นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า  ในสัปดาห์หน้าทาง 7 องค์กรเอกชนจะเสนอแผนช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) พิจารณาโดยให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ขยายเพดานการค้ำประกันสินเชื่อจากระดับสูงสุด18% เป็น 50%เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีความมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อแก่เอสเอ็มอีที่ขาดสภาพคล่องได้มากขึ้นเนื่องจากในช่วง 5-6เดือนที่ผ่านมาผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากปัญหาทางการเมืองและการย้ายฐานการผลิตบางอุตสาหกรรมไปจีนอินเดีย อินโดนีเซีย จนส่งผลต่อการทำธุรกิจ และยอดขายสินค้า“ปัญหาเอสเอ็มอีในการเข้าถึงสินเชื่อในตอนนี้นอกจากจะขายของได้ลำบากแล้วยังมีปัญหาเรื่องของการเข้าถึงแหล่งทุนเพราะทำแผนโครงการไม่เก่งรวมถึงการขอกู้ไม่เป็นดังนั้นที่ผ่านมาทางหอการค้าไทยได้มีการให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการเอสเอ็มอีทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันซึ่งเรื่องของเอสเอ็มอีก็จะเป็นหนึ่งในแผนฟื้นเศรษฐกิจที่จะเสนอให้คสช. พิจารณา”นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจเอสเอ็มอีโดยเฉพาะขนาดเล็กมีปัญหาสภาพคล่องและอยู่ในระดับที่น่าห่วงหรือเสี่ยงต่อการปิดกิจการประมาณ20% ของเอสเอ็มอีทั้งหมดหรือ 400,000 – 500,000 ราย ดังนั้นภาครัฐจำเป็นต้องเร่งหามาตรการในการช่วยเหลือเรื่องของสภาพคล่องซึ่งแนวทางในการให้บสย. ขยายเพดานค้ำประกันจาก 18% เป็น 50%จะมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้มากขึ้นทั้งนี้หากพิจารณาภาพรวมพิบว่าธุรกิจที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนคือ อาหาร เครื่องดื่ม ค้าส่ง ค้าปลีก ร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม ส่วนธุรกิจที่ขาดสภาพคล่องคือ อาหาร เครื่องดื่ม สิ่งทอ แฟชั่น ค้าส่ง ค้าปลีก ร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม,  ธุรกิจที่ประสบปัญหาต้นทุนสูงคือ อาหารเครื่องดื่ม ค้าส่ง ค้าปลีก ร้านอหาร ภัตตาคาร และโรงแรม,  ธุรกิจที่ประสบกับภาวะขาดทุน คือ อาหารเครื่องดื่ม สิ่งทอ แฟชั่น ค้าส่ง ค้าปลีก ร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เอสเอ็มอีครึ่งล้านรายอาการโคม่า

Posts related