เดินหน้าโครงการ “Thai Delicious” (ไทย ดิลิเชียส) ภายใต้ยุทธศาสตร์ประเทศ “ครัวไทยสู่ครัวโลก” วันนี้..สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. ประกาศความสำเร็จของโครงการที่ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารไทยอย่างครบวงจรตั้งแต่การพัฒนาระบบบริหารจัดการคุณภาพและความปลอดภัยของวัตถุดิบอาหารไทย การพัฒนาสูตรมาตรฐานอาหารไทย และการพัฒนาเครื่องมือตรวจวัดรสชาติอาหารไทย…เพื่อให้รสชาติอาหารไทย กินที่ไหนก็“อร่อย” เหมือนกันทั่วโลก…“นายศุภชัย หล่อโลหการ”ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สนช. บอกว่า ที่ผ่านมา สนช. สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมในโครงการไปแล้ว 14 โครงการ วงเงินสนับสนุนกว่า 23.5 ล้านบาท
โดยโครงการระบบบริหารจัดการคุณภาพและความปลอดภัยของวัตถุดิบอาหารไทยครบวงจร นำร่องในพืชวัตถุดิบอาหารไทย ได้แก่ พริก และกะเพราส่วนโครงการพัฒนาสูตรมาตรฐานอาหารไทยและผลิตภัณฑ์พร้อมปรุงมีสำเร็จแล้ว จำนวน 11 ตำรับ คือ ต้มยำกุ้งน้ำใส ต้มยำกุ้งน้ำข้น ผัดไทย แกงมัสมั่น แกงเขียวหวาน ข้าวซอย ไส้อั่ว น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง แกงเหลือง และซอสไก่กอแระ
และสิ่งสำคัญที่จะทำให้รู้ได้ว่าสูตรนั้นได้มาตรฐานตามที่กำหนด ก็คือ เครื่องมือตรวจวัดมาตรฐานรสชาติอาหารไทย
ปัจจุบันได้ต้นแบบแล้ว จำนวน 2 เครื่อง คือ e-delicious ที่พัฒนาโดยบริษัท โมบิลิสออโตมาต้าจำกัด และ ESenS จากบริษัท ควอลิเท็ค แล็บบอราทอรี่ เซอร์วิส จำกัดสำหรับ “ e-delicious” ดร.กฤษณ์ จงสฤษดิ์ กรรมการผู้จัดการ บ.โมบิลิสออโตมาต้า บอกว่า เครื่องดังกล่าว ประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ จมูกอิเล็กทรอนิกส์ ลิ้นอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประมวลผลกลาง โดยทั้งสามส่วนนี้มีความเชื่อมโยงกันและทำหน้าที่ในการตรวจวัดกลิ่น และรสชาติ ประมวลผลรวมเพื่อให้สามารถทำการเปรียบเทียบกับมาตรฐานรสชาติอาหารไทยได้เครื่องสามารถดมกลิ่นอาหารด้วยจมูกอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีอะเรย์ของแก๊สเซ็นเซอร์ จำนวน 16 หัววัด ซึ่งถูกออกแบบมาให้มีความเฉพาะเจาะจงกับกลิ่นอาหารไทย วัดรสชาติโดยลิ้นอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นการตรวจวัดด้วยวิธีทางไฟฟ้าเคมี โดยเครื่องสามารถตรวจวัดรสชาติที่สำคัญของอาหารไทย คือ เผ็ด เปรี้ยว เค็ม หวาน และอูมามิ ซึ่งเป็นรสชาติที่ 5 ที่ลิ้นมนุษย์สามารถรับรู้และแยกแยะได้การตรวจวัดรสชาติใช้เวลาไม่เกิน 30 นาทีต่อหนึ่งตัวอย่าง เบื้องต้นได้ทำการทดสอบเครื่องกับต้มยำกุ้งแล้ว ทั้งสูตรน้ำข้นและน้ำใส ซึ่งเครื่องสามารถตรวจวัดรสชาติได้ และสามารถเปรียบเทียบความคล้ายคลึงของรสชาติกับตัวอย่างมาตรฐานที่มีการให้คะแนนโดยผู้ทดสอบชิมระบบฐานข้อมูลของ e-delicious ยังสามารถรองรับระบบการให้คะแนนความอร่อยของรสชาติอาหารได้ โดยอิงการให้คะแนนความอร่อยของตัวอย่างอ้างอิงโดยคน และสามารถใส่สูตรการให้คะแนนตัวอย่างที่มีรสชาติแตกต่างไปจากตัวอย่างอ้างอิงได้อีกด้วยส่วนเครื่อง “ESenS” จะเป็นเหมือนหุ่นยนต์ที่ชาญฉลาดสำหรับการตรวจวัดกลิ่นและรสชาติของส่วนผสมในอาหาร โดยจะใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ในการตรวจวัดรสชาติเหมือนเป็นนักชิมอาหาร และเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลที่มีอยู่โดยการใช้เทคโนโลยีการประมวลผลที่แม่นยำ สามารถประมวลผลบนเซิร์ฟเวอร์และส่งผ่านทางอีเมลและเครือข่ายทางสังคมตามความต้องการของผู้ใช้ได้สนใจสร้างมาตรฐานให้อาหารไทยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ดูรายละเอียดได้ที่ www.nia.or.th/thaidelicious
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เครื่องวัดความอร่อย
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs