น.ส.ชุติมา บุญยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ ไทยได้ร่วมกับอาเซียนลงนามพิธีสารอนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 9 ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน (เอเอฟเอเอส) ที่กรุงเนปิดอร์ ประเทศเมียนมาร์ ส่งผลให้อาเซียนเปิดเสรีภาคการค้าบริการเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการของไทยที่จะเข้าไปลงทุนทำธุรกิจบริการในสาขาต่าง ๆ ในอาเซียน โดยข้อผูกพันเปิดตลาดดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับภายใน 180 วัน ภายหลังจากวันที่ประเทศสมาชิกได้ลงนามการลงนามครั้งนี้มีสาขาบริการที่ไทยเปิดตลาดเพิ่มอีก 25 สาขาย่อย เช่น บริการให้คำปรึกษา บริการจัดทำบัญชี บริการเช่าเรือ บริการเรือสำราญระหว่างประเทศ บริการขนส่งสินค้าทางเรือ บริการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล บริการเข้าวงจรสื่อสาร บริการข้อมูลออนไลน์ บริการเก็บสินค้าและคลังสินค้า และบริการรับ จัดหาที่จอดรถ เป็นต้น ส่งผลให้ไทยได้ผูกพันเปิดตลาด 101 สาขา ซึ่งการเปิดเสรีไม่กระทบต่อธุรกิจของไทย เพราะเอกชนยืนยันว่าไม่มีปัญหา และส่วนใหญ่เป็นสาขาที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้อยู่แล้วขณะเดียวกัน ไทยได้ร่วมลงนามข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาบริการวิชาชีพบัญชี ซึ่งได้มาทดแทนกรอบความตกลงฉบับเดิมที่เป็นเพียงการกำหนดแนวทางเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการเจรจาข้อตกลงยอมรับร่วม ด้านบัญชีของอาเซียน ในขณะที่ข้อตกลงฉบับใหม่นี้ ประกอบไปด้วยหลักเกณฑ์และข้อกำหนดต่างๆ ในกระบวนการให้การยอมรับ ระเบียบวินัย หลักจริยธรรม มาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ประเทศสมาชิกอาเซียนยอมรับร่วมกัน เป็นการอำนวยความสะดวกในการเข้าไปให้บริการด้านบัญชีในประเทศอาเซียนอื่นมากยิ่งขึ้นน.ส.ชุติมา กล่าวว่า ยัง ได้เข้าร่วมลงนามในพิธีสารแก้ไขความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน ร่วมกับสมาชิกอาเซียน เพื่อทำให้การลงทุนในอาเซียนมีความคล่องตัว และปรับปรุงข้อสงวนด้านการลงทุนของประเทศสมาชิกในอนาคต โดยพิธีสารจะมีผลบังคับใช้เมื่อสมาชิกได้แจ้งการให้สัตยาบันครบทุกประเทศ ส่วนการหารือของคณะมนตรีเขตการลงทุนอาเซียน ได้ย้ำให้อาเซียนมีการเปิดเสรีด้านการลงทุนให้มากขึ้น และต้องยกเลิกข้อสงวนที่เป็นอุปสรรคให้เหลือน้อยที่สุด เช่น ปรับปรุงข้อห้ามการกำหนดเงื่อนไขการลงทุน ปรับปรุงแก้ไขความชัดเจนในการให้สิทธิผู้มีถิ่นพำนักถาวร ส่งเสริมและการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน และจัดทำนโยบายด้านการลงทุน เป็นต้นสำหรับการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ได้เร่งรัดให้สมาชิกเดินหน้าไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) โดยในปี 58 ให้มีการเร่งรัดจัดตั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน ระบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองที่เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งอาเซียน การจัดตั้งระบบคลังข้อมูลทางการค้าของอาเซียน การปรับประสานมาตรฐานของสินค้าสำคัญต่างๆ เช่น อาหารสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยานยนต์ ยาแผนโบราณ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อช่วยเอื้ออำนวยและเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการอาเซียนในการดำเนินธุรกิจได้อย่างสะดวก รวดเร็วและลดต้นทุนการทำธุรกิจ และส่งเสริมการค้าระหว่างอาเซียนให้มากขึ้น
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เปิดเสรีการค้าบริการเพิ่ม25 สาขา
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs