นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน เปิดเผยในงานสัมมนา "ไทยแลนด์+1 โอกาส และแผนการขยายการลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่น” จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และนิตยสารนิเคอิ บิสสิเนส ว่า ได้ประเมินความคิดเห็นของผู้ประกอบการทั้งไทย และต่างประเทศ เห็นว่า การเข้ามาบริหารประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ควรจะฉวยโอกาสในปัจจุบันไม่ให้สูญเปล่า ด้วยการเร่งปฏิรูประเทศ ให้เอื้อประโยชน์ต่อการลงทุน และดำเนินธุรกิจให้มากที่สุด โดยเฉพาะการต่อต้านคอรัปชั่น เนื่องจากระยะหลังต่างชาติ มองการลงทุนในไทย จะต้องใช้เงินมากกว่าประเทศอื่น รวมทั้งแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ และสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบข้าราชการไทย เพราะปัจจุบันอ่อนแอมาก ทำให้ปกป้องผลประโยชน์ไม่ได้“ที่ผ่านมาต่างชาติเรียกไทยว่า “ประเทศ 30%” เนื่องจากต้องจ่ายเบี้ยใบ้รายทางให้กับหน่วยราชการต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก หากแก้ปัญหาจุดนี้ได้ ก็จะทำให้ศักยภาพการแข่งขันของไทยสูงขึ้น ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีกำลังซื้อภายในประเทศสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และระบบราชการไทยมีความอ่อนแอ ไม่สามารถปกป้องผลประโยชน์ของประเทศแทนประชาชนได้ เพราะอยู่ในระบบอุปถัมภ์ เล่นพรรค เล่นพวกมายาวนาน ทำให้คุณภาพราชการลดลงทุกปี หากปรับปรุงระบบราชการให้คนดีมีฝีมือมีโอกาสเข้ามาทำงาน ก็จะทำให้เข้ามาคาดอำนาจฝ่ายการเมืองปกป้องผลประโยชน์ประเทศชาติแทนประชาชนได้”นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า แนวโน้มการส่งเสริมการลงทุนช่วงครึ่งปีหลังนี้ เชื่อว่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากสถานการณ์การเมืองเริ่มคลี่คลาย ส่งผลให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่น จึงยังคงมูลค่าขอรับส่งเสริมลงทุนตามเป้าหมายเดิมที่ 700,000 ล้านบาท โดยช่วงครึ่งปีแรกมียอดขอรับส่งเสริมแล้วกว่า 300,000 ล้านบาท แต่ยังคงต้องจับตาสถานการณ์ในช่วง 3 เดือนข้างหน้าอีกครั้งก่อนปรับประมาณการณ์ ส่วนในปีหน้า ยังมั่นใจว่ายอดการขอรับการส่งเสริมฯจะสูงกว่าปีนี้ แต่จะอยู่ในระดับใดจะต้องรอดูยอดการขอรับการส่งเสริมฯในปีนี้ก่อน"ขณะนี้สถานการณ์ต่าง ๆ คลี่คลายไปในทิศทางที่ดี โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เพื่อขับเคลื่อนโครงการลงทุนต่าง ๆ ให้เดินหน้าต่อไปได้ ดังนั้นต่างชาติจึงมีความเชื่อมั่น แต่อาจต้องใช้เวลาอีก 2-3 เดือน เพื่อสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนได้อย่างเต็มที่ และเห็นการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ อาทิ มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ การเร่งรัดอนุมติโครงการต่าง ๆ "ส่วนนักลงทุนต่างชาติที่มียอดขอรับส่งเสริมมากที่สุด คือ นักลงทุนญี่ปุ่นที่มีสัดส่วนสูงถึง 50% ของนักลงทุนต่างชาติทั้งหมด ซึ่งยังคงเชื่อมั่นที่จะลงทุนในไทย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เคมีภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ และจากผลการสำรวจของทางการญี่ปุ่น พบว่า 90% ของนักลงทุน ยังยืนยันที่จะขยายฐานการลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยังมีความเชื่อมั่นในพื้นฐานเศรษฐกิจไทยเป็นหลัก

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : แนะคสช.เร่งปราบบคอรัปชั่นไทย

Posts related