มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.)ได้จัดกิจกรรมมอบรางวัลนักวิจัยดาวรุ่งมจธ.เป็นครั้งแรกมีผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยดาวรุ่งทั้งสิ้น4 คน ประกอบด้วยนักวิจัยดาวรุ่งด้านวิชาการเน้นคุณค่าทางความรู้ใหม่3 ราย ได้แก่1) ผศ.ดร.วีรชาติตั้งจิรภัทร ภาควิชาวิศวกรรมโยธาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากงานวิจัย“วัสดุประสานชนิดใหม่จากเถ้าปาล์มน้ำมันเถ้าชานอ้อยและเถ้าแกลบ”2) ผศ.ดร.จักรกฤษณ์เตชะอภัยคุณ สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ(สรบ.)จากงานวิจัย“เอนไซม์หรือจุลินทรีย์ช่วยย่อยผนังเซลล์พืชจากแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการเจริญเติบโต”3) ดร.ธภัทรศิลาเลิศรักษาบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม(JGSEE)จากงานวิจัยการประเมินความยั่งยืนของเชื้อเพลิงชีวภาพและพลังงานทางเลือก และการประเมินวัฏจักรชีวิต 4) ดร.ปราการเกียรติยังคง จากสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม(ฟีโบ้)ได้รับรางวัลนักวิจัยดาวรุ่งด้านวิชาการเน้นคุณค่าทางด้านสังคมและชุมชนจากผลงาน “SensibleTAB (หุ่นยนต์ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพทางการเคลื่อนไหวแขน)ผศ.ดร.วีรชาติ ตั้งจิรภัทร เจ้าของรางวัลนักวิจัยดาวรุ่งด้านวิชาการเน้นคุณค่าทางความรู้ใหม่ผลงานวัสดุประสานชนิดใหม่กล่าวว่า ได้ค้นพบคุณสมบัติคอนกรีตจากเถ้าแกลบเถ้าชานอ้อย และเถ้าปาล์มน้ำมันหรือเถ้าจากชีวมวลใช้ทดแทนปูนซีเมนต์บางส่วนได้100 เปอร์เซ็นต์มีคุณภาพแข็งแกร่งช่วยลดการใช้ปูนซีเมนต์ลดปริมาณขยะลดมลภาวะและลดภาระค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเหลือทิ้งนำมาหมุนเวียนใช้ใหม่ได้เป็นวัฏจักรแบบครบวงจร ส่วนดร.ธภัทร ศิลาเลิศรักษา จาก JGSEEเจ้าของผลงานวิจัยการประเมินวัฏจักรชีวิตกล่าวว่า ได้ศึกษาวิจัยการประเมินวัฎจักรชีวิตด้วยวิธี LifeCycle Assessment เป็นการนำเรื่องของเศรษฐกิจและสังคมเกี่ยวกับผลกระทบด้านการจ้างงานมาประเมินร่วมกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อประเมินมูลค่าของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจริงและเป็นตัวชี้วัดเรื่องการจ้างงานผลกระทบจากการจ้างงานทั้งทางตรงและทางอ้อมนอกเหนือจากชี้วัดเรื่องของผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจกและมวลสารอื่นๆ ด้าน ผศ.ดร.จักรกฤษณ์เตชะอภัยคุณ กล่าวว่า การศึกษาวิจัยด้านชีวโมเลกุลค้นพบความรู้ใหม่จากเอนไซม์หรือจุลินทรีย์ช่วยย่อยผนังเซลล์พืชจากแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการเจริญเติบโตสามารถย่อยโครงสร้างโมเลกุลที่มีการเรียงตัวกันแน่นได้ดีดังนั้นการทำหน้าที่ของจุลินทรีย์ในการย่อยผนังเซลล์พืชจึงสามารถใช้ร่วมกันได้ทั้ง2 แบบโดยการนำเอนไซม์จากแบคทีเรียเข้ามาช่วยการย่อยโครงสร้างผนังเซลล์พืชที่มีระบบแตกต่างกันให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น“การศึกษาวิจัยนี้จะช่วยลดปริมาณการใช้น้ำมันจากฟอสซิล เพื่อใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มมากขึ้นเช่น แก๊สโซฮอล์ 91,E85และช่วยลดการแย่งใช้พืชอาหารเช่นมันสำปะหลังที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสามารถหันมาใช้แกลบ ฟางข้าวเปลือกข้าวโพดหรือชานอ้อยซึ่งเป็นวัสดุเหลือจากทางการเกษตรที่ถูกเผาทิ้งเปลี่ยนมาเป็นสารที่มีมูลค่าสูงแทน สำหรับ ดร.ปราการ เกียรติยังคง เจ้าของรางวัลนักวิจัยดาวรุ่งด้านคุณค่าทางด้านสังคมและชุมชน กล่าวว่า สิ่งประดิษฐ์ทางการแพทย์ทั้งSensibleTABหรือหุ่นยนต์ฟื้นฟูการเคลื่อนไหวแขนของผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวอันเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบประสาท และ TailGaitหรือเครื่องวิเคราะห์การเดินเพื่อช่วยแพทย์วิเคราะห์การเดินของผู้ป่วยพัฒนาขึ้นเพื่อทดแทนการนำเข้าเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ราคาแพงจากต่างประเทศที่สำคัญยังเป็นสิ่งประดิษฐ์ฝีมือคนไทยที่เกิดจากการนำศาสตร์หลายสาขาที่เรียกว่า สหศาสตร์มาพัฒนาเข้าด้วยกันโดยสถิติตัวเลขการใช้ SensibleTAB ปัจจุบันให้บริการผู้ป่วยที่โรงพยาบาลรามาธิบดีในระยะเวลาเพียง 1ปี มีผู้ป่วยใช้บริการแล้วมากกว่า1,000 ครั้ง

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เปิดตัว 4 นักวิจัยดาวรุ่ง มจธ.

Posts related