นายไพศาล ทรัพย์รุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน และรักษาการผู้อำนวยการ ตลาดนัดจตุจักร การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงการเปิดให้ผู้ค้าตลาดนัดจตุจักรเข้ามาต่อสัญญาเช่าแผงค้าว่า ขณะนี้เหลือผู้ค้าที่ยังไม่เข้ามาต่อสัญญา อีก 1,189 ราย จากผู้ค้าทั้งหมด 8,480 ราย หรือคิดเป็นสัดส่วนที่เข้ามาต่อสัญญา 86% ไม่ต่อสัญญาอีก 14 % ส่งผลให้ ร.ฟ.ท.มีรายได้จากการต่อสัญญาเช่าแล้ว 53.57 ล้านบาท และเหลือค้างอีก 20 ล้านบาท ซึ่งวันที่ 5 เม.ย.นี้ คณะกรรมการบริหารตลาดนัดจตุจักรจะประชุมหารือ เพื่อหาวิธีดำเนินการกับผู้ค้าที่ไม่เข้ามาต่อสัญญา“สาเหตุที่ผู้เช่ายังมาต่อสัญญาน้อย น่าเกิดจากความคลาดเคลื่อนของข่าว เนื่องจากการรถไฟฯได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ค้ามาต่อสัญญาเช่าแผงในวันที่ 29-30 มี.ค. แต่มีข่าวออกมาว่าเป็นวันที่ 29-30 เม.ย.จึงอาจทำให้ผู้ค้าชะล่าใจ แต่ที่จริง ร.ฟ.ท.ได้แจกใบปลิวและประชาสัมพันธ์ไปก่อนหน้านี้ และย้ำแล้วว่าเป็นการต่อสัญญาครั้งสุดท้ายช่วงปลายเดือนมี.ค. 57” นายไพศาล กล่าวว่า แนวทางดำเนินการกับผู้ค้าที่เช่าแผงและไม่ต่อสัญญาอีก 1,189 รายนั้น ทางคณะกรรมการบริหารตลาดนัดจตุจักร จะประชุมเพื่อมาตรการจัดการโดยเร็ว คาดว่าน่าจะมีมาตรการที่จัดอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกันที่ทางกรุงเทพมหานครเคยดำเนินการ โดยอาจปิดแผงค้า และนำไปเปิดประมูลให้ผู้ค้ารายอื่นที่ต้องการเช่าแผงค้าเพิ่มต่อไป“ขณะนี้การรถไฟฯ มีงบประมาณบริหารจัดการพัฒนาฟื้นฟูตลาดนัดจตุจักรกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งทางนายบุญสม เลิศหิรัญวงศ์ ประธานบอร์ด ร.ฟ.ท.ได้ให้นโยบายพัฒนาพื้นที่ตั้งของร้านค้าภายในตลาดนัดจตุจักรไปแล้ว ดังนั้นจะต้องมาจัดลำดับความสำคัญของโครงการพัฒนาว่า จะเริ่มทำในส่วนก่อน-หลัง”นายชาตรี โสภณบรรณารักษ์ นายกสมาคมผู้ประกอบการค้าตลาดนัดจตุจักร กล่าวว่า ขณะทราบว่าผู้ค้าที่ไม่ได้มาเซ็นสัญญาเช่าต่อแผงค้ามี 2 ส่วน คือ ผู้ค้าที่ฟ้องร้องกับร.ฟ.ท.และเรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองประมาณ 600 ราย อีกส่วนหนึ่งคือผู้ค้าที่ค้างค่าเช่าแผง หรือเอกสารไม่ครบ ซึ่งกลุ่มนี้จะต้องเจรจาต่อรองกับร.ฟ.ท.ก่อนที่ร.ฟ.ท.จะนำแผงค้าไปเปิดประมูลให้ผู้ค้ารายอื่นเช่าต่อ"เข้าใจว่าการรถไฟฯ คงไม่ทำอะไรให้ผู้ค้าเดือดร้อน โดยเฉพาะรายที่ค้างค่าเช่าอาจจะต้องคุยกับการรถไฟฯให้ชัดว่าจะจ่ายเงินอย่างไร จ่ายดอกเบี้ยเท่าไรเป็นรายๆไป เพราะถือว่าผู้ค้ามีสิทธิ์ที่จะต่อรอง เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองส่งผลกระทบต่อการค้าขาย แต่หากผู้ค้ารายนั้นๆเพิกเฉย ไม่ยอมหารือ ทางการรถไฟฯก็มีสิทธิ์ยึดแผงค้าไปเปิดประมูลได้"
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เตรียมเชคบิลตลาดนัดจตุจักร
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs