ไนท์แฟรงค์เผยในระยะห้าปีมานี้นับจากการล่มสลายของเลห์แมนบราเทอร์ส ตลาดที่อยู่อาศัยในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกต้องล้มลุกคลุกคลานมาพอสมควร ขณะที่มีการปรับแก้ไขราคาที่อยู่อาศัยในหลาย ๆ ตลาดในช่วง พ.ศ. 2551-2552นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้นที่ได้เห็นมากมายในประเทศตะวันตก จีนและญี่ปุ่นนั้นหมายความว่าหลายประเทศใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำมาเป็นระยะเวลานานแล้วอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้นนี้หมายความว่าราคาที่อยู่อาศัยในหลายๆตลาดในเอเชียยังคงปรับตัวในทิศทางสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าผู้วางนโยบายจะมีความพยายามอย่างดีที่สุดที่จะลดความร้อนแรงของตลาด ขณะที่อัตราส่วนวงเงินกู้ต่อมูลค่าหลักประกัน (LVR)สำหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์อย่างที่สองลดลงเหลือเพียง 60% ในอินโดนีเซีย และ 50% สำหรับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เกินหลังที่สองขึ้นไป นโยบายสามข้อของธนาคารเนการามาเลเซีย (BNM)รวมถึงการลดระยะเวลาถือครองเงินกู้บ้านสูงสุดเหลือเพียง 35 ปี ทำให้ราคาบ้านทั่วประเทศเพิ่มขึ้น 44.2% ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของพ.ศ. 2551 ในสิงคโปร์อัตราส่วนการชำระหนี้รวม (TDSR) 60% ทำให้การขายชะลอตัวลงในเดือนสิงหาคมและกันยายน แต่โครงการใหม่ที่เปิดตัวออกมามากมายก็ยังมีอัตราการขายเป็นตัวเลขค่อนข้างดีในช่วงเดือนที่ผ่านมา ประเทศไทยซึ่งถือว่ามีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลับค่อย ๆ ก้าวเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค เมื่อจีดีพีลดลงตลอดสองไตรมาสติดกันเป็นครั้งแรกตั้งแต่เกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกเป็นต้นมา แต่ตลาดคอนโดมิเนียมโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ กลับได้รับผลกระทบในทางตรงกันข้าม เนื่องจากมีความต้องการมากขึ้นทั้งจากในประเทศและต่างประเทศจนผลักดันให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น ทวีปเอเชียและโดยเฉพาะประเทศ “กำลังพัฒนา” ในทวีปเอเชียถือเป็นเครื่องจักรสำคัญสำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจโลกซึ่งเราจะได้เห็นทั้งการเติบโตทางทรัพย์สินและการมุ่งสู่ความเป็นศูนย์กลางซึ่งมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มีแนวโน้มจะรับประกันได้ว่าผลลัพธ์ของตลาดจะยังคงความแข็งแกร่งอยู่ได้ ไม่ว่า จะเพื่อการลงทุนหรือรูปแบบการดำเนินชีวิต.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เผยภาพรวมตลาดที่อยู่ในเอเชีย

Posts related