือแฮกเกอร์ที่พร้อมโจมตีตลอดเวลาจึงเป็นเรื่องสำคัญ นายสุธี อัศวสุนทรางกูร ผู้จัดการประจำประเทศไทยและอินโดจีน ซอร์สไฟร์ (ประเทศ ไทย) ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของซิสโก้ กล่าวว่า ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อโซเชียลเน็ตเวิร์กยอดนิยมอย่างเฟซบุ๊ก ประกอบกับอุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น ทำให้ภัยคุกคามมีมากขึ้น โดยเฉพาะในอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อไวไฟได้ ความปลอดภัยในระบบเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ จากการประชุม RSA Conference ซึ่งเป็นงานประชุมสัมมนาระดับโลกด้านการรักษาความปลอดภัยครั้งยิ่งใหญ่ประจำปี ระบุรูปแบบความซับซ้อนในการโจมตี และความสามารถของอาชญากรไซเบอร์ที่มุ่งเป้าไปที่เครือข่ายที่ขยายการทำงานออกไปภายนอก และปฏิบัติการโจมตีของแฮกเกอร์เหล่านี้ได้ปรับเปลี่ยนมาทำแบบมืออาชีพมากกว่าที่จะทำเป็นงานอดิเรก นายสุธี กล่าวต่อว่า การเติบโตขึ้นของอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง เป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้อุปกรณ์ทุกประเภทเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกันเป็นจำนวนมาก โดยซิสโก้ประมาณการว่าการที่ทุกสรรพสิ่งสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ จะเป็นการขยายพื้นที่ที่จะถูกโจมตีให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งซิสโก้คาดการณ์ว่าจำนวนของสรรพสิ่งจะขยายตัว และเติบโตขึ้นสูงถึง 50,000 ล้านดีไวซ์ภายในปี ค.ศ. 2020 ถ้านึกภาพไม่ออกลองมองไปรอบ ๆ บ้าน จะเห็นว่าทั้งของเล่น อุปกรณ์ควบคุม หรือสรรพสิ่งที่ต่อไวไฟได้มีจำนวนมากจริง ๆ ตัวอย่างของการโจมตีที่เกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ คือการที่ตู้เย็นที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต สามารถส่งสแปมได้ โดยตู้เย็นดังกล่าวถูกโจมตีจนกลายเป็นบอทเน็ต ที่ถูกควบคุมจากแฮก เกอร์ในระยะไกล เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย ซึ่งในกรณีนี้คือการส่งสแปมเมลมากกว่า 750,000 เมลไปยังเป้าหมาย ที่เป็นองค์กรธุรกิจและผู้ใช้ทั่วไป โดยส่งเมลโจมตีต่อเนื่องกว่า 100,000 เมล สามเวลาในแต่ละวัน ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากการที่ สมาร์ท ดีไวซ์ ทุกประเภทที่ต่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตไม่มีการรักษาความปลอดภัยที่เพียงพอ ด้าน นายสุวิชชา มุสิจรัล วิศวกรระบบรักษาความปลอดภัยของ ซอร์สไฟร์ (ประเทศ ไทย) กล่าวว่า แนวคิดอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งจะเกิดขึ้นแน่นอน ต่อไปการใช้งานในอุปกรณ์ต่าง ๆ จะเป็นแบบเครื่องไปยังเครื่อง (machine to machine) คนจะไม่มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น ตู้เย็นเมื่อนมในตู้หมดเครื่องก็สามารถส่งอีเมลสั่งซื้อได้เอง หรือกล้องถ่ายรูป เมื่อถ่ายแล้วรูปก็ส่งขึ้นเฟซบุ๊ก หรือทวิตเตอร์ได้เลย ทำให้ระบบรักษาความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งจากข้อมูลพบว่าผู้ใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อ 1 ใน 5 จะติดไวรัส และมัลแวร์ “อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งจะมาพร้อมกับดีไวซ์ที่หลากหลายและจำนวนเพิ่มมากขึ้น เครือข่ายไม่มีขอบเขตเหมือนก่อน จึงจำเป็นต้องมีโมเดลในการรักษาความปลอดภัยแบบใหม่ที่ช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับทุกสรรพสิ่งที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ เพราะผู้โจมตีในปัจจุบันเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีในระดับสูง ใช้วิธีการโจมตีที่ซับซ้อนและแฝงตัวอยู่ในเครือข่ายของเป้าหมายให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อรอเวลาในการโจมตีไปยังเครือข่ายที่ขยายการใช้งานออกไปภายนอก รวมถึงคลาวด์ เวอร์ชวล และบรรดาจุดเชื่อมต่อปลายทาง หรือเอนด์พ้อยน์ทั้งหลาย” สำหรับการเตรียมการเพื่อรับมือกับการโจมตี องค์กรต้องพิจารณาให้ขอบเขตการป้องกันครอบคลุมทุกช่วงเวลา ทั้งก่อนการโจมตี ระหว่างการโดนโจมตี และหลังการถูกโจมตี เพื่อลดความเสี่ยง ให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้รวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ล่าสุด ซิสโก้ได้ประกาศเสริมระบบป้องกันมัลแวร์ขั้นสูง (AMP–Advanced Malware Protection) เทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาโดยซอร์สไฟร์เข้าไว้ในสายผลิตภัณฑ์ระบบรักษาความปลอดภัยในระดับเนื้อหา (Content Security) ซึ่งครอบคลุมถึงเว็บ และอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยสำหรับระบบอีเมล รวมถึงบริการการรักษาความปลอดภัยเว็บบน คลาวด์ เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถดูแล ป้องกัน และรับมือกับการโจมตีได้อย่างมีประสิทธิภาพ.
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง เสี่ยงโดนโจมตีจากแฮกเกอร์
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs