วันนี้ (1 มิ.ย.) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า จากรายงานการให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่เดือนเม.ย.57 พบว่า มีจำนวนเลขหมายที่ขอโอนย้าย (Port Request) ทั้งสิ้น 3,330,079 เลขหมาย โอนย้ายสำเร็จโดยเฉลี่ย 94% คิดเป็นเลขหมายที่โอนสำเร็จ (Port Completed) 3,117,144 เลขหมาย ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือน ก.ค.56-ปัจจุบัน บริษัท ศูนย์ให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์ จำกัด มีขีดความสามารถในการให้บริการคงสิทธิเลขหมายเคลื่อนที่อยู่ที่ 60,000 เลขหมาย ต่อวันต่อกลุ่มผู้ให้บริการ หรือ 300,000 เลขหมายต่อวัน หรือเดือนละ 9,000,000 เลขหมายของทั้งระบบ จากเดิมที่เคยมีขีดความสามารถอยู่ที่ 8,000 เลขหมาย ต่อวันต่อกลุ่มผู้ให้บริการ หรือ 40,000 เลขหมายต่อวัน หรือ 1,200,000 ต่อเดือน  อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าที่จะมีการเปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ (GHz) พบว่าการใช้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับศักยภาพการดำเนินการของบริษัท ศูนย์ให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์ จำกัด พบว่ามีการใช้บริการเพียง 6% ของขีดความสามารถที่มีทั้งหมด โดย ทรูมูฟ มีการโอนย้ายเป็นรายหลัก 70% ของการใช้บริการทั้งหมด ซึ่งเป็นการโอนย้ายจาก ทรูมูฟ ไปยัง ทรูมูฟเอช ภายหลังจากการเปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ เดือนพ.ค.56 พบว่า ปริมาณการใช้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับสัดส่วนศักยภาพของการให้บริการทั้งหมดแล้ว ยังคงมีปริมาณที่ค่อนข้างต่ำนายฐากร กล่าวว่า ช่วงระหว่าง พ.ค.56-เม.ย.57 จำนวนการโอนย้ายในภาพรวมของผู้ประกอบการทั้งหมดอยู่ที่ 25,935,687 เลขหมาย จากศักยภาพทั้งหมด 92.4 ล้านเลขหมาย คิดเป็น 27% ของศักยภาพทั้งหมด โดย 98% ของการโอนย้ายทั้งหมดเป็นการโอนย้ายไปสู่บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ หรับในเดือนเม.ย.พบว่า เอไอเอส เป็นกลุ่มบริษัทที่มีการโอนย้ายสะสมมากที่สุด เป็นการโอนย้ายไป AWN คิดเป็นสัดส่วน 43.49% ของการโอนย้ายทั้งหมด รองลงมาเป็นการโอนย้ายจาก ดีแทค ไป DTN ที่สัดส่วน 39.04% และ ทรูมูฟ ไป CAT (Real Move) และ RF ที่สัดส่วน 15.55% ส่วนที่เหลือเป็นการโอนย้ายที่ไม่ใช่การโอนย้ายไปสู่บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ในสัดส่วน 1.92% ของการโอนย้ายเลขหมายทั้งหมดส่วนการโอนย้ายในช่วงการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ (MHz) ของ ทรูมูฟ และดีพีซี พบว่า ทั้ง 2 บริษัทมีการโอนย้ายเพิ่มขึ้นมากในเดือนแรกหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน โดยมีปริมาณมากกว่าปริมาณเฉลี่ยของการโอนย้ายก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานหลายเท่า สำหรับ ทรูมูฟ มีการโอนย้ายเพิ่มขึ้นสูงสุดในเดือนต.ค.56 ส่วน ดีพีซี สูงสุดในเดือนก.ย.หลังจากนั้นปริมาณการโอนย้ายออกของทั้ง 2 บริษัทก็ลดลงอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการโอนย้ายเลขหมายก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานพบว่ายังคงมีอัตราการโอนย้ายสูงกว่าอัตราการโอนย้ายเลขหมายก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานสำหรับ ทรูมูฟนั้น การโอนย้ายในช่วงการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ มีปริมาณมากกว่าก่อนการสิ้นสุดสัมปทานคิดเป็นสัดส่วนถึง 70% โดยก่อนหน้านั้นมีการโอนย้ายในอัตรา น้อยกว่า 1 แสนเลขหมาย/เดือน แต่ภายหลังการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานปริมาณการโอนย้ายเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 1 ล้านเลขหมายในเดือนต.ค.56 จากนั้นลดระดับอยู่ที่ 3-5 แสนเลขหมายในช่วงหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ทั้งนี้ในเดือนเม.ย.57 ทรูมูฟ มีปริมาณการโอนย้ายออกกว่า 4 แสนเลขหมาย โดยปัจจุบันยังคงมีเลขหมายที่ใช้บริการอยู่ประมาณ 7 ล้านเลขหมาย ส่วนกรณี ดีพีซี ภายหลังการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน มีปริมาณการโอนย้ายไปยัง AWN และ AIS โดยคิดเป็นสัดส่วนการโอนย้ายไป AWN ถึง 86% และ AIS ในสัดส่วน 12% ทั้งนี้ในเดือนเม.ย.57 พบว่า ดีพีซี มีการโอนย้ายเลขหมายออกไปมากกว่า 60,000 เลขหมาย และปัจจุบันยังคงมีเลขหมายที่ใช้บริการอยู่ประมาณ  6,000 เลขหมาย ซึ่งทั้ง 2 บริษัทต้องเร่งให้มีการโอนย้ายให้หมดภายในวันที่ 15 ก.ย.57 ที่เป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครองตามประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เดือนเม.ย.ลูกค้าย้ายค่ายมือถือกว่า 3 ล้านเลขหมาย

Posts related