นายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เปิดเผยว่า ปีนี้อุตสาหกรรมอาหารได้ตั้งเป้าหมายการส่งออก 970,000 ล้านบาท ลดลงจากเป้าหมายเดิมที่คาดว่า จะส่งออกได้ถึง 1ล้านล้านบาท เนื่องจากสินค้าข้าว ยังไม่ชัดเจนว่า ไทยจะส่งออกได้ปริมาณเท่าไร เพราะขณะนี้ยังเกิดปัญหาภายในประเทศ ขณะที่น้ำตาล ราคาในตลาดโลก ยังตกต่ำ และมีแนวโน้มความต้องการลดลง “ อุตฯ อาหารได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกไว้ 1 ล้านล้านบาท มา 3 – 4 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้สักครั้ง ปี 57 ก็เหลือ 970,000 ล้านบาท แต่ยังดีกว่าปี 56 ที่คาดว่า มูลค่าการส่งออกอาหารจะอยู่ที่ 920,000 ล้านบาท สาเหตุที่ปี 57 ดีกว่าปี 56 เพราะมีสินค้าส่งออกอุตฯ อาหาร ที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามความต้องการของตลาดโลก คือ ไก่สด และกุ้ง โดยเฉพาะในตลาดญี่ปุ่น เกาหลี ตะวันออกกลาง สั่งไก่จากไทยมากขึ้น” อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันจะเกิดปัญหาทางการเมือง และยังไม่มีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศ แต่กลุ่มอุต ฯ อาหาร ของส.อ.ท. ยังทำงานร่วมกับสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหาร และคุณภาพอาหาร บรรจุภัณฑ์ โดยอยู่ระหว่างดำเนินโครงการอุทยานอาหารภาคเหนือ (นอร์ทเทิร์น ฟูล วัลเล่ย์) ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าทางอาหาร มีโรงงานอาหารเข้าร่วม 20 แห่ง และจะดำเนินโครงการในภาคที่เหลือ คือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ กลาง ภายในปีนี้ ซึ่งเป็นการช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการ มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และปัญหาค่าแรงขั้นต่ำปรับตัวสูงขึ้น รายงานข่าวจากสถาบันอาหาร แจ้งว่า มูลค่าการส่งออกอาหารช่วง 11 เดือนของปี 56(ม.ค. –พ.ค. ) อยู่ที่ 841,000 ล้านบาท ขณะที่การส่งออกทั้งปี 56 คาดว่า อยู่ที 913,000 ล้านบาท ลดลง 6% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ค่าเงินบาทแข็งค่าในช่วงต้นปี วัตถุดิบกุ้งลดลงจากโรคตายด่วน ความต้องการ และราคาน้ำตาลในตลาดโลกลดลง และความต้องการไก่แปรรูปในยุโรปลดลง และมีการแข่งขันรุนแรง สำหรับสินค้าส่งออกกลุ่มอาหาร 10 ประเภท คือ น้ำผักผลไม้ เพิ่มขึ้น 15.3% มันสำปะหลัง เพิ่มขึ้น 9.5% เครื่องปรุงรส เพิ่มขึ้น 6.8% ทูน่ากระป๋อง ลดลง 1% ข้าวโพดหวานปรุงแต่ง ลดลง 3.9% สัปปะรดกระป๋อง ลดลง4% ข้าว ลดลง5.4% ไก่ ลดลง6% น้ำตาลทราย ลดลง12.4% และกุ้งลดลง 38.3% ตลาดส่งออกที่สำคัญคือ เอเชีย 59.6% รองลงมาคือ อเมริกาเหนือ 13.2% และยุโรป 12.8% ส่วนปี 57 สถาบันอาหาร ได้ประเมินปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งออก คือ ปัจจัยลบมาจากสินค้าอาหารแปรรูปของไทยจะถูกสหภาพยุโรปตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร(จีเอสพี) ต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าสูงขึ้นจากการอ่อนค่าของเงินบาท และราคา ความต้องการน้ำตาลทรายในตลาดโลกไม่ขยายตัวตามคาดการณ์เนื่องจากสต็อกน้ำตาลทรายในตลาดโลกยังอยู่ระดับสูงขณะที่ปัจจัยบวก มาจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นชัดเจน ค่าเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลง ผลผลิตกุ้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และญี่ปุ่นเริ่มนำเข้าไก่สดจากไทยหลังยกเลิกไปนาน
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : อุตฯอาหารหั่นเป้าส่งออกเหลือ9.7แสนล้าน
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs