นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยเวลา 8ปี (58-65) แบ่งออกเป็น5แผนงานครอบคลุมการพัฒนาด้านการขนส่งทั้งระบบคือ ระบบราง ทางหลวง ทางน้ำและทางอากาศ โดยปี 58มีแผนลงทุน68,000ล้านบาทเน้นการลงทุนในระบบรถไฟทางคู่ 6เส้นทาง ระยะแรก เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการขนส่งสินค้า และยังมีแผนศึกษาโครงการต่าง ๆ ที่จำเป็นเร่งด่วน ส่วนวงเงินรวมของแผนทั้งหมด กระทรวงคมนาคมจะกลับไปทบวน กรอบวงเงินอีกครั้งว่ามีทั้งหมดเท่าใดสำหรับ แผนลงทุนรถไฟทางคู่ 6เส้นทาง ที่จะเร่งดำเนินการก่อนปี 58มีวงเงินรวมถึง 129,308ล้านบาท ระยะทางทั้งสิ้น 903กิโลเมตร ประกอบด้วย เส้นทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย, ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น, ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร, นครปฐม-หัวหิน, มาบกระเบา-ชุมทางถนนจิระและลพบุรี-ปากน้ำโพ ส่วนระยะที่ 2จะเร่งศึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการเพิ่มอีก8เส้นทางคือ หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์, ปากน้ำโพ-เด่นชัย, ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี, ขอนแก่น-หนองคาย, ชุมพร-สุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี-สงขลา, หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ และเด่นชัย-เชียงใหม่ขณะ เดียวกันต้องศึกษาการพัฒนาทางคู่มาตรฐาน (สแตนดาร์ตเกต) ขนาดรางมีความ กว้าง1.435เมตร 3เส้นทาง ระยะทางรวม 1,060กิโลเมตรคือ เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และนครราชสีมา-มาบตาพุด, กรุงเทพฯ-ระยองและ นครราชสีมา-หนองคายพร้อมทั้งเร่งรัดโครงการ พัฒนารถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งปีนี้กระทรวงคมนาคม จะเร่งการประกวดราคารถไฟสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพาน ใหม่-คูคตระยะทาง 18.4กิโลเมตร จากนั้นจึงเตรียมเสนอ ครม. พิจารณาอนุมัติให้ประกวดราคาอีก6เส้น ทางระยะทาง 144กิโลเมตรคือ สายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี, สีชมพู แคราย-มีนบุรี, สีเหลือง ลาดพร้าว-พัฒนาการ, แอร์พอร์ตเรลลิ้งค์ ส่วนต่อขยายพญาไท-ดอนเมือง และสายสีแดง 2เส้นทาง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง-หัวหมาก และรังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต และยังต้องศึกษารายละเอียดในเส้นทางบางแค-พุทธมณฑลสาย4ระยะทาง8กิโลเมตรนอกจากนี้ โครงการตามแผนที่เหลือ ยังต้องพัฒนาทางหลวงสายหลัก ทั้งการขยายช่อง จราจรเป็น4ช่องทาง และพัฒนาโครงข่ายทางหลวง เชื่อมโยงระหว่างประเทศ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายพัฒนา-มาบตาพุด พัฒนาการขนส่งทางน้ำ ทั้ง พัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อรองรับสินค้า และเรือเพิ่ม รวมทั้งพัฒนาท่าเรือ ชุมพร และสงขลา ส่วนด้านอากาศ มีโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานภูมิภาค สุดท้ายเป็นการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ เช่น โครงการรถเมล์เอ็นจีวีเ บื้องต้นภายในต้นปี 58จะมีรถเมล์เอ็นจีวีล็อตแรก 489คัน วิ่งให้บริการประชาชนได้ด้านนายสม ศักดิ์โชติรัตนะศิริ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า ที่ประชุมครม. ยังเห็นชอบแนวทางการจัดทำงบ ประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 59โดยจะให้ความสำคัญกับการจัดทำงบ ประมาณแบบบูรณาการ ทั้งนโยบายสำคัญของรัฐบาล และการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ ประหยัด และสอดคล้องกัน และให้จัดทำแผนความต้องการงบลงทุนเบื้องต้น และจัดทำแผนปฏิบัติงาน รวมทั้งแผนใช้จ่ายงบประมาณที่ชัดเจน ซึ่งการจัดทำงบประมาณปีดัง กล่าวสำนักงบประมาณ ยังให้สภาความมั่นคงแห่งชาติเข้ามาร่วมจัดทำด้วยเพื่อจะ ได้มีมิติของความมั่นคงเพิ่มเติมเข้ามาขณะที่ ปฏิทินงบประมาณกำหนดขั้นตอน คือการทบทวนงบประมาณ ต้องทำในช่วงเดือนต.ค.57- ม.ค.58, การวางแผนงบประมาณเดือนต.ค.57- ม.ค.58, การจัดทำงบประมาณเดือนก.ค.-กลางเดือนก.พ.58และขั้นตอนการอนุมัติงบ ประมาณช่วงปลายเดือนพ.ค.-ต้นเดือนก.ย.58นอกจากนี้ ที่ประชุมครม.ยังเห็นชอบโครงการการผูกพันข้ามปีงบประมาณ58ของส่วน ราชการและรัฐวิสาหกิจ 1,587รายการวงเงินรวม 193,263ล้านบาทแบ่งเป็น โครงการที่มีวงเงินต่ำกว่า500ล้านบาท1,513โครงการ วงเงินรวม 99,992ล้านบาทแยกเป็นในปี 58จำนวน18,869ล้านบาท,โครงการที่มีวงเงินรวมตั้งแต่ 500ล้านบาทขึ้นไปแต่ไม่ เกิน1,000ล้านบาท41โครงการวงเงินรวม 30,536ล้านบาท แยกเป็นปี 58จำนวน4,281ล้านบาท และรายการที่มีวงเงินรวม1,000ล้านบาทขึ้นไป33โครงการวง เงินรวม 62,734ล้านบาท แยกเป็นปี 58จำนวน8,023ล้านบาท

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เท6.8หมื่นล้านปูพรมด้านคมนาคม 8 ปี

Posts related