บรรพบุรุษของเราเคยเดินทางจากอินเดียและเวียดนามไปแสวงหาโอกาสในต่างแดน แต่วันนี้โปรแกรมเมอร์ชาวเวียดนาม ดอง เหงียน พัฒนาเกม “Flappy Bird” ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกโดยที่ไม่ต้องจากบ้านเกิดไปไหน อินเทอร์เน็ตช่วยคนทั่วโลกตั้งแต่บังกาลอร์ถึงซิลิคอนวัลเลย์ให้สามารถนำเสนอบริการไปได้ทุกที่ทั่วโลก โดยบริการเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนข้อมูลส่วนตัวตั้งแต่รายละเอียดการชำระเงินไปจนถึงยอดคะแนนสูงสุด แต่ในโอกาสครบรอบ 25 ปีของเว็บในวันที่ 12 มีนาคม ปรากฏว่าโลกของเว็บที่เปิดกว้างนี้กำลังอยู่ในสถานะที่เสี่ยงต่อการถูกทำลาย ผลการศึกษาล่าสุดของเราเรื่อง Breaking the Web: Data Localization vs. the Global Internet (การทำลายเว็บ: การเก็บข้อมูลภายในประเทศ vs.อินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมทั่วโลก) ระบุว่ารัฐบาลทั่วโลกกำลังป้องกันไม่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประชาชนถูกเผยแพร่ไปประเทศอื่น ด้วยความกังวลว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสอดแนมของต่างชาติ ความเป็นส่วนตัว ความมั่นคง การบังคับใช้กฎหมายในประเทศและการพัฒนาเศรษฐกิจ “ข้อมูล” อะไรแน่ที่รัฐบาลไม่อยากให้ถูกเผยแพร่? ออสเตรเลียระบุว่าข้อมูลสุขภาพของประชากรไม่ควรถูกเผยแพร่ไปยังประเทศอื่นหากข้อมูลนั้นสามารถระบุตัวบุคคลได้ ส่วนบราซิลกำลังพิจารณากฎหมายที่ให้อำนาจฝ่ายบริหารกำหนดได้ว่าข้อมูลใดเผยแพร่ออกไปได้และข้อมูลใดห้ามเผยแพร่ออกนอกประเทศ ขณะที่เวียดนามต้องการให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับประชาชนทั้งหมด ตั้งแต่ข้อมูลอัพเดตในเฟซบุ๊กไปจนถึงรายชื่อเพื่อน เก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ในประเทศ รัฐบาลอ้างว่าการเก็บข้อมูลไว้ในประเทศจะช่วยเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของประชาชน แต่ความจริงก็คือการเก็บข้อมูลไว้ภายในประเทศไม่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวเลยแม้แต่น้อย ทั้งยังอาจทำให้ปัญหาเลวร้ายลงไปอีกเสียด้วยซ้ำ แต่เช่นเดียวกับเงินที่ซ่อนไว้ใต้ที่นอน ข้อมูลที่เก็บไว้ในประเทศอาจมีความปลอดภัยน้อยกว่าข้อมูลที่จัดเก็บโดยองค์กรที่พร้อมจะปกป้องลูกค้าทุกวิถีทาง แน่นอนว่าข้อมูลที่เก็บไว้ในที่แห่งเดียวย่อมจะปลอดภัยน้อยกว่าข้อมูลที่เก็บไว้ในสถานที่ตั้งหลายแห่ง เพราะเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อดาต้าเซ็นเตอร์แห่งหนึ่ง เราจะแน่ใจได้ว่าข้อมูลจะไม่สูญหายไปอย่างถาวร เพราะมีการเก็บสำรองไว้ในดาต้าเซ็นเตอร์อีกแห่งหนึ่ง แม้กระทั่งในกรณีที่รัฐบาลสั่งห้ามส่งข้อมูลออกนอกประเทศ นั่นก็ไม่ได้รับประกันว่าแฮกเกอร์จะไม่เจาะเข้ามาในระบบของรัฐบาล แฮกเกอร์มีความสามารถพอที่จะเจาะระบบข้ามพรมแดน เช่น โค้ดที่ใช้เจาะระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ค้าปลีก กลุ่มเป้าหมายในสหรัฐ มีบางส่วนที่เป็นภาษารัสเซีย นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้ในประเทศก็ไม่อาจรอดพ้นจากการสอดแนมของรัฐบาลต่างชาติได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ที่ตั้งของข้อมูลไม่ได้รับประกันถึงความปลอดภัยและก็ไม่ควรทึกทักเอาเองว่าปลอดภัย นอกจากนี้ รัฐบาลบางประเทศยังคิดว่าการกำหนดให้จัดเก็บข้อมูลไว้ในประเทศ จะเป็นการบังคับให้ธุรกิจระดับโลกต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานในระดับท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการลงทุนในประเทศได้อีกทางหนึ่ง แต่อย่าลืมว่าบริการจำนวนมากเหล่านี้มีราคาถูกเพราะเราสามารถนำเสนอบริการให้บริษัทขนาดเล็กโดยไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานมากเกินความจำเป็น หากมีการบังคับใช้ข้อกำหนดดังกล่าว ผู้ให้บริการหลายรายอาจพบว่าการนำเสนอบริการในประเทศนั้น ๆ มีต้นทุนสูงและมีความเสี่ยงเกินไป และตัดสินใจยกเลิกบริการในประเทศนั้นอย่างสิ้นเชิง ประเด็นที่น่ากังวลมากที่สุดก็คือบริษัทต่างๆ อาจเลี่ยงที่จะดำเนินงานในประเทศที่มีการห้ามส่งออกข้อมูล ดังนั้นแทนที่จะช่วยกระตุ้นการลงทุนมาตรการดังกล่าวอาจเป็นการขับไล่ไสส่งให้บริษัทระดับโลกหันไปลงทุนที่อื่นแทน มาตรการเหล่านี้ยังไม่เป็นมิตรกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมสำคัญๆ ที่มีอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่่องมือ ในยุคข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลเปรียบเหมือนเลือดที่หล่อเลี้ยงธุรกิจ การกักเก็บข้อมูลไว้ในประเทศจะสวนทางกับการทำงานของอินเทอร์เน็ต ที่ขัดขวางการค้าในรูปแบบใหม่ๆ ที่มีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางรวมถึงบริการคลาวด์ต่างๆ อีก เช่น Dropbox หรือ iCloud ของแอปเปิล หรือแม้กระทั่งบริการตรวจสอบติดตามข้อมูลการออกกำลังกาย เช่น Gear Fit ของซัมซุง อินเทอร์เน็ตช่วยให้คนและบริษัทต่างๆ ทั่วโลกนำเสนอบริการไปถึงผู้ใช้ทั่วโลก โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มเติมหรือไม่ต้องขออนุญาตเปิดสาขาในประเทศต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลดีต่อธุรกิจขนาดเล็กและนักประดิษฐ์ในเอเชีย เพราะจะสามารถเข้าถึงตลาดและลูกค้าทั่วโลก ที่เมื่อสิบปีที่แล้วมีบริษัทใหญ่ๆ เท่านั้นที่ทำเช่นนี้ได้ การห้ามส่งข้อมูลออกนอกประเทศจะปิดกั้นโอกาสที่ว่านี้โดยในที่สุดแล้วจะส่งผลเสียอย่างมากต่อผู้คนและธุรกิจในเอเชียรวมถึงส่วนอื่นๆ ของโลก. อานุพาม แชนเดอร์ และอูเยน เล อานุพาม แชนเดอร์ ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศของแคลิฟอร์เนีย และอาจารย์วิชากฎหมายจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส เป็นผู้แต่งหนังสือ The Electronic Silk Road: How the Web Binds the World Together in Commerce จัดพิมพ์โดย Yale University Press และเป็นผู้รับรางวัล Google Research Award
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เว็บอายุครบ 25 ปี วอนอย่าขัดขวางทำลายการเติบโตของเว็บ
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs