รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า หลังจากรัฐบาลได้ออกมาตรการควบคุมราคาอาหาร และตรึงราคาพลังงาน รวมถึงการตรึงค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน (เอ็มอาร์ที) ช่วงครึ่งหลังของปี 57 และหากปรับอัตราค่าโดยสารแท็กซี่เพิ่มขึ้น 8-11% ตามระยะทางอาจเป็นแรงกดดัน ด้านต้นทุนให้เงินเฟ้อทั่วไปของปี 57 ปรับเพิ่มสูงขึ้นเพียง 0.04-0.06% ขณะที่ ปี 58 การปรับขึ้นค่าโดยสารเอ็มอาร์ที จะทำให้เงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นแค่ 0.0003% เท่านั้น โดย สศค. จะปรับประมาณการลงอีกครั้ง ในเดือน ต.ค.นี้ ซึ่งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วง 8 เดือนแรกของปี 57 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 สะท้อนให้เห็นว่าเสถียรภาพของประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดีอย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังคงชะลอลงช่วงที่ผ่านมา แต่ความเชื่อมั่นภาคเอกชน ทั้งผู้บริโภคและธุรกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้นสะท้อนทิศทางการฟื้นตัวของการ บริโภคและการลงทุนภาคเอกชนในระยะต่อไป ซึ่งแผนการเร่งรัดเบิกจ่ายเงินงบประมาณภาครัฐ สำหรับปีงบประมาณ 57 และ 58 นั้น ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจไทยในปีนี้ โดย สศค. จะประกาศประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 57 และปี 58 ใหม่ในเดือน ต.ค. 57สำหรับปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ควรจับตามองในระยะต่อไป ได้แก่ การฟื้นตัวของคู่ค้าไทย ซึ่งแม้ว่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นแต่ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง นอกจากนี้ ความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายถือเป็นอีกความท้าทายสำคัญ เนื่องจากธนาคารกลางประเทศที่พัฒนาแล้วต่างๆ มีการดำเนินนโยบายการเงินที่ไม่สอดคล้องกันเช่น การดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวมากขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐฯ และการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของธนาคารกลางยุโรป และญี่ปุ่น เป็นต้นที่สำคัญ ขณะนี้ มาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาล ที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ทั้งการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 57-58 การ เร่งพิจารณาโครงการลงทุนที่มีประสิทธิภาพและผ่านการอนุมัติจากสำนักงานคณะ กรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) การส่งเสริมการร่วมทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชน แผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและคมนาคม จะส่งผลสำคัญต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและสนับสนุนการ เติบโตของเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น ถือเป็นปัจจัยที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อตลาดหุ้นไทยและสนับ สนุนการเติบโตของตลาดหลักทรัพย์ไทยในระยะต่อไป

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เชื่อปรับราคาพลังานดันเงินเฟ้อไม่มาก

Posts related